ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เรื่องสั้น "ด้วยรักและผุพัง" ของ นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์ คว้ารางวัลซีไรต์ 2566

Logo Thai PBS
เรื่องสั้น "ด้วยรักและผุพัง" ของ นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์ คว้ารางวัลซีไรต์ 2566
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เรื่องสั้น Family Comes First ด้วยรักและผุพัง จากผลงานของ "นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์" คว้ารางวัลซีไรต์ประจำปี 2566

วันที่ 1 พ.ย.2565 คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี 2566 มีมติเอกฉันท์ให้รวมเรื่องสั้น Family Comes First ด้วยรักและผุพัง ผลงานของ นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประจำปี 2566

รวมเรื่องสั้น Family Comes First ด้วยรักและผุพัง ของ นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์ เล่าเรื่องคนไทยเชื้อสายจีนในมุมมองใหม่ ผู้เขียนใช้ "ความเป็นจีน" เปืนเครื่องมือในการตั้งคำถามต่อจารีตประเพณี ความสับพันเชิงอำนาจ รวมทั้งค่านิยมบางประการ เช่น คำนิยมผู้ชายเป็นใหญ่ มายาคติของสายเลือด ตัวละครตกอยู่ในกับตักของประเพณี ผู้หญิงถูกกดทับให้ตกอยู่ในพันธนาการของความหม่นเศร้า ประเพณีที่เคยเป็นสัญลักษณ์ของครอบครัวใหญ่ได้ล่มสลายลง สร้างบาดแผลให้แก่สมาชิกในครอบครัวและก่อให้เกิดโศกนาฏกรรม กระนั้น ในความ "ผุพัง" ก็ยังคงมีความ "ผูกพัน" ที่เป็นเครื่องยึดโยงให้อยู่ร่วมกันได้

ผู้เขียนถ่ายทอดความเป็นจีนผ่านแนวการเล่าเรื่องที่หลากหลาย ทั้งแนวสมจริง (realism) แนวสัจนิยมมหัศจรรย์ (magical realism) และอุปมานิทัศน์ (alegory) ซึ่งเชื้อเชิญให้ผู้อ่านตีความได้หลายนัยและขยายประสบการณ์เฉพาะทางวัฒนธรรมไปสู่ประเด็นปัญหาร่วมในสังคม การใช้ผัสสะที่เอื้อต่อการตีความ

เช่น การใช้สีแดงเพื่อสื่อความหมายที่ขัดแย้งกันระหว่างสีแห่งมงคลกับสีแห่งความตาย ช่วยสื่อบรรยากาศความลึกลับ ความน่าสะพรึงกลัว ความอึดอัด นอกจากนี้ ยังมีการใช้สารนอกตัวบท (paratext) เช่น การออกแบบหน้าปกให้มีชื่อเรื่องเป็นภาษาไทย จีน อังกฤษ การใช้อักษรจีนเป็นส่วนประกอบของตัวบท ช่วยสื่อนัยของการปะทะสังสรรค์กันระหว่างรากเหง้าทางชาติพันธุ์กับความเป็นสมัยใหม่

 

 อ่านข่าวอื่นๆ :

"ปลาตะเพียน" ปลาพื้นเมืองคู่ครัวไทย "ขุนหลวงท้ายสระ" โปรดเสวย ในอดีตใครกินต้องโทษปรับ

One Day Trip นั่ง "รถไฟลอยน้ำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" ปี 2566

ปลุกชีพจร "อัมพวา" บนฐานนิเวศวัฒนธรรม-วิถีชีวิตชุมชน

หนาวนี้เที่ยว "ทุ่งดอกบัวตอง 2566" บนดอยแม่อูคอ จ.แม่ฮ่องสอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง