กระจกตาเป็นส่วนด้านหน้าของดวงตาที่มีความโปร่งใส หากได้รับความเสียหายจากการบาดเจ็บอาจส่งผลต่อการมองเห็นของบุคคลได้ ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จะทำการปลูกถ่ายกระจกตาโดยใช้กระจกตาที่ได้รับบริจาคซึ่งเป็นขั้นตอนทั่วไปในการรักษา แต่ในกรณีที่มีสารเคมีไหม้ดวงตา เนื้อเยื่อโดยรอบอาจเสียหายเกินกว่าที่จะปลูกถ่ายได้
การทดลองทางคลินิกครั้งนี้ได้ทำการทดลองการรักษาแบบใหม่ที่สามารถช่วยผู้ป่วยเหล่านี้ได้ ซึ่งเรียกว่าการปลูกถ่ายเซลล์เยื่อบุผิวแบบเพาะเลี้ยง (Cultivated Autologous Limbal Epithelial Cells :CALEC) และการนำสเต็มเซลล์ (Stem Cell) จากตาอีกข้างของผู้ป่วยเองไปทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งไม่กี่สัปดาห์ถัดมาการปลูกถ่าย CALEC ใหม่นี้ก็พร้อมที่จะปลูกถ่ายไปยังดวงตาที่ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการช่วยฟื้นฟูการมองเห็นของผู้ป่วย และยังกระตุ้นเซลล์ใหม่ให้เติบโตอีกด้วย ซึ่งอาจช่วยเอื้อต่อการปลูกถ่ายกระจกตาตามปกติในภายหลัง
ในการศึกษาระยะที่ 1 มีผู้ป่วย 2 จาก 5 ราย ที่มองเห็นการปรับปรุงด้านสายตาอย่างเห็นได้ชัดโดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอื่นเพิ่มเติม โดยผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้รับการขยายการมองเห็นเป็น 20/30 โดยรายหนึ่งการมองเห็นดีขึ้นจาก 20/40 และอีกรายก่อนหน้านี้มองเห็นเพียงการเคลื่อนไหวของมือ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอีก 2 คนมีสิทธิ์ได้รับการปลูกถ่ายกระจกตา แต่ผู้ป่วยรายที่ 5 ไม่สามารถรับการปลูกถ่ายได้ เนื่องจากเซลล์ต้นกำเนิดไม่สามารถขยายตัวได้เพียงพอในห้องปฏิบัติการ
ผลลัพธ์ที่ได้ถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ที่อาจทำให้มีทางเลือกใหม่ในการฟื้นฟูการมองเห็นที่สูญเสียไปจากการได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งการทดลองในระยะต่อไปกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการโดยมีผู้ป่วยที่เข้าร่วม 15 รายที่ได้รับการปลูกถ่าย CALEC ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามผลนานกว่า 18 เดือน
ที่มาข้อมูล: newatlas, interestingengineering, nbcnews, medpagetoday
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech