กรณีรถบรรทุกสารเคมีพลิกคว่ำที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ทำให้สารเคมีกว่า 30 ตันรั่วไหลลงแม่น้ำโขง จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าสารเคมีที่รั่วไหลคือ กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน
วันนี้ (7 เม.ย.2567) นายชัยพจน์ จรูญพงศ์ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า อุบัติเหตุรถบรรทุกสารเคมีพลิกคว่ำที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว เมื่อ 5 วันก่อน สร้างความกังวลใจให้กับชาวบ้านโดยเฉพาะ อ.เชียงคาน ที่จะเป็นจุดรับน้ำจากประเทศลาวจุดแรก และคาดว่าน้ำจะมาถึงอำเภอเชียงคานในวันที่ 8 เม.ย.นี้
จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ด้านสาธาณสุข และเจ้าหน้าที่ประมง เก็บตัวอย่างน้ำบริเวณแก่งคุดคู้ ไปตรวจคุณภาพความเป็นกรดด่างทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 5 -12 เม.ย.นี้ ซึ่งผลการตรวจคุณภาพน้ำ ที่ผ่านมาเป็นปกติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า ขณะนี้คุณภาพแม่น้ำโขงในอ.เชียงคานอยู่ในเกณฑ์ปกติ สัตว์น้ำและคนสามารถใช้น้ำได้โดยปลอดภัย เนื่องจากกรดซัลฟิวริก 1 ลิตร ต่อน้ำ 100,000 ลิตรจะเจือจางไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและคน
เฝ้าระวังปลากระชังที่เลี้ยงในแม่น้ำโขง หลังกรดฟิวริก 30 ตันรั่วลงแม่น้ำจากรถพลิกคว่ำ
แม้ขณะนี้สถานการณ์น้ำยังเป็นปกติแต่เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว ได้ประสานไปยังสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อให้ผลแม่นยำและสร้างความมั่นใจ
ขณะนี้ยังไม่พบรายงานความผิดปกติ แต่ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวังหากพบความผิดปกติโดยเฉพาะกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชัง หากพบปลาลอยตายหรือขาดออกซิเจนให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
ขณะที่วันนี้ บริเวณแก่งคุดคู้ ยังมีนักท่องเที่ยวยังพาครอบครัวมาเล่นน้ำคลายร้อน ส่วนใหญ่บอกว่าไม่กังวลว่าน้ำโขงบริเวณแก่งคุดคู้ จะมีสารเคมีปนเปื้อน เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างน้ำโขงไปตรวจสอบคุณภาพทุกวัน คือช่วงเช้าและช่วงเย็น และจากการติดตามข่าวก็พบว่าน้ำโขงที่ไหลผ่านอ.เชียงคาน ยังปกติและยังไม่พบสารเคมีปนเปื้อนแต่อย่างใด
วิถีชาวบ้านริมโขง ในพืนที่อ.เชียงคาน จ.เลย
รู้จักกรดซัลฟิวริก พิษร้ายแรง
สำหรับรดซัลฟิวริก จากข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบุว่า กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน ลักษณะทั่วไปจะเป็นของเหลวใสคล้ายนน้ำมัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด จัดเป็นกรดแร่อย่างแรง ละลายในน้ำได้ดี กรดซัลฟิวริก เป็นเคมีภัณฑ์พื้นฐานญที่มีการนำาไปใช้ในอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ เช่น ใช้ในการผลิตปุ๋ยเคมีภัณฑ์ปิโตรเลียม การผลิตแร่ การสังเคราะห์สารเคมี และใช้ในการบำบัดน้ำเสีย
ขณะที่จากการตรวจสอบข้อมูลเติมจากฐานข้อมูลของ กรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า กรดซัลฟิวริก มีฤทธิ์กัดกร่อนวัตถุเกือบทุกชนิด ทำใหเกิดการระคายเคืองต่ออวัยวะสัมผัส มีพิษเฉียบพลันโดยการสูดดมโดยอาชีพที่ต้องสัมผัสกับไอหรือละออง ทำให้กรดซัลฟิวริก ถูกจัดเป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
รถบรรทุกพลิกคว่ำที่ประเทศลาว กรดซัลฟิวริก 30 ตันปนเปื้อนแม่น้ำโขง
โดยข้อมูลยังบ่งชี้ว่า ซัลฟิวริก ที่มีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง สารละลายและกรดซัลฟิวริก ทำใหเกิดดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ตา และเยื่อบุได้อย่างรุนแรง
ถ้าได้รับทางปาก เยื่อบุทางเดินอาหารตั้งแต่ปาก คอหอย หลอดอาหาร ผู้ป่วยจะปวดอย่างรุนแรง และไม่สามารถกลืนอาหารได้ เซลล์เยื่อบุของอวัยวะที่สัมผัสกับกรดซัลฟิวริกจะตาย
โดยแผลที่โดนซัลฟิวริก และเปลี่ยนเป็นสีขาว-เทา แล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีดำ เซลล์ที่ตายจะมีขนาดเล็กลงซึ่งมักเรียกบริเวณที่มีเซลล์ตายว่า “coagulation necrosis” ถ้ากรดมีความเข้มข้นสูง อาจทำให้ผนังของระบบทางเดนอาหารเป็นแผลเป็น
พิษร้ายแรงหากสัมผัส-สูดดมถึงตาย
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ที่บอกว่า ความเป็นพิษต่อร่างกายของกรดซัลฟิวริกมีดังนี้ หากผิวหนังสัมผัสโดยตรง ทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง ผิวหนังไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเกิดแผลพุพอง
ดวงตา การสัมผัสโดยตรงกับของเหลว ไอ หรือหมอกควันของกรดซัลฟิวริก จะทำให้ดวงตาระคายเคือง พร่ามัว ตาแดง น้ำตาไหล กระจกตาเสียหาย และกรอกตาไปมาไม่ได้ ถ้าหากโดนดวงตามากๆ อาจทำให้เกิดการไหม้อย่างสาหัส จนถึงตาบอดได้
การสูดดม เอาไอหรือหมอกควันของกรดซัลฟิวริกซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนสูงจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อที่เป็นเมือก เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรงของโพรงจมูก ลำคอ และระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการน้ำท่วมปอด หายใจติดขัด ถี่รัว และอาจทำให้เสียชีวิตได้
การกินเข้าไป จะทำให้เกิดการไหม้ของลำคอ หลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน การไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว หายใจติดขัด ปัสสาวะน้อย เกิดอาการช็อกและเสียชีวิตได้
จากการที่กรดซัลฟิวริกถูกนำไปใช้ในหลายๆ อุตสาหกรรม จึงต้องมีการควบคุมคุณภาพของกรดให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
อ่านข่าวอื่นๆ
รวบ "ร.ท." ต้องสงสัยฆ่าปาดคอ "แม่ค้าออนไลน์" คาคอนโด
กทม.เปิด 10 สเปกทางเท้าไฉไลกว่าเดิม "เดินได้จริง" น้ำไม่ดีด