ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชาวบ้าน "พระธาตุผาแดง" หวั่นผลกระทบ "แคดเมียม" ถ้าขนกลับ จ.ตาก

สิ่งแวดล้อม
22 เม.ย. 67
11:23
557
Logo Thai PBS
ชาวบ้าน "พระธาตุผาแดง" หวั่นผลกระทบ "แคดเมียม" ถ้าขนกลับ จ.ตาก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชาวบ้านใน ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นหนึ่งกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากสารแคดเมียมปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม แม้พวกเขาจะได้รับการเยียวยา จากบริษัทเอกชน แต่ปัจจุบันยังคงได้รับผลกระทบต่อร่างกาย และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

อาการปวดเข่าและหลังอย่างรุนแรง คือ หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่นางมะโอส่วย ชาญวนา ผู้ได้รับผลกระทบจากสารแคดเมียม

ชาวบ้านพะเด๊ะ ต.พระธาตุผาแดง อ.แม่สอด จ.ตาก ได้รับหลังการตกค้างของสารแคดเมียม ในดิน และพืชผลทางการเกษตร ทำให้เธอป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน และไม่สามารถทำงานหนักได้

มะโอส่วย ชาญวนา 
ผู้ได้รับผลกระทบจากสารแคดเมียม ต.พระธาตุผาแดง จ.ตาก

มะโอส่วย ชาญวนา ผู้ได้รับผลกระทบจากสารแคดเมียม ต.พระธาตุผาแดง จ.ตาก

สำหรับชาวบ้านพะเด๊ะ ได้รับผลกระทบจากการประกอบการเหมืองแร่สังกะสีในพื้นที่ เมื่อประมาณปี 2545 ก่อนที่ศาลฎีกาแผนกสิ่งแวดล้อม จะมีคำพิพากษาในปี 2562 ให้บริษัทเอกชน จ่ายชดเชยค่าเสียหายแก่ชาวบ้านที่เจ็บป่วยจากสารแคดเมียม 20 คน เป็นเงินตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท

ชาวบ้านบอกว่า ที่ผ่านมาภาครัฐไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา แม้ช่วงแรกมีการระดมทุกหน่วยงานมาตรวจสอบ แต่ 3-4 ปีที่ผ่านมาไม่มีหน่วยงานเข้ามาเหลียวแล ปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้เขามองปัญหาการลักลอบขุดกากแคดเมียมออกนอกพื้นที่ ที่ต.หนองบัวใต้ อ.เมืองตาก ว่า สะท้อนการทำงานที่บกพร่องของหน่วยงานภาครัฐ และ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบสุขภาพของชาวบ้านรอบพื้นที่ และดำเนินการทำ EIA ใหม่อีกครั้ง

ส่วนการเตรียมเคลื่อนย้ายกากแร่สังกะสีและกากแร่แคดเมี่ยม จาก จ.สมุทรสาคร กรุงเทพฯ และชลบุรี กลับมาฝังกลบในพื้นที่เก็บกักกากแร่เดิมใน ต.หนองบัวใต้ วันที่ 7 พ.ค.นี้

ล่าสุด แม้คณะทำงานจะสั่งให้ปรับปรุงบ่อกักเก็บกากแคดเมียม ด้วยการฉาบพื้นผิวบ่อใหม่ทั้งหมดในเวลาไม่เกิน 2 เดือน ส่วนกากตะกอนแคดเมียมที่ขนย้ายมาจะนำไปเก็บไว้ในโรงเก็บแร่ที่จะปรับปรุงและปูวัสดุรองพื้น เพื่อป้องกันการรั่วซึม

แต่ชาวตำบลหนองบัวใต้ก็ยังคงกังวล เพราะกากแร่ที่ฝังอยู่ในพื้นที่ มากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้พวกเขาไม่กล้าใช้แหล่งน้ำ อุปโภคและบริโภค จึงเตรียมจับตาการจัดการของคณะทำงาน ก่อนที่จะกำหนดแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไป

เกษม แซ่กือ ผู้สื่อข่าวอาวุโสไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง