วันนี้ (7 พ.ย.2566) ก่อนวันที่ 8 เม.ย.ของทุกปี คือ วันสุดท้ายของการยื่นภาษีประจำปี ที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนจะต้องกรอกข้อมูลรายได้ของตนเองเพื่อนำมาคำนวณการเสียภาษีให้กับประเทศชาติ
มาทำความรู้จักและเปิดความหมายของคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” หรือกล่าวง่ายๆคือ เงินเดือนหรือรายได้ทั้งปีซึ่งมี 4 ประเภท คือ
1.1. เงินเดือนประจำ (รวมทั้งปี)
1.2. เงินโบนัส
1.3. ค่าล่วงเวลาหรือ OT (ถ้ามี)
1.4. เงินพิเศษอื่น ๆ เช่น ภาษีที่นายจ้างออกให้ หรือมีที่พักฟรี
เปิดรายได้ที่ต้องจ่ายและไม่ต้องจ่ายภาษี
ไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
ตั้งแต่ 150,001-300,000 บาท เสียภาษี 5 %
ตั้งแต่ 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10 %
ตั้งแต่ 500,001-750,000 บาท เสียภาษี 15 %
ตั้งแต่ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20 %
ตั้งแต่ 1,000,001-2,000,000 บาท เสียภาษี 25 %
ตั้งแต่ 2,000,001-5,000,000 บาท เสียภาษี 30 %
ตั้งแต่ 5,000,000 บาทขึ้นไป เสียภาษี 35 %
ใครบ้างต้องยื่นภาษีประจำปี 2566 ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ Step ละ 1 ข้อ ให้ยื่นภาษี ก่อนหมดเขต 9 เม.ย. 67 นี้
สูตรคำนวณเงินได้สุทธิ
รายการที่ 1 : เงินได้มาตรา 40 (1) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% สูงสุด 100,000 บาท
รายการที่ 2 : ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
รายการที่ 3 : ยกเว้นภาษี ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก
ตัวอย่าง หากมีเงินได้ทั้งปีมากกว่า 310,000 บาทต้องเริ่มต้นวางแผนภาษี โดยผู้ที่มีเงินได้ต้องหาค่าลดหย่อนแบบมีเงื่อนไขในเบื้องต้นก่อนว่า สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีใดได้บ้าง เช่น ค่าลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม
,ค่าลดหย่อนกรณีสมรส,ค่าลดหย่อนบุตร,ค่าฝากครรภ์และทำคลอด,เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง,มีบิดามาดาที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู,มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูผู้พิการ,มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามาดา
นอกจากนี้อาจจะต้องวางแผนการออมและการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็น ซื้อประกันชีวิต,ลงทุน ในเรื่องที่อยู่อาศัย,ซื้อกองทุนเพื่อการออม SSF,ซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีกรณีพิเศษจากภาครัฐ แต่การลดหย่อนกรณีพิเศษมักมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
การลดหย่อนด้วยเงินบริจาคกรณีต่าง ๆ สามารถนำใบอนุโมทนาหรือใบเสร็จเงินบริจาคมาคำควณขอลดหย่อยภาษีได้ไม่เกิน 10%ของยอดบริจาคสำหรับส่วนสูตรในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีคำนวณภาษี
เงินได้สุทธิ (4) = เงินได้พึงประเมิน (1) – ค่าใช้จ่าย (2) – ค่าลดหย่อนและการบริจาค (3) จากนั้น ให้นำ : เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
เห็นอย่างนี้แล้ว คนไทย โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานคงต้องรีบวางแผนการคำนวณค่ารายได้และวางแผนการออมหรือลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเสียแต่เนิ่น ๆเสียแล้ว
เช็กความพร้อม ยื่นภาษีออนไลน์ปี 2566 ก่อนหมดเขต 9 เม.ย. 67
วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2566 ภ.ง.ด.90/91
ผู้มีเงินได้ สามารถยื่นแบบเสียภาษี หรือ ขอเงินคืนภาษีตามสิทธิ ผ่านช่องทางออฟไลน์ ยื่นแบบกระดาษ ภายใน 1 เม.ย. 67 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง และทางออนไลน์ ภายในเวลา 23.59 น. ของวันที่ 9 เม.ย.2567 ที่ http://rd.go.th
1. เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
2. เข้าสู่ระบบด้วยหมายเลขบัตรประชาชน และรหัสที่ได้ตั้งไว้
กรมสรรพกรเปิดให้ผู้ยื่นภาษีสามารถดึงข้อมูลรายได้และค่าลดหย่อนได้
หรือหากต้องการกรอกข้อมูลเองให้เลือก “กรอกข้อมูลด้วยตนเอง”
3. เลือกประเภทของแบบภาษีที่ยื่น พนักงานประจำให้เลือก ยื่นแบบ ภ.ง.ด90/91
4. ระบุสถานะปัจจุบันของตนเอง โสด/หม้าย/สมรส
5. เลือกระบุเงินได้ตามแหล่งที่มาของตนเอง
พนักงานประจำมีรายได้ทางเดียวให้เลือกระบุ “รายได้จากเงินเดือน” โดยใส่ข้อมูลจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ทั้งนี้หากใครมีรายได้จากทางอื่น เช่น ดอกเบี้ย, เงินปันผล, เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน หรืออื่น ๆ ตามหัวข้อ โปรดกรอกให้ครบ
6. กรอกข้อมูลรายการลดหย่อนของตนเองที่มีทั้งหมด โดยค่าลดหย่อนแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้
- ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
- ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
- ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
- ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
7. ตรวจสอบข้อมูลตามที่ระบบคำนวณภาษีให้อัตโนมัติ โดยหากมีภาษีที่ชำระไว้เกินให้เลือก “ต้องการขอคืน”
กรณีมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม และต้องการชำระผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ยื่นสามารถดูช่องทางการชำระได้ที่ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/bank แต่หากมีภาษีที่ชำระไว้เกินและต้องการขอคืน ให้ผู้ยื่นทำการสมัครพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชน ระบบจะทำการคืนภาษให้อัตโนมัติ และจะแจ้งผลการคืนภาษี ผ่าน SMS เบอร์โทรศัพท์ที่ผู้ยื่นได้ลงทะเบียนไว้ หากมีข้อสงสัยต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.1161 (RD Intelligence Center)
ที่มา:กรมสรรพากร
อ่านข่าวอื่น:
สาวแชร์เทคนิค "ปลดหนี้ผ่อนบ้าน" หมดไวทำได้จริง
ทิ้งชีวิตเดอะแบก "ดอกเบี้ยบาน" เข้าทางลัด "ผ่อนบ้าน" หมดเร็ว