ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อากาศไม่เย็น! ปีนี้ฤดูหนาวสั้นแค่ 1 เดือน-อุณหภูมิไม่ลดฮวบ

ภัยพิบัติ
3 พ.ย. 66
12:53
21,344
Logo Thai PBS
อากาศไม่เย็น! ปีนี้ฤดูหนาวสั้นแค่ 1 เดือน-อุณหภูมิไม่ลดฮวบ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุตุนิยมวิทยา ยังไม่ประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวปี 2566 พบเกณฑ์ลมหนาวจากจีนยังไม่แรงพออุณหภูมิยังสูง 24-25 องศาฯ คาดปีนี้หนาวสั้นแค่ 1 เดือนต้องขึ้นยอดดอยสัมผัสความเย็น ชี้ปี 2526 และ 2542 หนาวไทยล่าช้าถึงกลางพ.ย.

วันนี้ (3 พ.ย.2566) นายสมควร ต้นจาน ผอ.กองตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ เรื่องการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทยว่า ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ยังไม่ได้ประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวของไทย ซึ่งปกติฤดูหนาวจะอยู่ในช่วงตั้งแต่กลางต.ค.-ก.พ.ของปีถัดไป ยกเว้นบางปีที่ประกาศล่าช้าไป 2 สัปดาห์เป็นช่วงต้นเดือนพ.ย.

ในรอบ 39 ปีเคยมีเพียง 2 ปีที่ไทยเข้าสู่ฤดูหนาวล่าช้าไปจนถึงกลางเดือน พ.ย.คือปี 2526 และปี 2542 และปีนี้กำลังจับตาว่าจะล่าช้าไปจนถึงกลางพ.ย.หรือไม่ 
ภูชี้ฟ้า จ.เชียงราย ปกคลุมไปด้วยหมอก

ภูชี้ฟ้า จ.เชียงราย ปกคลุมไปด้วยหมอก

ภูชี้ฟ้า จ.เชียงราย ปกคลุมไปด้วยหมอก

นายสมควร กล่าวอีกว่า เหตุผลที่ยังไม่สามารถประกาศฤดูหนาวของไทย เนื่องจากปัจจัยหลัก 3 ตัวที่กรมอุตุนิยมใช้เป็นเกณฑ์ประกาศ ประกอบด้วย ลม ฝน และมวลอากาศเย็น ซึ่ง 2 ปัจจัยแรกมีความชัดเจนแล้ว แต่ตัวชี้วัดสำคัญคือมวลอากาศเย็นที่ทำให้อุณหภูมิลดลง ตอนนี้ความแรงมวลอากาศเย็นยังไม่ลงมาเต็มที่ทำให้อุณหภูมิยังแตะที่ 24-25 องศาเซลเซียส ยังไม่ถึง 23 องศาเซลเซียส ซึ่งเรื่องนี้อาจไม่ใช่แค่ผลกระทบจากเอลนีโญเท่านั้น

ไม่แน่ใจว่าขั้วโลกเหนือ ไม่ผลิตลมหนาวแบบแรงมาให้ เมื่อมาเจอลมตะวันออกจากผลของเอลนีโญ จึงทำให้ลงมาแค่จีนตอนใต้อากาศหนาวจึงดันๆ กันอยู่ 

อ่านข่าว หนาวช้า! ไม่เย็น-ฤดูขยับสั้น อากาศร้อนกลางหนาว 1.5 องศาฯ

ฤดูหนาวสั้นลง-หนาวแค่บนยอดดอย

เมื่อถามว่าโอกาสที่ฤดูหนาวจะหายไปหรือไม่ นายสมควร กล่าวว่า ปีนี้มีความเป็นไปได้ว่าเราจะมีฤดูหนาวสั้นลงอย่างแน่นอน จากปกติจะมีฤดูหนาว 4 เดือนตั้งแต่กลางต.ค.-ก.พ. แต่จากการประเมินอุณหภูมิใน 4 เดือนข้างหน้ากลับพบว่าไม่มีเดือนไหนที่อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 2-3 องศาเซลเซียส

ช่วงที่อุณหภูมิจะลงคือธ.ค.-ม.ค. ภาพรวมสูงกว่าค่าปกติ ดังนั้นปีนี้อากาศจะไม่หนาวเย็นนาน สรุปว่าหนาวแค่ 1 เดือน ถ้าจะสัมผัสอากาศหนาวเย็นอาจต้องขึ้นไปบนยอดดอยเท่านั้น เพราะพื้นราบอากาศไม่น่าจะต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส 

อ่านข่าว "ภูชี้ฟ้า" 2566 เริ่มคึกคัก นทท.แห่ชมทะเลหมอก สัมผัสอากาศหนาว

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสถิติปี 2526-2565 การประกาศฤดูหนาว

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสถิติปี 2526-2565 การประกาศฤดูหนาว

กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสถิติปี 2526-2565 การประกาศฤดูหนาว

วางแผนจัดการน้ำยาก-กระทบการเพาะปลูก

ผอ.กองตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กล่าวอีกว่า หากประกาศเข้าสู่ฤดูหนาวล่าช้า จะมีผลต่อการวางแผนเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งปกติกรมชลประทานจะวางแผนฤดูแล้งเริ่ม 1 พ.ย.นี้ ถ้าไม่ประกาศตามแผนจะมีผลต่อการจัดการน้ำ และการเพาะปลูก และกระทบการผลิตข้าวและพืชผลการเกษตร

ถ้ายังมีฝน จะเกิดความชื้นสูง ทั้งเรื่องการทำนาข้าว แต่ถ้าบางวันมีฝนสลับมาก็อาจจะกระทบต่อการปลูก และการขายข้าว รวมทั้งกระทบต่อการแจ้งเตือนภัยภาคใต้ ถ้าช่วงพ.ย.จะมีลมแรงปีนี้อาจจะเป็นผลดีสำหรับภาคใต้

อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนประมาณ 21-22 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1.5 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 19.9 องศาเซลเซียส) และจะมีอากาศหนาวเย็นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 20.8 องศาเซลเซียส

กางสถิติหนาวล่าช้าในรอบ 39 ปี

ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าตั้งแต่ปี 2526-2565 ประเทศไทยมีการประกาศข้าสู่ฤดูหนาวปีปกติ (ช่วงต.ค.-ก.พ.) ในปี 2527,2528, 2534,2529,2532 ,2534 ,2538 ,2549 ,2554 เป็นต้น

ส่วนปีที่ประกาศเข้าฤดูหนาวล่าช้ามี 2 ปีคือปี 2526 และปี 2542 ประกาศวันที่ 15 พ.ย. ส่วนที่ฤดูหนาวล่าช้าแค่ 2 สัปดาห์ คือต้นเดือนพ.ย.คือปี 2551 

 

อ่านข่าว

สภาพอากาศวันนี้ ไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า-ฝนเพิ่ม ภาคใต้ตกหนักบางแห่ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง