วันนี้ (17 ม.ค.2567) กรมควบคุมโรค ตรวจสอบและหารือร่วมกับสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประเมินเหตุการณ์ พร้อมชี้แจงอาการไม่พึงประสงค์ จากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (AEFI) เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ว่า ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนโควิดแล้วมากกว่า 13,000 ล้านโดส ข้อมูลวิชาการยืนยันว่า วัคซีนดังกล่าว สามารถป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้
อ่านข่าว : เสียงสะท้อน “เกษตรกร” เจอกระทิงบุกไร่ ปรับตัวอยู่ร่วมลดขัดแย้ง
อ่านข่าว : "ศุภชัย ใจเด็ด" ติดทีมยอดเยี่ยม เอเชียน คัพ แมตช์เดย์ 1
ประเทศไทยเริ่มนำวัคซีนโควิด-19 มาฉีดให้กับประชาชน ตั้งแต่ปลายเดือนก.พ.2564 ภายใต้คำแนะนำของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ผ่านการขึ้นทะเบียน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และมีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำเนินการตรวจรับรองรุ่นการผลิต (lot release) ตลอดจนมีระบบติดตาม และระบบการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภายหลังได้รับวัคซีน ตามหลักมาตรฐานการดำเนินงาน ด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
ตลอด 2 ปีของการรับวัคซีนโควิด เกิดอาการไม่พึงประสงค์ 5.09 คน/แสนประชากร
แถลงการณ์ระบุว่า หลังจากได้รับวัคซีนโควิด ตั้งแต่ต้นปี 2564 มีระบบการเฝ้าระวัง ดำเนินการโดยคณะผู้เชี่ยวชาญระดับชาติ จากหลายสาขาที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณารายงานเกี่ยวกับผลกระทบจากวัคซีน ตลอดจนผลตรวจด้านการแพทย์
เมื่อกองระบาดวิทยาได้รับรายงาน มีผู้ป่วยที่มีอาการร้ายแรงหรือเสียชีวิตภายหลังได้รับวัคซีน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจะดำเนินการสอบสวนโรค และนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาสาเหตุ และความเกี่ยวข้องกับการได้รับวัคซีน
อ่านข่าว : เช็ก 3 ช่องทาง เปลี่ยนโรงพยาบาล "ประกันสังคม 2567"
มีผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่าง ๆ หลายสาขา ที่เกี่ยวข้อง เช่น กุมารแพทย์ อายุรแพทย์สาขาโรคติดเชื้อ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและสมอง โลหิตวิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา นิติเวช ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน ร่วมพิจารณาด้วย
ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 147 ล้านโดส คาดประมาณว่า ในช่วง 2 ปีแรกของสถานการณ์การระบาด วัคซีนสามารถป้องกันการป่วยรุนแรง และเสียชีวิตจากโควิดได้หลายแสนราย ซึ่งในภาพรวมเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ที่เกิดภายหลังได้รับวัคซีนโควิด มีอุบัติการณ์ต่ำ เช่นเดียวกับวัคซีนชนิดอื่นๆ
โดยในระหว่างวันที่ 1 มี.ค.2564-31 ธ.ค.2566 มีรายงานอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์กรณีร้ายแรง 5.09 รายต่อแสนโดส และเมื่อพิจารณารายที่เสียชีวิต 1,797 ราย
ข้อมูลกรมควบคุมโรค
ระบุได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิดแค่ 5 คน
คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วพบว่า ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด มีเพียง 5 ราย ที่มีความเกี่ยวข้องกับวัคซีน ได้แก่ การเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ 2 ราย อาการแพ้รุนแรง 2 ราย และ Stevens-Johnson Syndrome 1 ราย ซึ่งคิดเป็นอุบัติการณ์เสียชีวิตที่ต่ำกว่าหนึ่งในล้านโดส
พร้อมติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในระยะยาว คือการเฝ้าระวังอุบัติการณ์โรคหรือภาวะทางสุขภาพ ในประเด็นที่สำคัญตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จนถึงขณะนี้ยังไม่พบหลักฐาน ที่สามารถยืนยันได้ชัดเจนว่ามีความเกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด
ทั่วโลกยืนยันรับวัคซีนลดภาวะลองโควิด
ส่วนภาวะลองโควิด (Long COVID) จากการศึกษา ในหลายประเทศที่ยืนยันว่า วัคซีนโควิดได้ปกป้องสุขภาพและชีวิตของผู้คนที่รับวัคซีนไว้เป็นจำนวนหลายล้านคน และการฉีดวัคซีนโควิดยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะลองโควิด (Long COVID) ภายหลังจากการติดเชื้อ โดยการศึกษาในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ พบว่าวัคซีนโควิด 19 สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดลองโควิดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ได้ 40-80 % เทียบกับการไม่ได้รับวัคซีน (2, 3)
อ่านข่าวอื่นๆ :
เมืองพริบพรี สู่ "เขาพนมขวด" แลนด์มาร์คฮีลใจ รพ.พระจอมเกล้า