วันที่ 30 เม.ย.2567 นายรุ่งโรจน์ อัศวกุลธารินท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 พร้อมด้วยนายจิระเดช บุญมาก ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า น.ส.พิมพ์ชนก สรงมงคล นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ น.ส.อังสนา มองทรัพย์ หัวหน้าสถานีเพาะลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ จ.อุทัยธานี ร่วมกับหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ กำแพงแสน ดำเนินการปล่อยแร้งหิมาลัย จำนวน 4 ตัว ได้แก่
KU995 แร้งดำหิมาลัย ชื่อมังกรกัญญ์ (น้องช้าง), KU997 แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย ชื่อขนมถ้วย, KU998 แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย, KU1000 แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย บริเวณฝายน้ำล้นภายในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ
ภาพ : กรมอุทยานฯ
หนึ่งใน 4 ตัวนี้ มีแร้งดำหิมาลัยที่เคยพบมีอาการอ่อนแรงกางปีกบินไม่ได้ในพื้นที่ จ.กำแพงพชร โดยนายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้รักษาเบื้องต้นเพื่อฟื้นฟูร่างกาย พร้อมตั้งชื่อไว้เบื้องต้นว่า น้องช้าง ก่อนส่งต่อไปพักฟื้นร่างกายให้สมบูรณ์ที่หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ โดยมีรหัสเรียกขานว่า KU995 ชื่อมังกรกัญญ์
ภาพ : กรมอุทยานฯ
ก่อนดำเนินการปล่อยแร้งหิมาลัยทั้ง 4 ตัว คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์ ติดตั้งอุปกรณ์ติดตามด้วยสัญญาณดาวเทียม ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ส่งพิกัดดาวเทียม (tag#0931 น้ำหนักเบา ไม่เกิน 4-5% ของน้ำหนักตัว) เพื่อติดตามศึกษาพฤติกรรมหลังการปล่อยคืนธรรมชาติ บนเส้นทางอพยพของแร้งหิมาลัย สายเหนือ/ตะวันตก/ใต้ พร้อมติดห่วงขาสีเหลือง (เพศผู้) และสีเขียว (เพศเมีย)
ภาพ : กรมอุทยานฯ
อ่านข่าว
ชัดแล้ว! "แร้งดำหิมาลัย" นกหายากใกล้สูญพันธุ์ ตกที่กำแพงเพชร
อัปเดต "แร้งดำหิมาลัย" ไม่บาดเจ็บแต่อ่อนแรง เร่งสร้างกล้ามเนื้อ
"แร้งดำหิมาลัย" กำแพงเพชรได้รหัส KU995 อีก 2-3 เดือนปล่อย