ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รอยเลื่อนแม่ทาขยับ! แผ่นดินไหว 2.7 กลางเมืองเชียงใหม่

ภัยพิบัติ
12 ก.พ. 67
10:54
1,267
Logo Thai PBS
รอยเลื่อนแม่ทาขยับ! แผ่นดินไหว 2.7 กลางเมืองเชียงใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้ว่าฯเชียงใหม่ ลงพื้นที่สำรวจวัดเกตการาม จ.เชียงใหม่ อายุ 500 ปี หลังแผ่นดินไหว 2.7 กลางเมือง ไม่พบความเสียหาย กรมทรัพยากรธรณี ระบุเกิดจากรอยเลื่อนแม่ทาขยับ เร่งศึกษารอยเลื่อนซ่อนตัว (Hidden Fault)

วันนี้ (12 ก.พ.2567) นายสมศักดิ์ วัฒนปฤดา ผอ.กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า กรณีเกิดแผ่นดินไหวขนาด 2.7 จ.เชียงใหม่ โดยเกิดขึ้นเวลา 13.56 น.ของวานนี้ (11 ก.พ.) โดยพบว่าระดับความลึก 5 กม. บริเวณ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของกลุ่มรอยเลื่อนแม่ทา ซึ่งเป็น 1 ใน 16 กลุ่มรอยเลื่อนมีพลังของไทย แต่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ ต.สุเทพ ต.ฟ้าฮ่าม ต.หนองหอย อ.เมือง และ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ 

ถือเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก เกิดที่ระดับความตื่นจากพื้นที่ดินเพียง 5 กม.และกลางเมืองเชียงใหม่ จึงถือว่าน่าตกใจ แต่สำหรับนักธรณีการขยับตัวระดับ 2-2.5 ขึ้นไปแสดงถึงการปลดปล่อยพลังงานและลดการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในอนาคต 
นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิ์ถาวร ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ พร้อมด้วยนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ลงพื้นที่บริเวณวัดเกตการาม

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิ์ถาวร ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ พร้อมด้วยนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ลงพื้นที่บริเวณวัดเกตการาม

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิ์ถาวร ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ พร้อมด้วยนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ลงพื้นที่บริเวณวัดเกตการาม

สำหรับรอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่าน อ.แม่ทา จ.ลำพูน และ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก ความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร รอยเลื่อนนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางถึงมาก เมื่อปี 2549 จุดศูนย์กลางอยู่ที่ อ.แม่ริม มีขนาด 5.1 และมีแผ่นดินไหวตามมา (Aftershock) อีก 55 ครั้ง ซึ่งขณะนั้นประชาชนรู้สึกได้ ถึงแรงสั่นสะเทือนเป็นวงกว้าง 

ผอ.กองธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า  ขณะนี้กรมทรัพยากรธรณีเริ่มศึกษารอยเลื่อนซ่อนตัว (Hidden Fault) ซึ่งแตกแขนงมาจากกลุ่มรอยเลื่อนหลักที่มีพลังอยู่เพิ่มเติมในหลายพื้นที่ เป็นการทำงานคู่ขนานกับทางกรมอุตุนิยมวิทยาโดยจะติดตั้งเครื่องมือวัดพฤติกรรมรอยเลื่อนที่มีขนาดต่ำกว่าระดับ 3 ลงไป เช่น บริเวณรอยเลื่อนแม่ทา โดยจะติดตั้งเครื่องมืออีก 30 ชุดเพื่อทำวิจัยและประเมินความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อน

ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2566 เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.5 พื้นที่ ต.ไผ่ล้อม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก และพบว่าเป็นแผ่นดินไหวจาก Hidden fault  ซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นดิน

อ่านข่าว จับตา "รอยเลื่อนย่อยแม่ทา" กลางเมืองเชียงใหม่ ต้นเหตุแผ่นดินไหว 4.1

พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี วัดเกตการาม อ.เมืองเชียงใหม่

พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี วัดเกตการาม อ.เมืองเชียงใหม่

พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี วัดเกตการาม อ.เมืองเชียงใหม่

ไม่พบความเสียหายแผ่นดินไหวกลางเมือง

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิ์ถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายอัศนี บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ได้ลงพื้นที่บริเวณวัดเกตการาม อ.เมืองเชียงใหม่ เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่กว่า 500 ปี พบว่าโบสถ์ วิหาร องค์พระธาตุ ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างในวัดดังกล่าว ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด

ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ สั่งการให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด สำรวจความเสียหาย และให้นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอใกล้เคียง แจ้งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ อปท. ในพื้นที่ สำรวจความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับบ้านเรือนประชาชน วัด โรงเรียน โบราณสถาน และอาคารต่างๆ 

ตรวจสอบข้อมูลพื้นที่บริเวณอ.เมืองเชียงใหม่ และอ.ใกล้เคียง มีผู้ที่รู้สึก ถึงความสั่นสะเทือน อยู่ในระดับไม่รู้สึก ถึงรู้สึกบ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยังไม่ได้รับรายงานถึงความเสียหายแต่อย่างใด

อ่านข่าว

จับตา! คาดรอยเลื่อนใหม่ Hidden Fault เขย่าพิษณุโลก 4.5

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง