ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กางสถิติ ทะเลไทยเผชิญเหตุน้ำมันรั่ว จังหวัดที่พบบ่อยสุด

สิ่งแวดล้อม
5 ก.ย. 66
12:12
5,282
Logo Thai PBS
กางสถิติ ทะเลไทยเผชิญเหตุน้ำมันรั่ว จังหวัดที่พบบ่อยสุด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดสถิติน้ำมันรั่วไหลลงทะเลไทย พบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเหตุการณ์พบคราบน้ำมันในทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามันเพิ่มมากขึ้น

วันนี้ (5 ก.ย.2566) ไทยพีบีเอสออนไลน์ยังคงเกาะติดความคืบหน้าเหตุการณ์ น้ำมันดิบ 45,000 ลิตร ของบริษัทไทยออยล์ รั่วในทะเล จ.ชลบุรี กรมควบคุมมลพิษคาดเที่ยงวันนี้คราบน้ำมันจะเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งหาดบางพระ-อ่าวอุดม กินพื้นที่ 4 กม. เตรียมแจ้งความเอาผิดไทยออยล์-เหตุน้ำมันรั่ว

ขณะที่ สสจ.ชลบุรี แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังผลกระทบ หากมีอาการทางเดินหายใจ อาหารเป็นพิษ ระคายเคืองแสบตา อาเจียน ปวดท้อง ให้รีบพบแพทย์ รพ.แหลมฉบัง และ รพ.เกาะสีชัง

ทร. ส่งกำลังพล 100 ประจำเกาะท้ายค้างคาว หลังคราบน้ำมัน มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง ภาพ : Chonburi PR

ทร. ส่งกำลังพล 100 ประจำเกาะท้ายค้างคาว หลังคราบน้ำมัน มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง ภาพ : Chonburi PR

ทร. ส่งกำลังพล 100 ประจำเกาะท้ายค้างคาว หลังคราบน้ำมัน มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง ภาพ : Chonburi PR

อ่านข่าว : เตือนเฝ้าระวัง "อาการทางเดินหายใจ-อาหารเป็นพิษ" เหตุน้ำมันรั่ว

การเกิดน้ำมันรั่วไหล (Oil spill) ในทะเล และชายฝั่งอาจเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ การล้างถังอับเฉาเรือ ลักลอบทิ้งน้ำที่มีน้ำมันปนเปื้อนหรือน้ำมันที่ใช้แล้ว รวมทั้งอุบัติเหตุต่าง ๆ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นคราบน้ำมันหรือก้อนน้ำมันดิน (Tar balls) อยู่ในทะเล และจะพัดพาเข้าสู่ชายฝั่งในที่สุด

เมื่อน้ำมันรั่วไหลในทะเลจะเกิดกระบวนการต่าง ๆ เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ โดยกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่กับชนิดหรือประเภทของน้ำมันและสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ขณะเกิดการรั่วไหล ได้แก่ สภาพของทะเล ความแรงของคลื่น ความเร็วลม ความเข้มของแสงแดด อุณหภูมิของอากาศและน้ำทะเล เป็นต้น

ตรวจคราบน้ำมันบริเวณหาดวอน หาดบางแสน อ.เมือง จ.ชลบุรี ภาพจาก : Chonburi PR

ตรวจคราบน้ำมันบริเวณหาดวอน หาดบางแสน อ.เมือง จ.ชลบุรี ภาพจาก : Chonburi PR

กระบวนการที่สำคัญที่เกิดขึ้น มีทั้งการแผ่กระจายตัวของน้ำมันการระเหย การกระจาย การละลายของน้ำมัน การเกิดอิมัลชัน การเกิดปฏิกิริยาโฟโตออกซิเดชัน การจมตัวและการตกตะกอน และการย่อยสลายทางชีวภาพ 

นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอน บางกลุ่มที่ตกค้าง มีความเป็นพิษเฉียบพลัน หรือเรื้อรังต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในระบบนิเวศทางทะเล เช่น ระบบนิเวศปะการัง และหญ้าทะเลได้ โดยสามารถสะสมในดินตะกอน สัตว์น้ำ และถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหารได้อีกด้วย

ย้อนเหตุการณ์น้ำมันรั่ว

ยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2565 เกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วออกมาจากทุ่นขนถ่ายของบริษัทสตาร์ปิโตรเลี่ยม รีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน (SPRC) ทางใต้ของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง หลังจากเกิดเหตุวันแรกมีการอ้างข้อมูลว่าคาดการณ์น้ำมันรั่วราว 400,000 ลิตร แต่ต่อมา รมว.สิ่งแวดล้อม ในขณะนั้นนายวราวุธ ศิลปอาชา บอกว่ามี 20,000 ลิตร 

เหตุการณ์นี้ บริษัทได้ออกมาแสดงความเสียใจ และพร้อมรับผิดชอบความเสียหาย รวมไปถึงการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 

อ่านข่าว : SPRC ออกแถลงการณ์ยันน้ำมันรั่วแค่ 47,000 ลิตร

มาในปีนี้ 2566 ช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา หาดดังของ จ.ภูเก็ต ทั้งหาดไม้ขาว หาดในทอน หาดในยาง หาดลายัน ก็พบมีก้อนน้ำมันดินพัดเข้ามา ต้องช่วยเหลือสัตว์ทะเลหากยากอย่าง "เต่าตนุ" ที่มีขนาดราว 10 ซม. ที่ทั้งตัวโดยเฉพาะในปากเต็มไปด้วยคราบน้ำมัน คราบน้ำมันไปไกลถึงเกาะราชาใหญ่ แนวปะการัง จ.ภูเก็ต พังงา ได้รับผลกระทบหลายพันไร่

เปิดสถิติน้ำมันรั่วไหลลงทะเลไทย

ไทยพีบีเอสรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ "น้ำมันรั่ว" ในประเทศ ที่รวบรวมโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปัจจุบัน มาให้ดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ในปี 2559 - 2562 มีเหตุการณ์พบการรั่วไหลของน้ำมันในทะเล 10-15 ครั้ง มีเหตุการณ์พบการรั่วไหลของน้ำมันในทะเล 2-6 ครั้ง ก้อนน้ำมันดินไม่เกิน 10 ครั้ง

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าในปี 2563 มีเหตุการณ์พบการรั่วไหลของน้ำมันในทะเล 47 ครั้ง เป็นน้ำมันรั่ว 12 ครั้ง ตรวจสอบพบก้อนน้ำมันดิน 35 ครั้ง ขณะที่ปี 2564 เพิ่มมากขึ้นเป็น 44 ครั้ง เป็นเหตุน้ำมันรั่ว 17 ครั้ง ก่้อนดิน 27 ครั้ง และที่น่าสนใจคือ มี 17 ครั้ง ที่ไม่ทราบสาเหตุ

ส่วนใหญ่อยู่ในฝั่งอ่าวไทย มากที่สุดที่ระยอง 10 ครั้ง ลึกใกล้มากที่สุดก็คือสมุทรปราการ 4 ครั้ง มากที่สุดที่ภูเก็ต ซึ่งสอดคล้องกับสถิติการพบก้อนน้ำมันดินฝั่งอ่าวไทย 24 ครั้ง

ทร. ส่งกำลังพล 100 ประจำเกาะท้ายค้างคาว หลังคราบน้ำมัน มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง ภาพ : Chonburi PR

ทร. ส่งกำลังพล 100 ประจำเกาะท้ายค้างคาว หลังคราบน้ำมัน มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง ภาพ : Chonburi PR

ทร. ส่งกำลังพล 100 ประจำเกาะท้ายค้างคาว หลังคราบน้ำมัน มีแนวโน้มขึ้นฝั่ง ภาพ : Chonburi PR

ทำไมเหตุน้ำมันรั่วจึงถี่มากขึ้น สวนทางกับการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ยังใช้เวลาตามกระบวนการยุติธรรม ทำให้บางคดี ใช้เวลา 3 - 4 ปี กว่าการฟ้องร้องจะจบลง และเข้าสู่การจ่ายชดเชยผลกระทบ

อ่านข่าว : เที่ยงนี้! คราบน้ำมันรั่วเข้า "หาดบางพระ-อ่าวอุดม" รัศมี 4 กม.

  •  ช่วงวันที่ 1 ต.ค. 2558 – 30 ก.ย.2559 พบน้ำมันรั่วไหลรวม 15 ครั้ง ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล 6 ครั้ง และพบก้อนน้ำมันดิน 9 ครั้ง
  • ช่วงวันที่ 1 ต.ค.2559 - 30 ก.ย.2560 พบน้ำมันรั่วไหลรวม 10 ครั้ง ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล 2 ครั้ง และตรวจสอบพบก้อนน้ำมันดิน 8 ครั้ง
  • ช่วงวันที่ 1 ต.ค.2560 - 30 ก.ย.2561 พบน้ำมันรั่วไหลรวม 14 ครั้ง ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล 5 ครั้ง และตรวจพบก้อนน้ำมันดิน 9 ครั้ง
  • ช่วงวันที่ 1 ต.ค.2561 - 30 ก.ย.2562 พบน้ำมันรั่วไหลรวม 15 ครั้ง ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล 3 ครั้ง และพบก้อนน้ำมันดิน 12 ครั้ง
  • ช่วงวันที่ 1 ต.ค.2562 - 30 ก.ย.2563 พบน้ำมันรั่วไหลรวม 47 ครั้ง ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล 12 ครั้ง และพบก้อนน้ำมันดิน 35 ครั้ง
  • ช่วงวันที่ 1 ต.ค.2563 - 31 ก.ค. 2564 พบน้ำมันรั่วไหลรวม 44 ครั้ง ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล 17 ครั้ง พบก้อนน้ำมันดิน 27 ครั้ง
สถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2564

สถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2564

สถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2564

น้ำมันรั่วไหล ชายฝั่งอ่าวไทย-ทะเลอันดามัน

เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล จากการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังน้ำมันรั่วไหล พบเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมทั้งสิ้น 17 ครั้ง ไม่ทราบสาเหตุ ดังนี้

บริเวณอ่าวไทย พบน้ำมันรั่วไหล 13 ครั้ง แบ่งเป็น

  • บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้แก่ จ.ระยอง 10 ครั้ง ปากแม่น้ำประแส, ปากคลองแกลง, ปากแม่น้ำระยอง, หาดทรายแก้ว, หาดสวนสน, หาดแหลมรุ่งเรือง และหาดแม่รำพึง
  • อ่าวไทยตอนใน จ.ฉะเชิงเทรา 1 ครั้ง ที่ปากแม่น้ำบางปะกง และ จ.สมุทรสงคราม 1 ครั้ง บริเวณชายฝั่งตำบลแหลมใหญ่
  • อ่าวไทยตอนกลาง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 1 ครั้ง บริเวณชายฝั่งคลองบางนางรม ถึงหาดบ้านกรูด

บริเวณทะเลอันดามัน พบน้ำมันรั่วไหล 4 ครั้ง แบ่งเป็น

  • บริเวณ จ.ภูเก็ต 2 ครั้ง ที่หาดไม้ขาว, หาดลากูน่า และหาดในยาง
  • จ.พังงา 1 ครั้ง ที่ หาดท้ายเหมือง
  • จ.ระนอง 1 ครั้ง ที่อ่าวเขาควาย เกาะพยาม
หาดบางแสน อ.เมือง จ.ชลบุรี ภาพ : Chonburi PR

หาดบางแสน อ.เมือง จ.ชลบุรี ภาพ : Chonburi PR

หาดบางแสน อ.เมือง จ.ชลบุรี ภาพ : Chonburi PR

58 สถานี ติดตาม-เฝ้าระวัง "ก้อนน้ำมันดิน" 

ขณะที่จากการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังก้อนน้ำมันดินบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามันรวม 58 สถานี พบก้อนน้ำมันดินจำนวน 27 ครั้ง ที่ไม่ทราบสาเหตุ ประกอบด้วย

บริเวณอ่าวไทย พบก้อนน้ำมันดิน 24 ครั้ง แบ่งเป็น

  • บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้แก่ จ.ระยอง 14 ครั้ง จันทบุรี 4 ครั้ง
  • อ่าวไทยตอนกลาง ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 1 ครั้ง ชุมพร 2 ครั้ง และสุราษฎร์ธานี 1 ครั้ง
  • อ่าวไทยตอนล่าง ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช 2 ครั้ง

บริเวณทะเลอันดามัน พบก้อนน้ำมันดิน 3 ครั้ง แบ่งเป็น

  • บริเวณ จ.ภูเก็ต 2 ครั้ง
  • จ.พังงา 1 ครั้ง

การปนเปื้อนสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล

ขณะที่การติดตามการปนเปื้อนสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล จากการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์การปนเปื้อนของน้ำมันที่รั่วไหลบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามันครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด รวม 135 สถานี ปีละ 2 ครั้ง ในฤดูแล้ง (ธ.ค.2563 - เม.ย.2564) และฤดูฝน (มิ.ย. - ก.ย.2564)

จากปริมาณสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล ซึ่งจะแสดงถึงแนวโน้ม และระดับการปนเปื้อนของน้ำมันในสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง โดยในช่วงระหว่างเดือน ต.ค.2563 - ก.ค. 2564 พบว่า 

  • บริเวณอ่าวไทย การปนเปื้อนสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.21 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยชายฝั่งทะเลอ่าวไทย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.21 ไมโครกรัมต่อลิตร
  • บริเวณทะเลอันดามัน การปนเปื้อนสารปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนรวมในน้ำทะเล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.23 ไมโครกรัมต่อลิตร

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อธิบายจากผลการติดตามเฝ้าระวังสถานภาพของน้ำมันรั่วไหลจะเห็นได้ว่า จ.ระยอง และชลบุรี เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงของการเกิดน้ำมันรั่วไหลในทะเลซึ่งเกิดเหตุการณ์บ่อยครั้ง เนื่องจากมีกิจกรรมชายฝั่งหลากหลายประเภท ทั้ง "การเดินเรือเข้าออก เรือขนส่งสินค้า เรือประมง และเรือท่องเที่ยว"

ตลอดจนบริเวณชายฝั่ง จ.ระยอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง อาทิ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งมีโรงกลั่นน้ำมันทำให้มีการเดินเรือเข้าออกเพื่อขนส่งน้ำมัน รวมทั้งมีระบบท่อขนส่งน้ำมันในทะเล

จ.ชลบุรี ภาพ : Chonburi PR

จ.ชลบุรี ภาพ : Chonburi PR

จ.ชลบุรี ภาพ : Chonburi PR

ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและตอนกลาง ในช่วงปี 2563 - 2564 บริเวณชายฝั่ง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สงขลา และนครศรีธรรมราช พบน้ำมันรั่วไหลบ่อยครั้งขึ้นมากกว่าในอดีต สาเหตุมาจากทั้ง เรือประมง เรือท่องเที่ยว การแอบล้างถังบรรจุน้ำมันและทิ้งน้ำมันที่ปนเปื้อนน้ำลงสู่ทะเล รวมไปถึงการเดินเรือขนส่งในทะเล 

รวมทั้งอาจเกิดจากการรั่วไหลของน้ำมันจากแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเล ทำให้เกิดก้อนน้ำมันพัดพาเข้าสู่ชายหาด ทั้งนี้คลื่นลม และกระแสน้ำในแต่ละฤดูกาลก็เป็นปัจจัยสำคัญที่พัดพาน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลเข้าสู่ฝั่งได้อีกด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทิศทางคราบน้ำมันรั่ว 4.5 หมื่นลิตรจุดแรกเข้า "เกาะท้ายค้างคาว"

"ไทยออยล์" แจงปมน้ำมันดิบรั่วกลางทะเล-เร่งกำจัดคราบน้ำมัน

คพ.จี้ตำรวจกางตัวเลขน้ำมันรั่วเรียกฟ้องแพ่ง-กากของเสีย 69 ตัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง