ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เศรษฐกิจโลก "ตัวแปร" ฉุดส่งออกไทยปี 67

เศรษฐกิจ
18 ต.ค. 66
17:12
1,436
Logo Thai PBS
เศรษฐกิจโลก "ตัวแปร" ฉุดส่งออกไทยปี 67
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ส่งออกไทยปี 67 ปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ชี้ สงคราม-เงินเฟ้อ-เศรษฐกิจโลก ตัวแปรสำคัญ

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยระบุว่า ตัวเลขส่งออกปี 2566 จะขยายตัวติดลบที่ 2% หรือมูลค่าประมาณ 281,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นว่า ส่งออกไทยไม่ได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้

แต่เป็นภาคการท่องเที่ยวที่จะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย คาดการณ์ว่า หากเป็นไปตามเป้าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาถึง 30 ล้านคน จากมาตรการวีซาฟรี ซึ่งเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวจีนและอินเดีย ที่จะเดินทางเข้ามากขึ้นในช่วง 3 เดือนที่เหลือ เฉลี่ย 3,000,000 คน/เดือน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวถึงทิศทางการส่งออกปี 2567 ว่า ยังมีปัจจัยเสี่ยงรอบด้านจากปัญหาเศรษฐกิจโลก และความไม่แน่นอนดังกล่าว จะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว เช่น สหรัฐอเมริกา คาดว่าจีดีพีจะลดลง 1.3% ญี่ปุ่น ลดลง 1.0% อินเดีย ลดลง 6% จีนลดลง 4.6% เป็นต้น

เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงชะลอตัวทั้งจาการบริโภคภาคเอกชน และส่งออกที่ยังเติบโตในอัตราต่ำ รวมถึงรายได้ที่แท้จริงของครัวเรือนลดลงด้วย ขณะที่เศรษฐกิจฝั่งยุโรปปีหน้าเริ่มฟื้นตัว ปัจจัยหนุนจากตลาดแรงงานที่โตขึ้น และหนี้สาธารณะลดลง

ติดตามขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์

นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า อีกปัจจัยที่ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง จีน-สหรัฐฯ ในทุกมิติ ทั้งสงครามการค้า การแข่งขันเทคโนโลยีและการแบ่งแยกห่วงโซ่อุปทาน ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและห่วงโซ่อุปทานของไทย

นอกจากนี้สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่อเค้ายืดเยื้อ แม้ส่งผลกระทบน้อยลง แต่ไทยยังได้รับประโยชน์จากการส่งออกเพิ่ม ส่วนความขัดแย้งของจีน-ไต้หวัน ที่อาจลุกลามสู่สงครามและนำไปสู่ปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

รวมถึงข้อพิพาททะเลจีนใต้ ถ้ารุนแรงมากขึ้นอาจะส่งผลต่อการขนส่งทางทะเลของไทย หรือล่าสุดสงครามระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ที่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย

นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า หากสงครามอิสราเอล-ฮามาสยืดเยื้อ ทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากสงครามไว้ 3 ประเด็น คือ กรณีสงครามยืดเยื้อ ซึ่งโอกาสเกิด 30% จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออก 369 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือติดลบ 0.1%

กรณีสงครามยืดเยื้อจนปิดเส้นทางขนส่ง โอกาสเกิด 10% กระทบส่งออก 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือติดลบ 0.3% และหากสงคราขยายวงกว้างไปทั่วภูมิภาคตะวันออก ซึ่งคาดว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้น น้อยกว่า 5% กระทบต่อการส่งออก 4,769 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือติดลบ 1.7%

พาณิชย์ผุด 7 มาตรการดันส่งออกปี 67

ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์มีมาตรการในการผลักดันการส่งออก 7 มาตรการ คือ การใช้ประโยชน์จาก Soft Power ที่ไทยมีอยู่ การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกในตลาดทั่วโลก เพื่อน้ำมาพัฒนาสินค้าไทย เร่งแก้ปัญหาค้าชายแดน ยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกไทย

รวมถึงผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ และการเตรียมความพร้อมกับการรับกติกาใหม่ๆ ของโลก เช่น คาร์บอน เครดิต , BCG และ SDGs รวมไปถึงการพัฒนาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการส่งออก

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สั่งการกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประเมินผลกระทบการค้า และมาตรการรับมือ หลังความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ยังไม่จบ พร้อมทำแผนขยายตลาด เน้นเจาะเมืองรอง

พ่วงจัดคณะผู้แทนการค้าไปเคาะประตู ย้ำต้องช่วย SMEs ให้มีโอกาสส่งออก เร่งขับเคลื่อนงานดิจิทัล อำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ ลุยปั๊มยอดส่งออกโค้งสุดท้าย ตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 1.24 หมื่นล้านบาท และเร่งทำเป้าส่งออกปี 67 และมาตรการขับเคลื่อน

จัดทำเป้าหมายการส่งออก และแผนงานขับเคลื่อนการส่งออกปี 2567 น่าจะสรุปได้ในช่วงปลายเดือน ธ.ค.2566

 ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

หอการค้าไทย ชี้ 'สงครามอิสราเอล' ไม่กระทบการค้า

4 กลุ่มอุตสาหกรรม ดันส่งออกไทยไตรมาส 4 พลิกบวก6.8%

เอกชนลดเป้าส่งออกข้าวไทยปี 67 เหลือ 7.5 ล้านตัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง