ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หมอ-รร.แพทย์ ร้อง "ชลน่าน" สางปม สปสช. ค้างจ่าย ทำขาดสภาพคล่อง

สังคม
7 ก.พ. 67
19:31
1,534
Logo Thai PBS
หมอ-รร.แพทย์ ร้อง "ชลน่าน" สางปม สปสช. ค้างจ่าย ทำขาดสภาพคล่อง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เครือข่ายโรงพยาบาล-รร.แพทย์ ยื่นหนังสือรมว.สธฯ 14 ก.พ. ช่วยสางปัญหา สปสช.ค้างจ่าย รพ. -คลินิกในกทม. หลังเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องด้านคลินิกใน กทม.ใส่ชุดดำ-ขึ้นป้ายประท้วงเงียบ

วันนี้ (7 ก.พ. 2567 ) นพ.พินัย ล้วนเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ และสาธารณสุข กองทุนหลักประกันสุขภาพ กทม. กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาการขาดสภาพคล่องจากการบริการของ สปสช. ในพื้นที่ กทม.เริ่มชัดเจน หลังมีการเปลี่ยนแปลงจากการจ่ายเงินแบบรายหัว เป็นรายการการให้บริการ ในปี 2564 ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 มีการตั้งวงเงิน 2,685 ล้านบาท จากเงินประชากรบัตรทอง 2.52 ล้านคน จ่ายให้หน่วยปฐมภูมิ 365 แห่ง

แต่กลับพบว่ามียอดเรียกเก็บจากการบริการรับส่อต่อ OP refer ถึง 1,900 ล้านบาท และยังต้องจ่ายให้หน่วยปฐมภูมิ 1,345 ล้านบาท ทำให้ขาดเงินและงบประมาณไม่เพียงพอถึง 560 ล้านบาท ที่ผ่านมา ทาง สปสช.มีจ่ายเงินให้กับคลินิก ในการให้บริการผู้ป่วยนอก 70% เท่านั้น

ด้าน นางศรินทร สนธิศิริกฤตย์ เจ้าของคลินิกเวชกรรมอารีรักษ์ คลองเตย กล่าวว่า เคยเข้าร่วมทำ รพ.สนามคลองเตยเมื่อช่วงสถานการณ์โควิด-19 ต่อมาจึงมีแนวคิดเปิดคลินิก เมื่อ 1 ก.พ.2566 เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นแออัดในพื้นที่คลองเตย เพื่อให้บริการผู้ที่ขาดโอกาสทางสุขภาพอย่างเท่าเทียม โดยผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นคนในสิทธิหลักประกันสุขภาพ และสิทธิ์บริการอื่นเพียง 5%

โดยเม็ดเงินที่หมุนเวียนในคลินิกมาจาก สปสช.เป็นหลัก แต่เมื่อเริ่มเปิดคลินิกพบว่า มีปัญหาคือ ไม่สามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจาก สปสช. ได้เต็มจำนวน มีการจ่ายเพียง 70% ของยอดเรียกเก็บ และ สปสช.แจ้งว่าจะพิจารณาจัดสรรเงินให้กับคลินิกแบบเต็มจำนวน หลังเดือน ก.ย.2566

นางศรินทร กล่าวว่า ที่ผ่านมา คลินิกต้องแบกภาระขาดทุนเดือนละ 200,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายจริงที่คลินิกอยู่ที่เดือนละ 500,000-700,000 บาท เป็นค่าตอบแทนแพทย์ - พยาบาล - นักวิชาการสาธารณสุข 450,000 บาท ที่เหลือเป็นค่ายา และเวชภัณฑ์ รวมทั้งปัญหาการส่งต่อคนไข้ไปโรงพยาบาลขนาดใหญ่ด้วย 

นอกจากนี้ยังมีปัญหาการให้ผู้ป่วยนอกไปรับยาที่จุดบริหารไหนก็ได้ หรือ OPD ANYWHERE ทำให้ตั้งแต่เปิดคลินิกมาขาดทุนไปแล้ว 10 ล้านบาท จึงอยากให้ สปสช.มาพูดคุยและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

คลินิกใน กทม.หารือร่วมกันว่า จะตัดสินใจขึ้นป้ายดำ ใส่ชุดดำเพื่อแสดงการร้องทุกข์และสะท้อนให้เห็นปัญหาของคลินิก ที่ผ่านมา สปสช. นิ่งเฉยกับปัญหาที่เกิดขึ้น ทำได้เพียงแค่โปรยยาหอมให้ใจเย็น และให้เป็นกรรมการแก้ไขปัญหา และเสนอไปยังบอร์ด แต่ทุกอย่างก็ถูกตัดทิ้ง ไม่ได้รับตอบสนอง

รศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผอ.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ขณะนี้ รพ.ยังคงให้บริการประชาชนตามปกติ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เมื่อกลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา โรงพยาบาลกำลังเผชิญปัญหาขาดสภาพคล่อง ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาการเบิกจ่ายของ สปสช. 90 ล้านบาท คาดว่า ยอดสะสมปัจจุบันน่าจะถึง 100 ล้านบาท และหากไม่รีบแก้ไขเกรงว่า โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างสะดวก

ที่ผ่านมาทางตัวแทน เครือข่ายโรงพยาบาล กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์ ประเทศไทย (UHOSNET) ได้ทำหนังสือถึง รมว. สธ. ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. และในวันที่ 14 ก.พ.นี้ ทางตัวแทนจะไปยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรี และแถลงข่าวที่กระทรวงสาธารณสุข

หากไม่เร่งแก้ไข มีผลในระยะยาวแน่นอน และโรงพยาบาลคงไม่สามารถยืนต่อไปได้ ต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล คนเป็นหมอ พูดเรื่องเงินทองก็ลำบากใจ ให้พูดกับคนไข้ก็ลำบาก ต้องให้รัฐมนตรีสาธารณสุข ช่วยแก้ไข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เครือข่าย รพ.โรงเรียนแพทย์โอด สปสช.ค้างจ่ายค่ารักษากว่าพันล้าน

เช็กหน่วยบริการ 4 จว. 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตร ปชช.ใบเดียว สปสช.ยันเบิกจ่ายใน 3 วัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง