วันนี้ (3 ต.ค.2566 ) พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผอ.องค์การเภสัชกรรม (อภ.) กล่าวว่า องค์การเภสัชกรรมได้เร่งการกระจายยาโอเซลทามิเวียร์ไปยังสถานพยาบาลต่างทั่วประเทศ โดยเฉพาะโอเวลทามิเวียร์สำหรับเด็กเล็กขนาด 30 มิลลิกรัม คาดว่าในช่วงบ่ายวันนี้จะทยอยส่งได้ทุกพื้นที่
ส่วนยาสำหรับเด็กโต ขนาด 45 มิลลิกรัม คาดว่าจะเร่งเคลียร์จำนวนยาทั้งหมด และส่งมอบยาได้ภายวันที่ 8 ต.ค.นี้ เช่นเดียวกับ ยาสำหรับผู้ใหญ่ขนาด 75 มิลลิกรัม ก็จะจัดส่งเช่นกัน โดยจะเหลือคงสต็อกไว้สำหรับฉุกเฉินเพียง 50 กล่องเท่านั้น
พญ.มิ่งขวัญ กล่าวว่า สถานการณ์ความต้องการยาโอเซลทามิเวียร์จะค่อยๆ คลี่คลาย หลังจากสปสช.มีมติให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ใช้ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ได้ โดยคณะอนุกรรมการ ฯบัญชียาหลัก จะมีการหารือกันในช่วงบ่ายวันนี้ (3 ต.ค) เบื้องต้นกรมการแพทย์ได้ปรับ คำแนะนำการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
เหตุไข้หวัดใหญ่ระบาดคนไทยไร้ภูมิ
สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ว่าสามารถใช้ยาฟาวิพิราเวียร์รักษาไข้หวัดใหญ่ได้เช่นเดียว ซึ่งทำมีความสะดวกในการใช้ยา และการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
สาเหตุที่ยาโอเซลฯไม่เพียงพอ เพราะ 2 ปีที่ผ่านมาไทยไม่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่มานาน ทุกคนสวม แมสก์ ป้องกันโควิด -19 ทำให้คน ไม่มีภูมิคุ้มกันไข้หวัดใหญ่ แต่ค ไข้หวัดใหญ่ระบาด เพิ่มขึ้นมากถึง 4-5 เท่า
เกณฑ์รับยาต้านไวรัส
ทั้งนี้กรมการแพทย์ ได้เผยแพร่ ในเว็บไซด์ ให้คำแนะนำการรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ฉบับปรับปรุงวันที่ 2 ต.ค. 66 (ครั้งที่ 4 ) โดยคณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใจความว่า แบ่งเป็นการรักษา การรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ออกเป็น 1 การรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) 2 การรักษาเฉพาะโดยให้ยาต้านไวรัส ประกอบด้วย ยาต้านไวรัสอันดับแรก (first-line) คือ โอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) , ยาอันดับรอง (second-line) คือ ฟาวิพิราเวียร์ ( favipiravir ) ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ยาอันดับแรกได้ เฉพาะในกรณีที่เป็นไข้หวัดใหญ่อาการไม่รุนแรงเท่านั้น
การให้ยาต้านไวรัสเพื่อการรักษาไข้หวัดใหญ่ จะให้ ผลการรักษาดีที่สุดเมื่อเริ่มยาได้เร็ว ภายใน 48 ชั่วโมงแรก อย่างไรก็ตามยังมีประโยชน์ในผู้ที่อาการรุนแรงหรือเสี่ยงสูง แม้จะเลย 48 ชั่วโมงไปแล้ว โดยเกณฑ์การจ่ายยาต้านไวรัส ประกอบด้วย
1. ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ต้องนอนโรงพยาบาล หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง (มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 95% ,สงสัยปอดอักเสบ , ซึม หรือมีอาการทางประสาท ,รับประทานอาหารได้น้อย )
2. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรครุนแรง (อ้วน.หญิงตั้งครรภ์ ,อายุน้อยกว่า 2 ปี และอายุมากกว่า 60 ปี.ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน,มะเร็ง,ไต )
ทั้งนี้ ข้อบ่งใช้ ยาโอเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ขนาดสูง 2 เท่าของปกติพบว่าไม่มีประสิทธิผลดีไปกว่าขนาดปกติ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ไข้หวัดใหญ่" ระบาดหนัก เช็กอาการ-กลุ่มไหนเสี่ยง
ติดเชื้อ “ไข้หวัดใหญ่” พุ่งสะสม 216,600 คน สวนทางโควิดขาลง