ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กระแสไทยฟู้ด "Soft Power" ดัน Thai Select รุกตลาดจีน

เศรษฐกิจ
8 พ.ย. 66
12:36
1,584
Logo Thai PBS
กระแสไทยฟู้ด "Soft Power" ดัน Thai Select รุกตลาดจีน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หนึ่งในนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล "เศรษฐา" คือ การผลักดัน ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) กลุ่มอาหาร ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญและต้องการสอดแทรกอัตลักษณ์ความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากขึ้น

Thai Select เปิดโลกอาหารไทยในต่างแดน

Thai Select คือ ตราสัญลักษณ์ที่กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้มอบให้กับร้านอาหารที่ผ่านคุณสมบัติและเงื่อนไขได้รับ "สัญลักษณ์" ที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของไทย

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอาหารไทย ถือเป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ที่รัฐบาลจะผลักดันตามนโยบาย ในแต่ละปีหนึ่งไทยส่งออกอาหารมูลค่า 28,001 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตลาดหลัก คือ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ มีสินค้าที่ได้รับความนิยม เช่น ผลไม้ ,ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์, น้ำตาล และขนมจากน้ำตาล ปัจจุบันมีร้านอาหารไทยที่ได้รับตรา Thai Select จำนวน 1,620 แห่ง จาก 51 ประเทศทั่วโลก

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

สำหรับที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน พบมีร้านอาหารไทยได้รับตรา Thai Select เฉพาะที่เมืองเซี่ยงไฮ้ จำนวน 11 ร้าน จากร้านอาหารไทยที่มีอยู่จำนวน 20-30 ร้าน โดยเงื่อนไขของร้านอาหารที่จะได้รับ Thai Select จะต้องใช้วัตถุดิบที่มาจากเมืองไทยร้อยละ 60

Thai Select จะช่วยให้ร้านอาหารไทยสามารถแข่งขันได้ เพราะอาหารไทยไม่ได้แค่รสชาติอร่อย แต่ต้องคงความเป็นไทยแท้ และเราไม่ต้องการให้ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ มีรสชาติที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม

"ต้มยำกุ้ง"เมนูยอดฮิตแดนมังกร

นายภูสิต กล่าวว่า อาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากชาวเซี่ยงไฮ้ คือ เมนูต้มยำกุ้ง ดังนั้นถ้ารัฐบาลต้องการจส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power)เกี่ยวกับอาหารไทย ต้องสอดแทรกลงไปในแพลตฟอร์มหรือซีรีส์ของจีน เช่นเดียวกับที่ประเทศเกาหลีใต้สอดแทรกความเป็นวัฒนธรรมลงไปในละครหรือซีรีส์ต่างๆ

ต้มยำกุ้ง

ต้มยำกุ้ง

ต้มยำกุ้ง

ตลาดซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของคนจีนจะรับรู้เรื่องราวของอาหารไทยผ่านกลุ่มคนวัยหนุ่มสาวจากละครไทย และกลุ่มแฟนคลับ ซึ่งรัฐบาลสามารถสอดแทรกไปกับศิลปินได้ แต่ต้องไม่ให้เหมือนจงใจเกินไปจนกลายเป็นการยัดเยียดให้กับผู้ชม

อาหารไทยในเซี่ยงไฮ้ ติด 1 ใน 5 ที่คนจีนนิยมรับประทาน ถ้าพูดถึงอาหารอาเซียนผู้บริโภคจะนึกถึงอาหารไทยเป็นส่วนใหญ่

นายณรงค์เวทย์ จักราพานิชกุล เจ้าของร้านโอเลี้ยง บางกอก บิสโทร (OLIANG BANGKOK BISTRO) ในเซี่ยงไฮ้ กล่าวว่า เปิดให้บริการมาตั้งแต่ ต.ค.2565 บนถนน HENG SHAN ซึ่งเป็นย่านใจกลาง เป็นแหล่งร้านอาหารและผับบาร์อีกย่านหนึ่งของเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างนักธุรกิจไทย-จีน บนแนวคิดทำอาหารไทยแนวสมัยใหม่แต่คงรสชาติดั้งเดิมของอาหารไทยไว้ เพื่อเปิดมุมมองและประสบการณ์ใหม่ ให้ลูกค้าชาวจีนเข้าใจและเข้าถึงรสชาติของอาหารไทยที่มีความหลากหลาย

เครื่องหมายThai Select

เครื่องหมายThai Select

เครื่องหมายThai Select

ขณะที่ "เชฟเมย์ พัณณิตา กิจจิว เชฟใหญ่ของร้าน จบการศึกษาด้านอาหารจากวิทยาลัยดุสิตธานี สาขา Culinary Art and Restaaurant Management และเชฟแจ้ อนุพงษ์ มีทอง กล่าวตรงกันว่า ชอบการทำอาหารอยู่แล้ว ต่อมามีโอกาสมาเรียนที่จีน ทำให้มองเห็นลู่ทางการทำงาน จึงตั้งใจรังสรรค์อาหารทุกเมนูอย่างพิถีพิถัน และคงเอกลักษณ์รสชาติอาหารไทยแท้ เลือกใช้วัตถุดิบและเครื่องปรุงที่มีคุณภาพตามฤดูกาล เพื่อให้อาหารมีความสด สะอาด ปลอดภัยกับผู้บริโภค

นายณรงค์เวทย์ กล่าวอีกว่า กลุ่มลูกค้าของร้านคือผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง และชื่นชอบในอาหารไทย มีกำลังในการจ่าย เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 12,000 บาท/คน/มื้อ แต่สิ่งที่ลูกค้าได้รับ คือ ความเป็นอาหารไทยแท้เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้จะนำเข้าจากประเทศไทย

นายณรงค์เวทย์ จักราพานิชกุล เจ้าของร้านโอเลี้ยง บางกอก บิสโทร (OLIANG BANGKOK BISTRO) ในเซี่ยงไฮ้

นายณรงค์เวทย์ จักราพานิชกุล เจ้าของร้านโอเลี้ยง บางกอก บิสโทร (OLIANG BANGKOK BISTRO) ในเซี่ยงไฮ้

นายณรงค์เวทย์ จักราพานิชกุล เจ้าของร้านโอเลี้ยง บางกอก บิสโทร (OLIANG BANGKOK BISTRO) ในเซี่ยงไฮ้

อยากให้รัฐบาลช่วยสนับสนุน คือ การสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคชาวจีน และนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับร้านอาหารไทยมากขึ้นเพราะอาหารไทยถือว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power)รัฐบาลผลักดัน

อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามผู้บริโภคชาวจีน พบว่า ส่วนใหญ่ชอบอาหารไทยมาก โดยทราบจากการรีวิวอาหารไทยผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ และจากการที่มาเที่ยวไทยทำให้ได้รับรู้ว่ารสชาติอาหารไทยที่แท้จริงเป็นอย่างไร และอยากให้ร้านอาหารไทยในจีนคงความเป็นไทยต่อไป

 อ่านข่าวอื่นๆ:

"เศรษฐา" โรดโชว์ "แลนด์บริดจ์" เวที APEC สหรัฐฯ 11-17 พ.ย.นี้

เงินเยนอ่อนค่ารอบ 26 ปี แนะซื้อสะสมระยะสั้น

โลกคนกลางคืนคึก "ห่วงเมาขับ" ตีปีกปิดผับถึงตี 4

ข่าวที่เกี่ยวข้อง