เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2566 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า ได้ติดตามสภาพอากาศพบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านประเทศไทย ทำให้ฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก จึงได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี
พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 28 ก.ค.-2 ส.ค. ดังนี้
ภาคเหนือ
จ.ตาก (อ.อุ้มผาง)
จ.อุทัยธานี (อ.บ้านไร่)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.ชัยภูมิ (อ.เกษตรสมบูรณ์)
จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย)
จ.บึงกาฬ (อ.เซกา และบึงโขงหลง)
จ.นครพนม (อ.ท่าอุเทน และศรีสงคราม)
จ.สกลนคร (อ.โคกศรีสุพรรณ)
จ.ร้อยเอ็ด (อ.เสลภูมิ และโพนทอง)
จ.บุรีรัมย์ (อ.นางรอง)
จ.สุรินทร์ (อ.ชุมพลบุรี)
จ.ศรีสะเกษ (อภูสิงห์ ขุขันธ์ ขุนหาญ และปรางค์กู่)
จ.อุบลราชธานี (อ.บุณฑริก)
ภาคตะวันออก
จ.ฉะเชิงเทรา (อ.ท่าตะเกียบ)
จ.ชลบุรี (อบ่อทอง)
จ.ระยอง (อ.เขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง)
จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี ขลุง มะขาม เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ โป่งน้ำร้อน แก่งหางแมว และนายายอาม)
จ.ตราด (อ.เมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง แหลมงอบ และเขาสมิง)
ภาคใต้
จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี)
จ.พังงา (อ.เมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง)
จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
จ.กระบี่ (อ.เมืองกระบี่)
จ.สุราษฎร์ธานี (อ.บ้านตาขุน และพนม)
จ.นครศรีธรรมราช (อ.ช้างกลาง)
ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรับมือ ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตรในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน รวมถึงเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลากและบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที