สภาพัฒน์ฯ หั่น GDP ไทยเหลือ 2-3 % หลัง Q1 ขยายตัวแค่ 1.5 %

เศรษฐกิจ
20 พ.ค. 67
12:59
2,203
Logo Thai PBS
สภาพัฒน์ฯ หั่น GDP ไทยเหลือ 2-3 % หลัง Q1 ขยายตัวแค่ 1.5 %
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สภาพัฒน์ฯประเมิน เศรษฐกิจไทยเสี่ยงรอบด้าน หนี้ครัวเรื่อน-น้ำท่วม-ค่าขนส่ง ดัน Q 1 จีดีพีขยายตัว 1.5 % ปรับลดจีดีพีทั้งปี เหลือ 2.5 % จากเดิม 2.7 % เหตุปัจจัยภายนอก “สงครามการค้า-ขัดแย้งระหว่างประเทศ”

วันนี้ (20 พ.ค.2567) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 2567 ขยายตัวที่ 1.5% ต่อปี มาจากการบริโภคภายในประเทศที่ยังขยายตัวได้สูง และท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูงเช่นกัน

ส่วนการลงทุนภาครัฐยังหดตัวจากที่งบประมาณปี 2567 ยังไม่ประกาศใช้ ด้านการส่งออกที่ติดลบ 2% เนื่องจากเดือน มี.ค.ส่งออกหดตัวถึง 10%

สศช.ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยทั้งปีในปี 2567 จาก 2.2-3.2 % เป็นคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 2-3 % จากปัจจัยเรื่องสงครามการค้า และปัจจัยเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงขึ้น

สำหรับเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 ขยายตัวมาจากแรงส่งของภาคของการบริโภคและการบริการเป็นหลัก โดยเฉพาะการบริโภคเอกชนที่ขยายตัวได้ 6.9% ขณะที่ภาคการส่งออกขยายตัวได้ 2.5 % ส่วนการลงทุนรวมของประเทศในภาคเอกชนขยายตัวได้ 4.6 %

เศรษฐกิจไทยยังมีการถูกกดดันจากการลงทุนของภาครัฐที่การลงทุนรวมยังลดลง 27.7 % ซึ่งมาจากการล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ

อย่างไรก็ตาม สศช.คาดว่าจะมีการปรับตัวของภาคการส่งออกดีขึ้นโดยคาดว่าการส่งออกจะบวกได้ 2 % ในปีนี้ ควบคู่กับการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อการผลักดันการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทยให้เพิ่มขึ้น

ขณะที่การลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัวได้ 1.9 % โดนเป็นการลงทุนของเอกชน 3.2 % ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 3.5 % และการลงทุนภาครัฐยังคาดว่าจะลดลง 1.8 %

เศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องของการมีหนี้ครัวเรือนที่สูง ความเสี่ยงเรื่องของปัญหาอุทกภัย รวมทั้งการขนส่งสินค้าทางเรือที่ต้องเผชิญกับการขนส่งที่ยากลำบาก ซึ่งทำให้ค่าระวางเรือแพงขึ้น

ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังปรับลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ตามที่หลายประเทศยังคงดอกเบี้ยระดับสูง ประกอบกับการมีมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้ามาทุ่มตลาดในไทย ซึ่งเหมือนกับในปี 2562 ที่มีปัญหาเรื่องของการกีดกันทางการค้าที่ทำให้มีสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดไทย

นายดนุชา กล่าวอีกว่า เพื่อให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีฟื้นตัวยังมีประเด็นที่ต้องเร่งรัดไม่ว่าจะเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่ต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายรวมถึงการดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอให้กับภาคเอสเอ็มอี และการแก้ปัญหาลูกหนี้เรื้อรัง ซึ่งถือว่าเป็นหนี้ครัวเรือนเป็นระเบิดเวลาให้กับเศรษฐกิจไทยรวมถึงรองรับและเฝ้าระวังความผันผวนจากเศรษฐกิจโลก ที่มีการทุ่มตลาดและการกีดกันทางการค้า ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงมากขึ้นเป็นต้น

อ่านข่าว: ราคาทองคำ เช้านี้ ดีดแรง 350 บาท นักลงทุนหวั่นสงครามปะทุแรง

จับทุเรียนเวียดนาม กว่า 10 ตัน ลักลอบสวมสิทธิทุเรียนไทย

“ลาบูบู้” ตุ๊กตาเด็กเล่น สมอ.ย้ำต้องมีมอก.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง