วันนี้ (16 พ.ย.2566) ผศ.สพ.ญ.ทักษอร ดวงอุไร อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในฐานะหัวหน้าหน่วยสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ รพ.สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่า อิกัวนาจัดเป็นสัตว์ในตระกูลสัตว์เลื้อยคลาน เช่นเดียวกับ เต่า งู กิ้งก่า
บ้านเรามีการเลี้ยงอิกัวนามากว่า 10-20 ปี แล้ว เมื่อโตเป็นวัย อิกัวนาจะมีความยาว 1 เมตร ซึ่งโรคติดต่อในสัตวฺกลุ่มนี้ไม่ได้แตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น มีทั้ง พยาธิ โปรโตซัว และแบคทีเรีย ซาลโมเนลลา รวมถึงเชื้อรา
โดยปกติสัตว์เหล่านี้มักเป็นพาหะ คือ ในร่างกายมีเชื้อเหล่านี้ในตัวอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่แสดงออก จนกว่าเมื่อคนเลี้ยงไม่ดี หรือภูมิในร่างกายของสัตว์ตกลง จึงจะแสดงอาการป่วย กลุ่มเสี่ยงของการได้รับเชื้อโรคจากสัตว์เหล่านี้ หนีไม่พ้นคนเลี้ยง เพราะต้องสัมผัสใกล้ชิด กับอุจจาระและสารคัดหลั่งของสัตว์
ผศ.สพ.ญ.ทักษอร กล่าวว่า คนเลี้ยงต้องทำความสะอาดมือและซอกเล็บ รวมถึงสิ่งแวดล้อมให้ดี เพื่อไม่ให้ได้รับเชื้อ ส่วนที่อิกัวนาหลุดออกมาในสิ่งแวดล้อม ไม่ได้กังวลว่าคนทั่วไปจะรับเชื้อ หากไม่ได้สัมผัสกับสารคัดหลั่ง แต่สิ่งที่น่าห่วงกังวล คือเรื่องของสภาพแวดล้อม ที่อาจเปลี่ยนไปเพราะสัตว์เหล่านี้ ทั้งพืช รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น
เพราะเมื่อกระทบผู้ล่า และผู้ถูกล่าเปลี่ยนไป หากเป็นสัตว์ที่ถูกเพาะเลี้ยงในฟาร์ม เชื้อแบคทีเรียหรือปรสิตในตัวสัตว์ย่อมมีน้อยกว่าสัตว์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมปกติ
แต่ทั้งนี้คนที่คลุกคลีสัตว์ต้องล้างมือทำความสะอาดให้ดี และใช้นย้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อความสะอาด ในต่างประเทศมีรายงาน คนที่ได้รับผลกระทบหรือป่วยและเสียชีวิต จากการติดเชื้อ ซาลโมเนลลา คือ เด็กเล็ก ,ผู้สูงอายุ 60-65 ปี ,คนภูมิต่ำ ,คนที่ให้เคมีบำบัด ซึ่งการติดเชื้อซาลโมเนลลา จะทำให้มีอาการไข้ ท้องเสียอย่างรุนแรง