ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "กระเป๋าเงินดิจิทัล - เงินดิจิทัล"

เศรษฐกิจ
29 ส.ค. 66
09:21
9,212
Logo Thai PBS
รู้จัก "กระเป๋าเงินดิจิทัล - เงินดิจิทัล"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไขคำตอบ "กระเป๋าเงินดิจิทัล - เงินดิจิทัล - บล็อกเชน" คืออะไร

รู้จัก "กระเป๋าเงินดิจิทัล" ของเพื่อไทย

"กระเป๋าเงินดิจิทัล" คือ เหรียญ (คูปอง) หรือสิทธิการใช้เงิน ไม่ใช่คริปโตเคอเรนซี ไม่ใช่เงินสกุลใหม่ แต่เป็นเหรียญ (คูปอง) หรือสิทธิการใช้เงิน ที่ใช้ระบบบล็อกเชน เขียนเงื่อนไขลงไปในนั้น เพื่อนโยบายการคลังที่ตรงจุด

ไม่มีความเสี่ยง ไม่มีการเก็งกำไร ไม่มีการถูกทุบ ไม่มีการขาดทุน ไม่สามารถแลกเปลี่ยนด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นได้ ไม่มีราคาตก-ราคาขึ้น เพราะทุกเหรียญมีค่าเท่าเงินบาทเสมอ รับประกันโดยรัฐบาล

กระเป๋าเงินดิจิทัล ใช้ระบบ "บล็อกเชน" มีความปลอดภัยสูงสุด สูงกว่าระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน รู้เส้นทางการเงินทุกธุรกรรม รู้ผู้รับ รู้ผู้จ่าย เป็นระบบที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกธุรกรรม

ทั้งนี้ ทุกบาททุกสตางค์ที่ใช้จ่ายไปจะหมุนเวียนเข้ามาเป็นภาษีของรัฐบาลเพื่อเอา เงินไปสนุบสนุนประชาชนให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

อ่านข่าว : เปิดเงื่อนไข "เงินดิจิทัล" เพื่อไทยแจก 10,000 บาท

"บล็อกเชน" คืออะไร

เทคโนโลยีที่ช่วยนำมายืนยันความปลดภัย และความน่าเชื่อถือโดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ลองนึกภาพการทำธุรกรรมทางการเงิน ในรูปแบบ e-Money จะมีตัวกลางทางการเงินที่คอยยืนยันความน่าเชื่อถือและตัวบุคคล ซึ่งอยู่ในระบบฐานข้อมูลส่วนกลางของผู้ให้บริการ e-money นั้น ๆ

แต่ในส่วนของเงินดิจิทัล ที่มีการใช้ระบบบล็อกเชน หากมีการทําธุรกรรมในแต่ละครั้ง ข้อมูลการใช้จะไม่ได้ถูกควบคุมจากส่วนกลาง แต่จะถูกประมวลผลในรูปแบบการกระจายไปยังคอมพิวเตอร์เครือข่าย ที่มีการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลไว้เหมือน ๆ กัน เสมือน กับว่าเป็นการตัดระบบการควบคุมศูนย์กลางที่เป็นตัวกลางการยืนยันเปลี่ยนเป็นการให้คอมพิวเตอร์ในระบบ เครือข่ายเข้ามาดําเนินการแทน

ความแตกต่างระหว่าง "เงินอิเล็กทรอนิกส์ - เงินดิจิทัล"

ปัจจุบัน รูปแบบของการชําระเงินค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ มีทั้งเในรูปแบบเก่า จ่ายเงินสด การโอนเงินระหว่างบัญชีของผู้ชื้อและผู้ขาย หรือ เป็นรูปแบบของการชําระค่าสินค้าผ่านตัวกลางทางการเงิน เช่น การตัดบัญชีบัตรเครดิต หรือการชําระเงินด้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น การชําระผ่านเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่วนใหญ่เรียกทับศัพท์เป็น e-money / e-wallet หรือการชําระผ่านเงินดิจิทัล วันนี้เราจะมารู้ความแตกต่างระหว่าง "เงินอิเล็กทรอนิกส์ - เงินดิจิทัล"

เงินอิเล็กทรอนิกส์

เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money / e-wallet) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้นิยามความหมายไว้ว่า "มูลค่า เงินที่บันทึกในชิพคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบัตรพลาสติก หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือเงิน ที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยผู้ใช้บริการได้ชําระเงินล่วงหน้าแก่ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์และผู้ใช้บริการสามารถนําไปใช้ชําระค่าสินค้า ค่าบริการแทนการชําระด้วยเงินสดตามร้านค้าที่รับชําระ"

เงินดิจิทัล

เงินดิจิทัล ส่วนใหญ่จะเป็นเงินที่ถูกสร้างมาด้วยพื้นฐานของระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกับ e-money แต่แตกต่างกันที่รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่เป็นเงินดิจิทัล เป็นรูปแบบของการสร้างหน่วยเงินที่ใช้ในการซื้อขายเป็นสกุลของตนเอง และประเด็นที่มีความแตกต่างที่สําคัญอีกส่วนหนึ่งก็ คือ ระบบการควบคุม ซึ่งเงินที่อยู่ในรูปแบบของ e-money ระบบการควบคุมจะเป็นแบบรวมศูนย์

การควบคุมสั่งการระบบมาจากฐานข้อมูลส่วนกลางของผู้ที่คิดค้น ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น ซึ่งจะแตกต่างจากเงินดิจิทัลที่ระบบไม่ได้มีการควบคุมจากส่วนกลาง แต่เป็นในรูปแบบ ของ peer-to-peer คือ การใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย และมีการคิดค้นระบบป้องกันมาใช้ควบคู่ กับการเข้ารหัสของเงินในแต่ละสกุลโดยมีเทคโนโลยีที่มาช่วยควบคุมการดําเนินงานดังกล่าว คือ บล็อกเชน ในปัจจุบันมีเงินที่อยู่ในรูปของเงินดิจิตอลจํานวนมากมายหลายสกุล แต่ที่นิยมใช้ และได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ อาทิเช่น Bitcoin, Ethereum, Ripple และ Litecoin

อ้างอิงข้อมูลจาก : ecojournal.ru.ac.th

ใช้ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท ต้นปี 67

เป็นคำยืนยันจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ครั้งแรก ท่ามกลางกระแสทวงสัญญาเดินหน้านโยบายแจกเงินดิจิทัลคนละ 1 หมื่นบาท เพื่อใช้ซื้อสินค้าในร้านค้าใกล้บ้าน สำหรับผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป หรือประมาณ 55 ล้านคนทั่วประเทศ วงเงินงบประมาณ 5 แสน 6 หมื่นล้านบาท

พรรคเพื่อไทย ระบุถึงแผนโครงการนี้จะต้องใช้เวลาในการเตรียมการ 6 เดือนนับจากนี้ หรือถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งการวางระบบดิจิทัลบล็อกเชนและประสานร้านค้า ส่วนอีกด้านคือการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2567 ที่ต้องนำส่วนหนึ่งมาใช้ในโครงการนี้ด้วย

ขณะที่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กสทช. พรรคเพื่อไทย และกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เตือนประชาชน หลังพบมิจฉาชีพ ปลอมแปลง แอบอ้าง สร้างแอปพลิเคชั่นปลอมขึ้นมาเพื่อดูดเงินประชาชนและในรูปแบบอื่นๆ จากนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยมีผู้โหลดแอปพลิเคชั่นหลอกลวง กว่า 1 พันครั้ง

นอกจากนโยบายนี้แล้ว มิจฉาชีพยังสามารถนำเรื่องอื่นมาปลอมแปลงได้ตลอดเวลา อาจเป็นรูปแบบเดิม แต่วิธีการอาจเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เพื่อไทย แจงไม่มีแอปฯ "เงินดิจิทัล 1 หมื่น" เริ่มใช้ครึ่งปีแรก 2567

แจกเงินดิจิทัล 10,000 โจทย์ใหม่ โจทย์ใหญ่ รัฐบาลเพื่อไทย

ระบาด! มิจฉาชีพส่ง SMS แจ้งได้รับเงินดิจิทัล 1 หมื่น หลอกติดตั้งแอปดูดเงิน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง