วันนี้ (29 ม.ค.2567) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน ระบุ "ฤกษ์งามยามดี เดือน มกราคม 2567 พบ "นกกระเรียนพันธุ์ไทย" รวมฝูงหากินตามชายทุ่งข้างอ่างเก็บน้ำสนามบิน โดยส่วนมากจะพบเป็นคู่ มีพบ 5 คู่ที่ทำรังวางไข่ในเขต อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังพบนกกระเรียน อีกจำนวน 5 ตัว รวมฝูงหากินในพื้นที่อีกด้วย
ภาพจาก : เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน
ภาพจาก : เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน
สำหรับเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน อยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ตามทางไปประโคนชัย 41 กิโลเมตร มีสำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ อยู่ด้านซ้ายมือริมถนน เป็นจุดที่เหมาะแก่การดูนกน้ำ โดยเฉพาะในช่วงเดือน พฤศจิกายน - เมษายน จากรายงานนกที่พบได้แก่ เป็ดหงส์ เป็ดเทา นกช้อนหอย เป็นต้น
ภาพจาก : เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน
ภาพจาก : เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน
สำหรับนกกระเรียนพันธุ์ไทยเป็น 1 ในสัตว์ป่าสงวน 19 ชนิดของไทย เป็นนกขนาดใหญ่ คอยาว หัวและคอเป็นหนังเปลือยสีแดงสด กระหม่อมเป็นแผ่นกระดูกแข็งสีเทา ขนลำตัวสีเทา ขายาวสีแดงสด พบตามท้อง
นาและพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ ของประเทศไทย ในอดีตไม่พบรายงานในธรรมชาติของประเทศไทยแล้ว
ภาพจาก : เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน
ภาพจาก : เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน
อ่านข่าว : เปิดภาพ “นกกระเรียนพันธุ์ไทย” คืนทุ่งประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
กรมอุทยานแห่งชาติฯ ระบุว่า ที่ผ่านมา ด้วยความร่วมมือระหว่าง องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เพาะพันธุ์นกกระเรียนพันธุ์ไทยในกรงเลี้ยง ทำการศึกษาแหล่งที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และได้ดำเนินการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติครั้งแรกที่ จ.บุรีรัมย์ ในปี พ.ศ.2554
จากความร่วมมือข้างต้นทำให้นกกระเรียนพันธุ์ไทยสามารถกระจายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจรเข้มาก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน จ.บุรีรัมย์ และพื้นที่โดยรอบ
ทั้ง 3 พื้นที่ถือเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของนกหลายชนิด และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีความสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติ นันทนาการ และการท่องเที่ยว รวมทั้งมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชน
อ่านข่าวอื่น ๆ
"สิงโต" ไม่ใช่สัตว์ป่าที่ทุกคนจะเลี้ยงได้
สำรวจสัตว์ทะเลหายาก พบ "วาฬบรูดา - โลมา" ชุกชุม สุขภาพดี
"เสือดาว" 2 ตัวเดินชิลกลางป่าทางขึ้นพะเนินทุ่ง