ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วันอนุรักษ์แรดโลก : "กระซู่-แรดชวา" ความทรงจำ "วัชระ สงวนสมบัติ" นักอนุกรมวิธาน

สิ่งแวดล้อม
21 ก.ย. 66
13:04
1,701
Logo Thai PBS
วันอนุรักษ์แรดโลก : "กระซู่-แรดชวา" ความทรงจำ "วัชระ สงวนสมบัติ" นักอนุกรมวิธาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ความทรงจำเรื่องราว "กระซู่-แรดชวา" สัตว์ป่าสงวนหายากของไทยที่เหลือเพียงแค่ชื่อในตำนาน ผ่านมุมมองของ "วัชระ สงวนสมบัติ" นักอนุกรมวิธานองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

แรดชวา กระซู่ กูปรี โคไพร ควายป่า ละอง ละมั่ง สมัน เลียงผา กวางผา นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเรียนไทย แมวลายหินอ่อน นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร สมเสร็จ เก้งหม้อ พะยูน

19 รายชื่อของสัตว์ป่าสงวนของไทย ที่เด็กๆหลายคนเคยผ่านการท่องจำในวัยเรียน ซึ่งพบว่าบางชนิดไม่มีรายงานการค้นพบตัวในธรรมชาติมานานกว่า 50 ปี หรืออยู่ในภาวะเสี่ยง หรือสูญพันธุ์ไปแล้ว

อพวช.มีฟันกรามแรดชวา เพียง 2 ชิ้น เก็บในคลังตัวอย่างที่ส่งมอบจาก นพ.บุญส่ง เลขะกุล นักธรรมชาตวิทยาที่มอบให้เก็บรักษาไว้ พร้อมกับซากเขาสัตว์หายากสูญพันธุ์ของไทย

วัชระ สงวนสมบัติ นักวิชาการประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) บอกถึงหลักฐานทางนิเวศวิทยาที่เคยบ่งชี้ว่าเมืองไทยเคยมีแรดชวา อาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติช่วงรุ่นพ่อรุ่นแม่ราว 60 ปี ก่อนที่จสูญพันธุ์ไป ไม่มีใครเจอตัว

เป็นฟันกรามขนาด 4 นิ้ว 2 ชิ้น ลักษณะคล้ายกับซี่ฟันกรามที่หลุดออกมาทั้งราก คาดว่าจะมีอายุมากกว่า 60 ปี ผ่านการตรวจพิสูจน์แล้วยืนยันว่าเป็นของแรดชวา หนึ่งในสัตว์ป่าที่เคยมีชีวิตในผืนแผ่นดินไทย 

อ่านข่าว เปิดใจ "เคน" คนเลี้ยง "กาลิ" แรดอินเดียหายากหนึ่งเดียวในไทย

ตัวอย่างฟันกรามแรดชวา 2 ชิ้น ในองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

ตัวอย่างฟันกรามแรดชวา 2 ชิ้น ในองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

ตัวอย่างฟันกรามแรดชวา 2 ชิ้น ในองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

"ลินจง" กระซู่ตัวสุดท้ายในความทรงจำ

วัชระ บอกว่า สำหรับเขาไม่ได้อยู่ในหน้าที่ของการดูแลสมบัติล้ำค่าชิ้นนี้ เพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นหลัง แต่ในวัยเด็กของ ด.ช.วัชระ เมื่ออายุเพียง 8 ขวบยังโชคดีได้มีโอกาสได้พบเห็น กระซู่ หรือแรดสุมาตราตัวเป็นๆ ในเขาดินวนา หรือสวนสัตว์ดุสิตเมื่อราว 40 ปีก่อน

โดยกระซู่ตัวเมียชื่อ ลินจง ได้รับมอบจากมาเลเซีย มาอยู่ในสวนสัตว์ แต่เกิดอุบัติเหตุ และตายไปนานแล้ว ตอนนี้เหลือเพียงซากที่ถูกสตัฟฟ์ซากไว้เท่านั้นลินจง อาจเป็นกระซู่ตัวเดียวที่คนในยุคปัจจุบันอาจมีโอกาสได้เห็นจากในสวนสัตว์ และไม่มีใครเคยเห็นอีกเลย เพราะในมาเลเซียเองก็สูญพันธุ์ในแผ่นดินใหญ่

ตอนเด็กจำได้แค่ว่าบ่อเลี้ยงในเขาดิน มีสัตว์สีน้ำตาลตัวใหญ่ เหมือนฮิปโปมากกว่า ไม่รู้ว่าเป็นแรด จนโตถึงรู้ว่าเป็นกระซู่ นั่นเป็นเป็นความทรงจำวัยเด็กกับลินจง กระซู่ตัวสุดท้ายของไทย

วัชระ บอกอีกว่า สำหรับกระซู่ รวมทั้งแรดชวาที่มีรายงานในไทยทั้ง 2 ชนิดไม่ซึ่งอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหายากในไทย แต่ยังหมายถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในระดับโลกที่คาดว่าทั้ง 2 ชนิดเหลือประชากรรวมกันไม่ถึง 100 ตัวในธรรมชาติ

คนในยุคปัจจุบัน นักวิชาการเอง ก็คงไม่มีใครเคยเห็นแรดชวา หรือกระซู่ในธรรมชาติ รวมถึงอาจจะในระดับโลกด้วยซ้ำ ยกเว้นตัวที่อยู่ในสวนสัตว์ทั้ง 2 ชนิดไม่ได้แค่หายากแค่มานานมากแล้ว

แม้แต่ในมาเลเซียเองเคยมีความพยายามอนุรักษ์กระซู่ มีการรวบรวมได้ราว 40 ตัวแต่ในที่สุดกระซู่ ก็ตายจากโรคระบาด จนทางการมาเลเซียประกาศเป็นสัตว์สูญจากมาเลเซียไปแล้ว

ชิ้นส่วนฟันกรามแรดชวา 2 ชิ้นที่ได้รับมอบจากนพ.บุญส่ง เลขะกุล

ชิ้นส่วนฟันกรามแรดชวา 2 ชิ้นที่ได้รับมอบจากนพ.บุญส่ง เลขะกุล

ชิ้นส่วนฟันกรามแรดชวา 2 ชิ้นที่ได้รับมอบจากนพ.บุญส่ง เลขะกุล

วัชระ บอกว่า ส่วนในไทยเคยมีข่าวการเรื่อย ๆ เคยได้ยินมาตั้งแต่วัยเด็กว่า พบร่องรอยของกระซู่ แถวป่าภูเขียว ที่เคยเจอรอยตีน กองมูล รวมทั้งเรื่องเล่าที่เขาสก จ.สุราษฎร์ธานี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เมื่อราว 30 ปีก่อน ซึ่งทีมเคยเจอรอยตีน และคาดว่าจะเป็นกระซู่ ซึ่งทั้งหมดรายงานครั้งสุดท้าย

ส่วนแรดชวานั้นเชื่อว่าในเมืองไทยน่าจะสูญพันธุ์ไปก่อนกระซุ่ 100% ถ้าจะเหลือแค่ซากหรือนอในกลุ่มนักสะสม และโครงกระดูกในบ่อกุ้งที่สามร้อยยอดที่เป็นหลักฐานการเคยมีชีวิตอยู่ของแรดชวาในไทย

อ่านข่าว วันแรดโลก 22 ก.ย.สัตว์บกขนาดใหญ่ที่เสี่ยงสูญพันธุ์

วัชระ สงวนสมบัติ กับงานสตัฟฟ์สัตว์

วัชระ สงวนสมบัติ กับงานสตัฟฟ์สัตว์

วัชระ สงวนสมบัติ กับงานสตัฟฟ์สัตว์

ขอพื้นที่ให้แรดก่อนสูญพันธุ์ ชุบชีวิตยาก

ในมุมของของ วัชระ มองว่า แรดและสัตว์หายากหลายชนิดที่เคยแค่ท่องจำในบทเรียน เริ่มทยอยสูญพันธุไปทีละตัวสองตัว เป็นเรื่องน่าเสียดายไม่ว่าจะยุคนี้ที่สัตว์ป่าหายากทยอยหายไป และยุคก่อนเตรียมการไม่ทันที่จะรักษาเขาไว้ให้มีชีวิตอยู่ พอมันสูญพันธุ์ไปแล้วเอากลับคืนมาได้ไม่ได้

แม้จะรู้ว่าแรดชวา และกระซู่ ที่มีไม่เกิน 100 ตัวสี่ยงสูญพันธุ์มานาน แต่ยังไม่สามารถรักษาประชากรไม่ได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมองว่าการรักษาสัตว์ให้คงอยู่กับธรรมชาติน่าจะง่ายกว่าการทำให้กลับคืนมาอีกรอบ แม้มนุษย์จะมีเทคโนโลยีล้ำแค่ไหน ทั้งการผสมเทียม การโคลนนิ่ง แต่ยังไม่ครอบคลุมสัตว์หลายชนิดที่สูญพันธุไป

อยากส่งเสียงแทนแรด และสัตว์ป่าอื่นๆ ว่าปล่อยให้เราเป็นแรดในธรรมชาติ 

22 กันยายน 2566 ตรงกับวันอะไร

วันแรดโลก (World Rhino Day) ตรงกับวันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสำคัญที่รณรงค์ให้ตระหนักถึงปัญหาการสูญพันธุ์ของแรด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง