ยิว-เจ้าของพื้นที่เดิมอิสราเอล
ในอดีตยุคสงครามล่าอาณานิคม "อิสราเอล" เป็นพื้นที่ระหว่างกลางของการทำสงคราม "แอฟริกา-เอเชีย-ยุโรป" การสู้รบทำให้ "ชาวยิว" ที่อาศัยแต่ดั้งเดิมในอิสราเอลต้องละทิ้งถิ่นฐาน กระจายตัวเดินทางสู่หลายพื้นที่ในโลก
แต่การจากไปของชาวยิว ไม่ได้ทิ้งความว่างเปล่าไว้ในดินแดนอิสราเอล ที่นี่กลายเป็นแหล่งรวมของคนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งโรมัน กรีก เปอร์เซีย ต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ สร้างอาณาเขตพื้นที่อาศัยของตนเอง และสร้างนครศักดิ์สิทธิ์ "เยรูซาเล็ม" หนึ่งในนครที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ศูนย์รวม 3 ศาสนา "คริสต์-อิสลาม-ยูดาห์"
กำเนิดปาเลสไตน์
ช่วงต้นศตวรรษที่ 16 เยรูซาเล็มและดินแดนโดยรอบตกเป็นเมืองขึ้นของมหาจักรวรรดิออตโตมัน (ตุรกีในปัจจุบัน) และถูกตั้งชื่อใหม่เป็น "ปาเลนสไตน์" ชาวอาหรับที่อยู่ในนั้นถูกเรียกว่า "ชาวปาเลสติเนียน" กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ช่วงปี 2457-2461 อังกฤษทำสนธิสัญญาบัลฟอร์กับชาวยิว สัญญาว่าถ้าชาวยิวช่วยอังกฤษรบจนชนะ จะยกดินแดนปาเลสไตน์ให้ และแน่นอน ประวัติศาสตร์ที่ถูกส่งต่อกันมาถึงอดีตที่เคยอยู่ในพื้นที่เดิม ทำให้ชาวยิวตั้งใจและเต็มใจช่วยรบ เพื่อหวังกลับคืนสู่บ้านเกิดที่บรรพบุรุษเคยอยู่มานานหลายพันปี
แต่ในขณะเดียวกัน อังกฤษที่กลัวแพ้สงคราม ก็ทำสนธิสัญญาซ้อนอีกฉบับ แต่ทำกับชาวปาเลสติเนียน บอกว่าถ้าช่วยรบกับเยอรมัน จะคืนอิสรภาพให้ปาเลสไตน์ และสุดท้ายอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวยิวเดินทางเข้าสู่ปาเลสไตน์ ขณะที่ชาวปาเลสติเนียนที่อยู่เดิมก็เริ่มโวยวาย เพราะไม่ต้องการให้เชื้อชาติอื่นเข้ามา
ประเทศอิสราเอล
ความขัดแย้งระหว่าง 2 เชื้อชาติจึงเริ่มต้นขึ้น ยิวอ้างตัวว่าอยู่มานานหลายพันปี ปาเลสติเนียนก็อ้างว่าสร้างเมืองใหม่มาแล้วหลายร้อยปี ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อยยาวจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้น จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือระงับข้อพิพาทของ 2 เชื้อชาตินี้ โดยที่ประชุม UN มีมติ 31:13 ในปี 2490
แบ่งปาเลสไตน์เป็น 2 ส่วน และให้เยรูซาเล็มอยู่ตรงกลาง ครอบครองร่วมกัน
พื้นที่ที่ยิวได้ไป ยิวจึงประกาศเอกราชและตั้งชื่อว่า "ประเทศอิสราเอล" เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2491 แต่ปาเลสนิเนียนในดินแดนปาเลสไตน์ ไม่เห็นด้วยอย่างที่สุด พวกเขามองว่ายิวชุบมือเปิบ และเป็นการไม่สมควรที่นำเอาศาสนาอื่น (ยิวนับถือศาสนายูดาห์) มาไว้ท่ามกลางพื้นที่ศาสนาอิสลาม (ปาเลสไตน์ และหลายประเทศโดยรอบ ต่างนับถือศาสนาอิสลาม แม้จะคนละนิกายก็ตาม)
นครเยรูซาเล็ม
เวสต์แบงค์-ฉนวนกาซา
เมื่ออิสราเอลประกาศเอกราชแล้ว ย่อมหมายถึงอังกฤษไม่จำเป็นต้องดูแลอีกต่อไป อิสราเอลต้องเผชิญหน้าอย่างโดดเดี่ยวกับสงครามจากฝ่ายอิสลาม จากการรวมตัวกันหลายประเทศ อียิปต์ จอร์แดน ซีเรีย เลบานอน อิรัก ที่จับมือกับชาวปาเลสติเนียน
แม้ต้องสู้เพียงลำพัง แต่อิสราเอลกลับเอาชนะจนหลายประเทศยอมสงบศึก และอิสราเอลยังได้พื้นที่เพิ่มให้กับประเทศตนเอง และตั้งไว้เพื่อเป็นกันชนระหว่างตนกับประเทศศัตรู โดยชัยชนะครั้งนี้ อิสราเอลใช้เวลารบเพียง 6 วันเท่านั้น จนได้ชื่อว่า สงคราม 6 วัน หรือ Six-day war ในปี 2510
เวสต์แบงค์ พื้นที่ทางตะวันออก กั้นระหว่างอิสราเอลและจอร์แดน ฉนวนกาซา พื้นที่ด้านตะวันตก กั้นระหว่างอิสราเอลและอียิปต์
กำเนิด PLO
ชัยชนะของอิสราเอล ทำคนที่ไม่พอใจมากที่สุดคือ ดินแดนปาเลสไตน์ เพราะพื้นที่ที่อิสราเอลได้มา นั่นหมายถึงสัดส่วนพื้นที่ของปาเลสไตน์ที่ UN จัดสรรให้ค่อย ๆ หายไป เมื่อทำสงครามกันซึ่งหน้าแล้วไม่ชนะ ชาวปาเลสติเนียนจึงก่อตั้ง "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือ Palestine Liberation Organization : PLO" พร้อมผู้นำที่ชื่อ "ยัตสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat) พร้อมความตั้งใจใหม่คือ สู้รบแบบกองโจร ที่เน้นเข้ามาสร้างความวุ่นวายในเขตประเทศอิสราเอลนานหลายปี
แต่ก็ทำอะไรอิสราเอลไม่ได้ นอกจากเพิ่มความตึงเครียดระหว่างกันขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั่ง PLO มองว่าการใช้ความรุนแรงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และยิ่งทำให้เกิดความสูญเสีย จึงยอมลดท่าทีลงเพื่อให้ชาวปาเลสติเนียนที่เหลือยังคงมีแผ่นดินอาศัยอยู่ต่อไป
อิสราเอล-ฮามาส
ความฮึกเหิมจากชัยชนะทำให้อิสราเอลไม่ใช้วิธีสันติเพื่อการอยู่ร่วมกับปาเลสไตน์อีกต่อไป ชาวยิวในอิสราเอลเริ่มกระจายตัวไปอยู่ในพื้นที่ฉนวนกาซา และเขตเวสต์แบงค์ เพื่อค่อยๆ ไล่ที่ชาวปาเลสติเนียนที่นั่น โดยที่ฝั่งปาเลสไตน์เองก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย
แต่ในปี 2530-2536 ชาวอิสราเอลขับรถชนชาวปาเลสไตน์ 4 คนเสียชีวิต ทำให้เกิดการลุกฮือของประชาชนปาเลสติเนียน การประท้วงครั้งนั้นกินเวลานานถึง 6 ปี มีชาวปาเลนติเนียนเสียชีวิตเกือบ 2,000 คน และชาวยิวเสียชีวิต 277 คน นานาชาติเข้ามามีบทบาทโดยการทำข้อตกลงออสโลในปี 2536 แบ่งเขตเวสต์แบงค์เป็น 3 ส่วน และให้ปาเลสไตน์ปกครองตนเอง (เรียกเหตุการณ์นี้ว่า อินติฟาเฎาะฮ์ครั้งที่ 1 : First Intifada )
ในขณะที่หลายฝ่ายพยายามเจรจาอย่างสันติอยู่นั้น มีชาวปาเลสติเนียนหัวรุนแรงอีกกลุ่มที่มองว่า สันติภาพไม่ช่วยอะไร และกลุ่ม PLO ดูอ่อนข้อเหลือเกิน จึงสร้างกลุ่มใหม่ขึ้นมาชื่อว่า "กลุ่มฮามาส (Hamas)" เป็นกองกำลังติดอาวุธ และปฏิเสธการเจรจาอย่างสันติทุกรูปแบบ โดยส่งมือระเบิดพลีชีพเข้าไปในอิสราเอล จนทำให้สันติภาพของอิสราเอลและปาเลสไตน์สะบั้นลง
นักวิชาการ มองเหตุโจมตีตะวันออกกลางยกระดับความรุนแรงสู่ภูมิภาค
กำแพงที่อิสราเอลสร้างแบ่งเขตแดนประเทศ
อิสราเอลยั่วยุ
อีกเหตุการณ์ที่ยิ่งสร้างความขัดแย้งคือในปี 2543-2548 ฝ่ายค้านของอิสราเอลเข้าไปยังมัสยิดในนครเยรูซาเล็ม สร้างความไม่พอใจให้ชาวมุสลิมในปาเลสไตน์อย่างมาก พวกเขามองว่านั่นคือการดูหมิ่นทางศาสนา ทำให้เกิดการปะทะกันยาวนาน 5 ปีต่อมาอีก (เรียกเหตุการณ์นี้ว่า อินติฟาเฎาะฮ์ครั้งที่ 2 : Second Intifada)
แม้จะมีเสียงคัดค้านและไม่เห็นด้วยจากนานาประเทศต่อการกระทำของอิสราเอล แต่ก็ไร้การตอบกลับใดๆ อิสราเอลยังคงเลือกใช้ความรุนแรงขับไล่ชาวปาเลสติเนียน
ท่าทีผู้นำโลกต่อเหตุฮามาสโจมตีอิสราเอล
คู่ขัดแย้งชัดเจน อิสราเอล-ฮามาส
ขณะที่ความขัดแย้งของ 2 เชื้อชาติยังดำเนินไป ความขัดแย้งภายในปาเลสไตน์ก็ดำเนินอยู่ เมื่อกลุ่ม PLO และกลุ่มฮามาส เลือกใช้วิธีการปกครองคนในพื้นที่ด้วยการเลือกตั้ง และผลก็ออกมาว่ากลุ่มฮามาสชนะ และการประกาศกร้าวถึงความแข็งแกร่งของตนคือเข้ายึดครองพื้นที่ฉนวนกาซาได้สำเร็จ ชาวอิสราเอลต้องอพยพออกจากพื้นที่ แต่ก็ตั้งกองกำลังไว้บริเวณชายแดนฉนวนกาซา เพื่อป้องกันการลุกล้ำของกลุ่มฮามาส
หลังจากนั้น กลุ่มฮามาสก็ดำเนินการรบกับอิสราเอลมาตลอด สร้างความขัดแย้งแทนสันติภาพ อิสราเอลใช้การสร้างกำแพงกั้นบริเวณชายแดนฉนวนกาซา นั่นหมายถึงประชาชนที่อยู่ในฉนวนกาซาถูกตัดขาดจากการช่วยเหลือใดๆ ทั้งสิ้น สาธารณสุข อาหาร ยา สุขอนามัย
และแน่นอนว่าสหประชาชาติต้องยื่นมือเข้ามาช่วย โดยอ้างความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม รวมถึงองค์กรระดับโลกอีกมากมาย เช่น EU, สหรัฐฯ ก็พยายามเข้ามาพูดคุย แต่ดูเหมือนว่าเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุเท่านั้น เพราะต้นตอของปัญหายังคงอยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สรุปเหตุการณ์ฮามาสโจมตีหนัก อิสราเอลประกาศภาวะสงคราม
BLACK DAY "นายกฯ อิสราเอล" ประกาศกร้าวตอบโต้กลุ่มฮามาส
อิสราเอล โต้กลับ ปาเลสไตน์ ยอดเสียชีวิตรวม 400 เจ็บนับพันคน
“เศรษฐา” รอยืนยันแรงงานไทยตาย 1 จับเป็นตัวประกัน 11 คน
กลัว-กังวล-รอความช่วยเหลือ เปิดใจ "คนไทย" หลบภัยสงครามอิสราเอล