ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ลำแรก! ไต้หวันเปิดตัวเรือดำน้ำ ใช้เวลาต่อเอง 7 ปีเต็ม

ต่างประเทศ
29 ก.ย. 66
07:24
766
Logo Thai PBS
ลำแรก! ไต้หวันเปิดตัวเรือดำน้ำ ใช้เวลาต่อเอง 7 ปีเต็ม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไต้หวันเปิดตัวเรือดำน้ำที่ต่อขึ้นเองเป็นลำแรก โดยใช้เวลาต่อนานถึง 7 ปีเต็ม คาดว่าจะเข้าประจำการกองทัพได้จริงปีหน้า ท่ามกลางสถานการณ์ความตึงเครียดในแถบช่องแคบไต้หวัน และ ข้อกังขาประสิทธิภาพในการทัดทานกองทัพอันทรงพลังของจีน

เมื่อวันที่ 28 ก.ย.2566 ไช่ อิง-เหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน ร่วมพิธีเปิดตัวเรือดำน้ำ "ไห่ คุน" หรือชื่อภาษาอังกฤษ "Narwhal" ซึ่งเป็นเรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้า มูลค่ากว่า 1,540 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 56,000 ล้านบาท ที่ใช้เวลาต่อเรือนานถึง 7 ปีเต็ม โดยคาดว่าจะใช้การได้ในปี 2567 หลังผ่านการทดสอบหลังจากนี้

ผู้นำไต้หวัน ระบุว่า ประวัติศาสตร์จะจารึกวันนี้ไว้ ซึ่งการเปิดตัวเรือดำน้ำที่ต่อขึ้นเองในไต้หวันลำนี้เป็นที่ตั้งข้อสังเกตถึงการใช้สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นตัวตนของไต้หวันตามส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ ของเรือ

ไช่ อิง-เหวิน เปิดตัว

ไช่ อิง-เหวิน เปิดตัว

ไช่ อิง-เหวิน เปิดตัว "ไห่ คุน" เรือดำน้ำต่อเองลำแรกของไต้หวัน

นอกจากนี้ ไต้หวันยังอยู่ระหว่างการต่อเรือดำน้ำอีกลำหนึ่ง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการมีกองเรือดำน้ำ 10 ลำ ในครอบครอง ในจำนวนนี้ประกอบไปด้วยเรือดำน้ำจากเนเธอร์แลนด์ 2 ลำที่มีอยู่เดิม เพื่อรับมือภัยคุกคามจากจีนที่อาจปิดล้อมไต้หวันได้ในอนาคต และเป็นการซื้อเวลาเพื่อรอความช่วยเหลือทางการทหารจากสหรัฐฯ และ ญี่ปุ่น หากเกิดเหตุไม่คาดฝันดังกล่าวขึ้น

แม้ว่ากองเรือดำน้ำ 10 ลำที่ไต้หวันตั้งเป้าเอาไว้ จะเทียบไม่ได้กับกองเรือดำน้ำที่มีมากถึงกว่า 60 ลำของจีน ถึงมีสมรรถนะถึงระดับเครื่องยนต์พลังงานนิวเคลียร์ แต่หลายฝ่ายมองว่า การเปิดตัวเรือดำน้ำใหม่ๆ จะช่วยเสริมศักยภาพด้านกลาโหมของไต้หวันได้ เพราะจริงๆ แล้วไต้หวันต้องรับมือกับความท้าทายด้านกลาโหมในบทบาทที่เป็นฝ่ายเสียเปรียบจีนทั้งด้านงบประมาณ ยุทโธปกรณ์ และกำลังทหารมาโดยตลอดอยู่แล้ว

แนวทางของไต้หวันที่จงใจใช้กองกำลังแบบที่มีความคล่องตัวสูงกว่า อาจเปิดทางให้ไต้หวันใช้วิธีรบแบบกองโจรได้ในอนาคต หากต้องเกิดการเผชิญหน้ากันขึ้นจริง และอย่างน้อยเรือดำน้ำจะช่วยป้องกันช่องแคบต่างๆ ในพื้นที่ได้เมื่อถึงเวลาคับขัน และที่น่าสนใจคือ การสงครามต่อต้านเรือดำน้ำของจีน ยังคงเป็นขีดความสามารถด้านกลาโหมที่ถือเป็นจุดอ่อนแอที่สุดอยู่ ดังนั้นไต้หวันจึงอาจใช้ประโยชน์จากสถานะดังกล่าวนี้ได้

ช่องแคบไต้หวันด้านตะวันตกของไต้หวัน

ช่องแคบไต้หวันด้านตะวันตกของไต้หวัน

ช่องแคบไต้หวันด้านตะวันตกของไต้หวัน

แต่ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า เรือดำน้ำอาจไม่ได้มีความหมายอะไรมากนัก เพราะหากเกิดการเผชิญหน้าขึ้น จุดศูนย์กลางน่าจะเป็นบริเวณช่องแคบ ซึ่งไม่ใช่จุดที่เรือดำน้ำจะปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เหมือนกับทางฝั่งตะวันออกของไต้หวัน ซึ่งจะเป็นจุดที่ใช้การเรือดำน้ำได้อย่างเต็มที่ ซึ่งแม้ว่าเรือดำน้ำจะมีบทบาทในการต้านทานการรุกรานของจีนอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

ขณะที่โฆษกกระทรวงกลาโหมจีน ระบุว่า ไต้หวันกำลังพยายามทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และทำอะไรเกินตัว ซึ่งความพยายามขัดขวางกองทัพจีนในการเข้าพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกนั้นเป็นการกระทำของผู้ที่โง่เขลา

อ่านข่าวอื่น :

ก้าวไกล มีมติขับ "หมออ๋อง" พ้นพรรค เดินหน้าผู้นำฝ่ายค้าน

"มินนี่" เปิดหน้าชน ปัดเป็นเจ้าของเว็บพนัน ไม่รู้จัก "บิ๊กโจ๊ก"

พบตัว ด.ช.วัย 14 ที่ปราจีนบุรี หลังถูกลักพาตัวจากสิงห์บุรี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง