วันนี้ (1 ต.ค.2566) เมื่อเวลา 19.00 น.นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สรุปสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดทั่วประเทศ
ว่าที่ ร.ต.ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ประ เทศไทยจะได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมพุดผ่าน ส่งผลให้ให้ภาคเหนือ และภาคอีสานได้รับผลกระทบจากน้ำฝน มีน้ำท่วมขัง และดินสไลด์บางพื้นที่
หลังจากนั้น ช่วง 3-7 ต.ค.นี้ ฝนจะลดน้อยลง มวลอากาศเย็นเข้ามาแทนที่ และฝนกลับมาตกมากอีกครั้ง ตั้งแต่ 7 ต.ค.นี้ ข้อกังวลเรื่องพายุโคอินุ ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ
ฝนตกหนักสะสมจากร่องมรสุม-น้ำหลาก
นายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ภาพรวมฝนที่ตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทย ตั้งแต่กลางเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ทําให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่ เช่น ลุ่มน้ำวัง มีพื้นที่น้ำท่วม เนื่องจากน้ำในแม่นน้ำวังล้นตลิ่ง ส่งผลกระทบกับจ.ลําปาง และตาก
ส่วนลุ่มน้ำ ยม-น่านจากปริมาณฝนที่ตกในเขต จ.แพร่ ทําให้ปริมาณน้ำในน้ำยมเพิ่มสูงขึ้น เริ่มมีผลกระทบกับ จ.สุโขทัยบางส่วน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำที่จ.นครสวรรค์ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่ปิง แม่น้ำน่าน ยังคงสูงขึ้น ทําให้ต้องบริหารจัดการน้ำและจัดจราจรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้มีผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด
ในส่วนลุ่มน้ำชี-มูล พื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำชีปริมาณน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนในพื้นที่แม่น้ำชีตอนล่างยังคงมีน้ำล้นตลิ่งบริเวณ จ.กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร แต่มีแนวโน้มลดลง
ส่วนของลุ่มน้ำมูล มีน้ำท่วมบริเวณจ.อุบลราชธานี เนื่องจากปริมาณน้ำล้นตลิ่งบริเวณสถานี M.7 อ.วารินชําราบ โดยปริมาณน้ำดังกล่าวจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันสามารถระบายน้ำได้อย่างต่อเนื่อง
อ่านข่าว เร่งกู้รถไฟตกราง จ.แพร่ คาดเปิดเดินรถสายเหนือ เย็นนี้
นายกรัฐมนตรี เกาะติดสถานการณ์น้ำ
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาตลอด และเป็นห่วงพี่น้องประชาชน วันนี้ต้องมาดูด้วยตัวเองที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำแห่งนี้ ทั้งเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำแบบ Real-time รับฟังข้อติดขัดในการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้ท่านได้ทำงานอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพที่สุด
เรื่องสำคัญคือการวางแผนรับมือกับมวลน้ำที่จะเข้ามาอีกระลอก จะซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลงไปกว่าเดิม จึงขอให้ทุกท่านให้ความเห็นอย่างเต็มที่ ติดขัดอะไรขอให้พูดกันตรงๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด ทันสถานการณ์
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 ด้าน โดยขอให้กรมชลประทานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดจราจรน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล ลุ่มน้ำยม-น่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา
อ่านข่าว เตือน! น้ำเหนือหลาก "อยุธยา-อ่างทอง" เร่งอุดพนังกั้นน้ำยมแตก
นอกจากนี้ ให้หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ กรมชลประทาน ตรวจสอบความมั่นคงของพนังกั้นน้ำ สะพาน และอาคารชลประ ทาน ให้มีความมั่นคง และพร้อมใช้งานตลอดช่วงฤดูน้ำหลาก
รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัย และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ให้กรมอุตุวิทยา ติดตามสภาพอากาศ แจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งเตือนสภาพอากาศกับประชาชน เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด และการแจ้งเตือน ประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนในพื้นที่ให้ทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
อ่านข่าว