ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ดีเดย์ "คอบร้าโกลด์ 2024" เน้นฝึกรับมือสงคราม "ไซเบอร์ -อวกาศ"

สังคม
14 ม.ค. 67
18:49
2,338
Logo Thai PBS
ดีเดย์ "คอบร้าโกลด์ 2024" เน้นฝึกรับมือสงคราม "ไซเบอร์ -อวกาศ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ดีเดย์ "คอบร้า โกดล์ 2024" เตรียมยกพลขึ้นบก ฝึกร่วม "ไทย-สหรัฐฯ" 27 ก.พ.นี้ เน้นการฝึกรับมือสงครามไซเบอร์ และอวกาศ เพื่อประโยชน์ของประชาชนภูมิภาค พร้อมส่งวัฒนธรรมไทย ซอฟต์พาวเวอร์การต่อสู้ด้วย "มวยไทย" ให้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึก

วันนี้ (14 ม.ค.2567) คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย หรือ JUSMAG พร้อมด้วยนายคริสโตเฟอร์ เฮลม์แคมป์ โฆษกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย พ.ท.อลัน โอลิเวอร์ เจ้าหน้าที่นโนบายและแผน JUSMAG ไทยกองทัพบกสหรัฐฯ และ น.ส.แชนน่า คัมมิ่งส์ เลขานุการเอกหัวหน้าหน่วยกิจการทางการเมือง-การทหารฯ

เข้าพบ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมฝ่ายการเมือง เพื่อหารือเตรียมความพร้อม ในการสื่อสารทำความเข้าใจให้กับประชาชนในการจัดฝึกประจำปีของกองทัพ ไทย - สหรัฐฯ หรือ "คอบร้า โกลด์ 2024" ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 27 ก.พ.2567 ในพื้นที่ กองทัพเรือจังหวัดชลบุรี และระยอง รวมถึงจังหวัดอื่น ๆ ตามที่ กองทัพกำหนด

ทั้งนี้การฝึกคอบร้าโกลด์ปี 2024 จะมีการฝึกเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการบรรเทาสาธารณภัย เตรียมรับมือหากเกิดภัยธรรมชาติในภูมิภาค และจะเน้นการฝึกต่อต้านภัยคุกคามด้านสงครามไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาทั่วโลก ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของแต่ละประเทศ

รวมถึงการฝึกด้านอวกาศ เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบจากปรากฏการณ์ทางอวกาศ ที่มีผลต่อการปฏิบัติการทางทหารในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระทรวงกลาโหมมีกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ และศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศของกองทัพอากาศ ในการฝึกร่วมครั้งนี้

โฆษกกระทรวงกลาโหม ย้ำว่า นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ได้ให้แนวทางในการฝึก นอกจากฝึกทางด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว ในส่วนของไทยจะผลักดัน การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม หรือ ซอฟต์พาวเวอร์แทรกเข้าไปในการฝึก เช่น ยุทธวิธีการต่อสู้ด้วยมวยไทย และอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการฝึกยุคใหม่ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการฝึก คอบร้าโกลด์ 2024 ด้วย

สำหรับการฝึกคอบร้าโกลด์ปีนี้จะมีกำลังทหารเข้าร่วมการฝึกใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา หรือ ประมาณ 6,500 นาย จาก 30 ประเทศเข้าร่วมฝึก และสังเกตการณ์ ซึ่งหลังจากสถานการณ์โควิดในช่วงที่ผ่านมา เป็นเหตุทำให้การฝึกร่วมผสม "ไทย-สหรัฐฯ" ต้องลดขนาดลงเหลือกำลังทางทหารจาก 30 ประเทศเพียงกว่า 3,000 นายเท่านั้น

การฝึกร่วมผสม "ไทย-สหรัฐฯ" เป็นหนึ่งในการฝึกทางทหารพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุด และดำเนินการมาอย่างยาวนานที่สุดในโลก ซึ่งการฝึกครั้งนี้เป็นครั้งที่ 43 แล้ว

อ่านข่าวอื่น ๆ

ผู้เสียหายร้องถูกหลอกขายรถหรู ติดอายัดคดีเลี่ยงภาษี

คิกออฟ "ตลาดนัดแก้หนี้" ทั่วประเทศ ลูกหนี้-เจ้าหนี้ ร่วมไกล่เกลี่ย

จับนายหน้าค้ามนุษย์ ลวงคนไทยร่วมแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง