ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ส่องประวัติ อดีตนายกฯ "หลี่ เค่อเฉียง" นักเศรษฐศาสตร์ข้างกาย สี จิ้นผิง

ต่างประเทศ
27 ต.ค. 66
11:04
1,514
Logo Thai PBS
ส่องประวัติ อดีตนายกฯ "หลี่ เค่อเฉียง" นักเศรษฐศาสตร์ข้างกาย สี จิ้นผิง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อดีตนายกฯ หลี่ เค่อเฉียง ของจีน เสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เพียง 10 เดือนหลังจากเกษียณจากการดำรงตำแหน่งผู้นำจีน เบอร์ 2 นานร่วมทศวรรษ เขาได้ชื่อว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่พยายามสร้างความเท่าเทียมในสังคม ขณะที่ตัวเองถูกลดบทบาทจาก สี จิ้นผิง

วันนี้ (27 ต.ค.2566) สถานีโทรทัศน์ CCTV ของจีน รายงานว่า หลี่ เค่อเฉียง อดีตนายกรัฐมนตรีจีน และ อดีตสมาชิกคณะกรรมาธิการประจำสำนักการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ถึงแก่อนิจกรรมแล้วในวัย 68 ปี

สื่อทางการจีนระบุว่า หลี่ เค่อเฉียง เพิ่งไปพักผ่อนที่เซี่ยงไฮ้เมื่อไม่นานมานี้และมีภาวะหัวใจล้มเหลวกะทันหันเมื่อช่วงกลางดึกของวันที่ 26 ต.ค. หลังได้รับความพยายามช่วยเหลือจากทีมแพทย์ทั้งหมด เขาเสียชีวิตในนครเซี่ยงไฮ้ เมื่อเวลา 00.10 น. ของวันที่ 27 ต.ค. 

เส้นทางการเมือง "หลี่ เค่อเฉียง"

หลี่ เค่อเฉียง เกิดเมื่อวันที่ 1 ก.ค.2498 ที่เขตติ้งหยวน มณฑลอานฮุย ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ยากจน เขาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี 2517 และถูกส่งตัวไปเป็นแรงงานในทุ่งนาช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม ที่นั่นทำให้เขาเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และเริ่มต้นเส้นทางสู่การเป็นหัวหน้าฝ่ายการผลิตประจำท้องถิ่นของพรรคฯ ต่อมา เขาปฏิเสธข้อเสนอเป็นผู้นำพรรคฯ ประจำท้องถิ่น เพื่อศึกษาต่อในด้านกฎหมาย มหาวิทยาลัยปักกิ่ง จนกระทั่งระดับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์

ในปี 2523 เขารับตำแหน่งเลขาธิการคณะยุวชนคอมมิวนิสต์ (CYL) ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง  2 ปีต่อมาขึ้นสู่ผู้นำระดับสูงของคณะยุวชนคอมมิวนิสต์ และได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ "หู จิ่นเทา" จนในที่สุด เขาได้เป็นเลขาธิการใหญ่ของคณะยุวชนคอมมิวนิสต์จนถึงปี 2541 ก่อนจะมาเป็นรองนายกฯ และ นายกฯ ในที่สุด

หลี่ เค่อเฉียง ขณะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2562

หลี่ เค่อเฉียง ขณะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2562

หลี่ เค่อเฉียง ขณะเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อปี 2562

ระบบ Xi-Li

หลี่ เค่อเฉียง ขึ้นสู่ตำแหน่งสำคัญต่างๆ แม้ไม่มีฐานเสียงหนุนในพรรคและในช่วงหนึ่งเขาเคยถูกวางตัวให้เป็นประธานาธิบดี แต่สุดท้าย เขากลายเป็นสมาชิกอันดับ 2 ของคณะกรรมาธิการ Politburo ต่อจากผู้นำสูงสุด "สี จิ้นผิง" และดำรงตำแหน่งนายกฯ ในปี 2556 ในเวลานั้นมีคำพูดเกี่ยวกับ "ระบบ Xi-Li" แต่ในความเป็นจริงแล้ว สี จิ้นผิง กุมอำนาจโดยลำพังและแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2561 เพื่อยกเลิกการจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี

ในช่วงเวลาที่ หลี่ ดำรงตำแหน่ง เป็นที่รู้จักจากแนวนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นการปฏิบัติ มุ่งเน้นในการลดช่องวางความรวยและความจน รวมทั้งนโยบายมอบที่อยู่ราคาเข้าถึงได้แก่ประชาชน นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่งบอกว่า หลี่ เป็นเสมือนเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจจีน แต่นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่า ในช่วงปลายอาชีพทางการเมืองของเขา หลี่ เค่อเฉียง ถูกลดบทบาทลงเรื่อยๆ ท่ามกลางความพยายามกระชับอำนาจของ ปธน.สี จิ้นผิง

สี จิ้มผิง และ หลี่ เค่อเฉียง ในการประชุมเมื่อเดือน มี.ค.2566

สี จิ้มผิง และ หลี่ เค่อเฉียง ในการประชุมเมื่อเดือน มี.ค.2566

สี จิ้มผิง และ หลี่ เค่อเฉียง ในการประชุมเมื่อเดือน มี.ค.2566

Likconomics

The Warshington Post กล่าวถึงอดีตนายกฯ จีนคนนี้มีชื่อที่รู้จักอีกชื่อว่า Likconomics แม้เขาจะถูกกีดกัน แต่ หลี่ ก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของความไม่พอใจต่อระบบเศรษฐกิจในจีน ในขณะที่รัฐบาลพยายามสร้างความเท่าเทียม ขจัดความยากจน แต่ในสุนทรพจน์ของ หลี่ กล่าวว่า ยังมีชาวจีน 600 ล้านคน ที่มีรายได้น้อยกว่า 140 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน ยิ่งกระตุ้นให้เกิดความโกรธเคืองต่อความไม่เท่าเทียมกันที่ถูกปฏิบัติ 

หลี่ เค่อเฉียง ตอบโต้นโยบาย Zero Covid ที่เข้มงวดของรัฐบาล ในช่วงที่เกิดโรคระบาด เขาเรียกร้องให้ "สร้างสมดุล" เพื่อต่อสู้กับไวรัส ในขณะเดียวกันก็พัฒนาเศรษฐกิจไปด้วย ในปี 2563 ระหว่าง ที่เกิดการระบาด เขาเรียกร้องให้มีการฟื้นฟู "เศรษฐกิจหาบเร่" ที่มีชีวิตชีวาของแผงลอยริมถนนเล็กๆ ที่ถูกสั่งห้ามส่วนใหญ่ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูชั่วคราว

ในปีสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งนี้ หลี่ พยายามส่งเสียงเตือนต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยในจีน ท่ามกลางมาตรการล็อกดาวน์จากโรคโควิด-19 ที่แพร่หลาย

ในการประชุมสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 20 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี 2565 สี จิ้นผิง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคได้ 3 วาระติดต่อกัน และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2566 ขณะที่ หลี่ เค่อเฉียง ลาออกจากพรรคและตำแหน่งผู้นำรัฐบาลหลังจากดำรงตำแหน่ง 2 สมัยในเดือน มี.ค.2566 

อ่านข่าวอื่น :

นายกฯ นิมนต์พระทำบุญตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนนอนค้างคืน

กกพ.ส่งสัญญาณค่าไฟต้นปี 67 อาจทะลุ 4 บาท/หน่วย

อังกฤษเปิดสอน "วิชาเวทมนตร์" หลักสูตร 1 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง