กรณีกรมทรัพยากรธรณี เตรียมประกาศขึ้นทะเบียน "แหล่งหอยขมแม่เมาะ" 13 ล้านปี จ.ลำปาง เป็นแหล่งซากดึกดำบรรพ์แห่งที่ 24 เนื่องจากมีคุณสมบัติโดดเด่น พบเป็นหอยน้ำจืดสกุล Bellamya ในชั้นหนา 12 เมตร กว้าง 90 เมตร กินพื้นที่ 22 ไร่โดดเด่นระดับโลก
ลำดับความเป็นมาของแหล่งหอยขมแม่เมาะ
- 25 มิ.ย.2546 กฟผ. พบหอยดึกดำบรรพ์
- 13 ส.ค.2546 เรื่องเข้า ครม.
- 21 ส.ค.2546 กรมทรัพยากรธรณี และ กฟผ. ร่วมสำรวจพบชั้นหอย ครอบคลุม พื้นที่ 43 ไร่ หนา 12 เมตร
- 21 ส.ค.2546 ทธ.นำผลการศึกษาเข้า คณะกรรมการกลั่นกรอง
- 15 ม.ค.2547 คณะกรรมการกลั่นกรอง มีมติกันพื้นที่ 43 ไร่ ประกาศเขตศึกษาตาม ม.6 ทวิ พ.ร.บ.แร่ 2510
- 29 มิ.ย.2547 กระทรวงพลังงาน เสนอ ครม.ทบทวนมติ กันพื้นที่ 43 ไร่ โดยขอเพียง 18 ไร่
- 9-10 ก.ค.2547 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ตรวจสอบพื้นที่ พร้อมบอร์ด สวล.
- 21 ก.ค.2547 สผ. แจ้ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เห็นควรกันพื้นที่ 18 ไร่
- 17 ธ.ค.2547 ประชุม ทธ.กับ กฟผ. สผ เห็นควรตาม กฟผ. และ สผ. กันพื้นที่ 18 ไร่ และเพิ่มเติมพื้นที่ข้างเคียง เป็นพื้นที่พัฒนา
- 21 ธ.ค.2547 ครม.รับทราบกันพื้นที่ครั้งใหม่ 52 ไร่ เสนอโดย รมว.ทส.
- 24 ธ.ค.2547 มอบ กระทรวงพลังงาน พิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขัดทำความคิดเห็น เสนอ ครม.พิจารณา
- 17 ก.พ.2548 ทส.มีหนังสือถึง กระทรวงอุตสาหกรรมให้กันพื้นที่ ตามมติ ครม.ครั้งใหม่
- มี.ค.2548 กฟผ.เริ่มขุดชั้นหอย นอกพื้นที่ 52 ไร่ ตามมติ ครม.
- มี.ค.2548 ฟ้องร้องคดี
อ่านข่าวเพิ่ม ย้อน 10 ปี คดีฟอสซิลหอย อายุ 13 ล้านปี
ขั้นตอนศาลพิจารณา 13 ปี
- 13 ก.ย.2561 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องประเด็นด้านกฎหมายตามคำพิพากษาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดพื้นที่ยังคงได้รับความคุ้มครองตาม มติ ครม. เมื่อ 21 ธ.ค.2547
- แหล่งซากดึกดำบรรพ์หอยขมแม่เมาะ อยู่ภายใต้การคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองซากดึกดำพรรพ์ พ.ศ.2551
- พื้นที่ทั้งหมด 52 ไร่ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ 34 ไร่ แบ่งเป็น เป็นพื้นที่ก่อสร้าง พิพิธภัณ์กลางแจ้ง อาคารพิพิธภัณฑ์ถาวร และทางออกสาธารณะ ส่วนอีก 18 ไร่ เป็นพื้นที่ซากดึกดำพรรษ์หอยขม
ขั้นตอนหลังคำพิพากษา
- 13 ก.ย.2561 ทธ. เข้าร่วมรับฟังการอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
- 17-21 ก.ย.2561 ทธ.ประสานเข้าพื้นที่แหล่งซากร่วมกับ กฟผ.(แม่เมาะ)
- 22 พ.ย.2561 ทธ.หารือแนวทางอนุรักษ์และบริหารจัดการแหล่งร่วมกับ ทสจ.ลำปาง และกฟผ.แม่เมาะ
- 21 ธ.ค.2561 ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองซากดึกดำพรรษ์ ครั้งที่ 3/2561 มีข้อเสนอแนะให้ขอใช้พื้นท่เพื่อการศึกษาวิจับกับกรมป่าไม้ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการ ทั้งมิตืเชิงสังคมเศรษฐศาสตร์ และวิศวกรรม โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
- 6-7 ก.ค.2562 ทธ.เข้าดำเนินการสำรวจ ศึกษาวจัยแหล่งซากดึกดำพรรษ์ แม่เมาะบริเวณขอบเหมืองทางทิศตะวันตกพบว่า บริเวณแหล่งซากหอยขม มีการลุกไหม้ของชั้นถ่านหินที่วางตัวใต้ชั้นหอย
- 25 ก.ค.2562 ทธ. กฟผ.(แม่เมาะ) ทสจ.ลำปาง และผู้แทน สจป.เขต 3 ลำปาง เข้าร่วมแก้ไขปัญหาการดับไฟ ร่วมกันพื้นที่
- ต.ค.2562 กฟผ.(แม่เมาะ) คืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้
- เม.ย.-พ.ค.2563 กฟผ.(แม่เมาะ)ดำเนินการแก้ไขกรณีไฟไหม่ (ปรับความลาดชัน)
- ก.ค.2563 ทธ.ดำเนินการรังวัดพื้นที่ 52 ไร่ใหม่
- ส.ค.2563 อยู่ในระหว่างการดำเนินการประกาศเขตสำรวจศึกษาวิจัย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
รอขึ้นทะเบียนซากดึกดำบรรพ์ "แหล่งหอยขมแม่เมาะ" 13 ล้านปี