ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ไอติม" นัดหารือแนวทางเลือกตั้ง "สสร." หวังตอบโจทย์ความหลากหลาย

การเมือง
17 พ.ย. 66
13:26
373
Logo Thai PBS
"ไอติม" นัดหารือแนวทางเลือกตั้ง "สสร." หวังตอบโจทย์ความหลากหลาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อนุ กมธ.ศึกษาระบบเลือกตั้ง สสร. นัดถกแนวทางเลือกเพื่อตอบโจทย์ ได้บุคคลหลากหลายทุกกลุ่มอาชีพ มั่นใจทำได้หากจัดการเลือกตั้งให้ดี

วันนี้ (17 พ.ย.66) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการจัดทำข้อเสนอระบบการเลือกตั้งและแนวทางการทำงานของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยก่อนการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ว่า

อ่านข่าว "ภูมิธรรม" รวมทีมประชามติแก้ รธน.ได้กว่า 20 คน ย้ำต้องมี สสร. 

วัตถุประสงค์ของคณะอนุกรรมาธิการฯ คือ ศึกษาจัดทำข้อเสนอว่าหากมี สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด จะสามารถออกแบบการเลือกตั้งได้อย่างไร เรื่องของการได้มาจะใช้ทางเลือกใด ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน สามารถเปิดพื้นที่ให้มีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ บุคคลที่มาจากหลากหลายสาขาวิชาชีพการได้มา ตลอดจนภาคประชาสังคม

อ่านข่าว จับตาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ความขัดแย้งรอบใหม่ปะทุ 

โจทย์นี้เริ่มต้นจากการอภิปรายของ สส.บางคนที่แสดงความกังวลว่าหาก สสร.มาจากการเลือกตั้งทั้ง 100% จะไม่มีสัดส่วนให้ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม คณะกรรมาธิการฯ จึงตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ ขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง แต่สามารถทำควบคู่กันไปได้ โดยคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จกลางเดือน ธ.ค.นี้

 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ

อ่านข่าว รอลุ้น! 35 รายชื่อศึกษาประชามติแก้รัฐธรรมนูญพรุ่งนี้ 

ก่อนจะยื่นให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ.2560 ซึ่งจะทำให้คลายความกังวลว่า สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจะได้ตัวแทนที่หลากหลาย หากออกแบบการเลือกตั้งให้ดี ๆ สามารถตอบโจทย์ได้

อ่านข่าว ไขคำตอบ! พรรคก้าวไกล ประกาศแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ มีจำนวน 10 คน ประกอบด้วย ตัวแทนภาคการเมือง ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล นักวิชาการ และภาคประชาสังคม ซึ่งข้อเสนอเบื้องต้นได้มีการเริ่มมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันแล้วและอยู่ระหว่างนำข้อเสนอไปรับฟังความคิดเห็น โดยวันนี้ได้เชิญตัวแทนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันพระปกเกล้า เข้าร่วมหารือ

อ่านข่าว 

สว.จองกฐิน! "เงินดิจิทัล-แก้รัฐธรรมนูญ" แถลงนโยบายเศรษฐา 1  

"ชูศักดิ์" คาดใช้เวลา 3 ปีทำประชามติ ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่  

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง