ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"เขื่อนพูงอย" ผลกระทบข้ามแดน : ตอบโจทย์ความมั่นคงทางพลังงาน หรือหายนะ “คนลุ่มน้ำโขง”

สิ่งแวดล้อม
24 พ.ค. 67
09:26
1,261
Logo Thai PBS
"เขื่อนพูงอย" ผลกระทบข้ามแดน : ตอบโจทย์ความมั่นคงทางพลังงาน หรือหายนะ “คนลุ่มน้ำโขง”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เรือหาปลาที่จอดเรียงรายบริเวณท่าน้ำบ้านเวินบึก ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี กว่า 30 ลำ แม้จะเป็นช่วงฤดูกาลจับปลา แต่มีชาวบ้านไม่กี่คนที่พายเรือออกไปดูตาข่ายจับปลาที่วางไว้กลางแม่น้ำโขงด้วยความหวังว่าจะได้ปลามาขายหรือบริโภคในครอบครัว

ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ขึ้นลงผิดปกติ ทำให้ปลาที่เคยจับได้วันละหลายกิโลกรัมลดลง บางวันแทบจะไม่ได้ปลากลับบ้าน ทำให้หลายคนต้องหยุดนำเรือออกไปหาปลาและเลือกใช้วิธีวางตาข่ายดักจับปลากลางแม่น้ำโขงแทน

เรือหาปลาของชาวบ้านริมแม่น้ำมูล ซึ่งจะได้รับผลกระทบหากมีการสร้างเขื่อนพูงอย

เรือหาปลาของชาวบ้านริมแม่น้ำมูล ซึ่งจะได้รับผลกระทบหากมีการสร้างเขื่อนพูงอย

เรือหาปลาของชาวบ้านริมแม่น้ำมูล ซึ่งจะได้รับผลกระทบหากมีการสร้างเขื่อนพูงอย

เกียรติกมล พรานเม่น ชาวบ้านเวินบึก บอกว่า เขาสืบทอดอาชีพหาปลามาจากบรรพบุรุษ คนในชุมชนทุกคนหาปลาเพื่อหาเลี้ยงชีพ เพราะไม่มีที่ดินทำกิน แต่หลังมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ทั้งในประเทศจีนและลาว ทำให้การหาปลาทำได้ยาก และปลาลดลงอย่างมาก

ขณะที่ข่าวการสร้างเขื่อนพูงอย ซึ่งเป็นเขื่อนแห่งใหม่ ที่จะสร้างในแม่น้ำโขง ทางตอนใต้ของ เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศลาว ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านเวินบึกเพียง 60 กิโลเมตร ทำให้ชาวบ้านยิ่งกังวลว่า อาชีพทำประมงในแม่น้ำโขงจะถึงวันล่มสลาย เพราะจุดที่จะมีการสร้างเขื่อนแห่งใหม่ เป็นปากแม่น้ำที่ปลาจากเวียดนามและกัมพูชาจะอพยพขึ้นมาที่แม่น้ำโขง

ตอนนี้กังวลมาก เพราะหากมีการสร้างเขื่อนแห่งใหม่ จะมีการกักเก็บน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และจะทำให้ระดับน้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น จากที่พูดคุยกับชาวบ้านลาวบอกว่า ระดับน้ำโขงจะสูงขึ้นจากเดิม 4 เมตร แบบนี้กระทบแน่นอนปลาที่เคยหาปลาได้น้อยอยู่แล้ว ก็คงจะหาไม่ได้เลย

หมู่บ้านเวินบึก บ้านห้วยหมากใต้ บ้านห้วยไผ่ บ้านห้วยสะคาม และบ้านด่านใหม่ 5 หมู่บ้าน ติดแม่น้ำโขงฝั่งไทย ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำโขงที่สูงขึ้น หากมีการสร้างเขื่อนพูงอย ทำให้ชาวบ้านยิ่งกังวลว่า เขื่อนแห่งใหม่จะซ้ำเติมวิถีชีวิต และอาชีพประมงของพวกเขา หลังจากที่เคยได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูลมาแล้วเมื่อ 30 ปีก่อน

บริเวณปากมูล ซึ่งแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง ที่ อ.โขงเขียม จ.อุบลราชธานี

บริเวณปากมูล ซึ่งแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง ที่ อ.โขงเขียม จ.อุบลราชธานี

บริเวณปากมูล ซึ่งแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง ที่ อ.โขงเขียม จ.อุบลราชธานี

เปิดรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม "เขื่อนพูงอย"

โครงก่อสร้างเขื่อนพูงอย เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ สันเขื่อนยาว 3 กิโลเมตร กำลังผลิต 728 เมกกะวัตร มีขนาดใหญ่กว่าเขื่อนปากมูล 5 เท่า เป็นโครงการร่วมลงทุนและดำเนินการโดยบริษัท เจริญเอ็นเนอร์ยี่ แอนด์ วอเทอร์เอเชีย จำกัด (ประเทศไทย) และบริษัทเกาหลีใต้ 2 แห่ง เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้ประเทศไทย

โดยประเทศลาวเสนอโครงการให้คณะกรรมาธิการลุ่มน้ำโขง หรือ MRC นำเข้าสู่กระบวนการหารือล่วงหน้า (PNPCA) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2565 พร้อมส่งรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน หรือ Transboundary Environmental Impact Assessment ให้ประเทศสมาชิกพิจารณา

ซึ่งตามรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ที่ผู้พัฒนาโครงการทำขึ้น มีการตั้งข้อสังเกต จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ติดตามและพยายามเปิดเผยข้อมูลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทย โดยเฉพาะ จ.อุบลราชธานี ที่มีหมู่บ้านริมน้ำโขง 5 แห่งอยู่ห่างจากพื้นที่ก่อสร้างไม่ถึง 60 กิโลเมตร ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ

เขื่อนปากมูล ซึ่งถูกคัดค้านมาตลอดตั้งแต่เริ่มก่อสร้างปี 2535 ถึงที่สุดก็ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำมูล และระบบนิเวศ อย่างมหาศาล โดยแก้ไขไม่ได้ และไม่มีผู้รับผิดชอบ

เขื่อนปากมูล ซึ่งถูกคัดค้านมาตลอดตั้งแต่เริ่มก่อสร้างปี 2535 ถึงที่สุดก็ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำมูล และระบบนิเวศ อย่างมหาศาล โดยแก้ไขไม่ได้ และไม่มีผู้รับผิดชอบ

เขื่อนปากมูล ซึ่งถูกคัดค้านมาตลอดตั้งแต่เริ่มก่อสร้างปี 2535 ถึงที่สุดก็ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำมูล และระบบนิเวศ อย่างมหาศาล โดยแก้ไขไม่ได้ และไม่มีผู้รับผิดชอบ

อัตถพงษ์ ฉันทานุมัติ วิศวกรพยานผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเขื่อนพูงอย มีประเด็นที่น่ากังวลในเรื่องของผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทย

เนื่องจากตามรายงานผลกระทบข้ามพรมแดน ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเขื่อนพูงอยว่า สร้างที่แขวงจำปาสัก ประเทศลาวเขื่อนจะเดินเครื่องที่ระดับความสูงของระดับน้ำที่ 98 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ความจุอ่างเก็บน้ำ 1 ,207,000,000 ลูกบาศกเมตร ความยาวอ่างตามลำน้ำ 80 กิโลเมตร

 

ภาพจำลองเขื่อนพูงอย ที่จะก่อสร้างกั้นแม่น้ำโขง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำมูล

ภาพจำลองเขื่อนพูงอย ที่จะก่อสร้างกั้นแม่น้ำโขง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำมูล

ภาพจำลองเขื่อนพูงอย ที่จะก่อสร้างกั้นแม่น้ำโขง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อแม่น้ำมูล

การศึกษาทางชลศาสตร์มีการออกแบบเขื่อนที่ระดับปฏิบัติการ 98 เมตร ของเขื่อนพูงอย จะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจากจุดก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้น 4 เมตร เป็นระยะทาง 80 กิโลเมตร นั่นหมายความว่า ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำมูลที่บรรจบกับแม่น้ำโขง หรือที่เรียกว่าแม่น้ำสองสี ระดับน้ำก็จะเพิ่มสูงด้วยเช่นกัน

“จากการศึกษาการกักเก็บน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนพูงอย จะทำให้น้ำเท้อเข้าไปในลำน้ำมูล และจะทำให้แก่งตะนะ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ใน อ.โขงเจียม จมอยู่ใต้น้ำตลอดทั้งปี รวมถึงระดับน้ำหน้าเขื่อนปากมูลก็จะเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำโดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลาก เสี่ยงเกิดอุทกภัยในจังหวัดอุบลราชธานีที่จะรุนแรงและยาวนานขึ้น นี้จึงถือเป็นประเด็นผลกระทบข้ามพรมแดนจากการสร้างเขื่อนพูงอย”

บริเวณปากมูล ซึ่งแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง ที่ อ.โขงเขียม จ.อุบลราชธานี

บริเวณปากมูล ซึ่งแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง ที่ อ.โขงเขียม จ.อุบลราชธานี

บริเวณปากมูล ซึ่งแม่น้ำมูลไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง ที่ อ.โขงเขียม จ.อุบลราชธานี

หวั่น “เขื่อนพูงอย” ซ้ำรอย “เขื่อนปากมูล”

สมปอง เวียงจันทร์ ประธานชีวิตชุมชนลุ่มน้ำมูล สมัชชาคนจน ที่ต่อสู้เรียกร้องสิทธิจากการได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนปากมูล เมื่อ 32 ปีก่อน บอกว่า ชาวบ้านลุ่มน้ำมูลติดตามข่าวการก่อสร้างเขื่อนพูงอยมาอย่างต่อเนื่อง และมีความกังวล หากมีการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง

เพราะจะยิ่งซ้ำเติมวิถีชีวิตของชาวประมงในลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำมูล ที่พี่น้องสมัชชาคนจนเคยได้รับบทเรียนจากการก่อสร้างเขื่อนปากมูล ที่ส่งผลให้อาชีพประมงของชาวบ้านต้องล่มสลาย ซึ่งปัจจุบันรัฐก็ยังจ่ายเงินชดเชยเยียวยา ยังไม่แล้วเสร็จ จึงอยากให้รัฐเห็นความสำคัญของวิถีชีวิตของชาวบ้านลุ่มน้ำที่ต้องพึ่งพาสายน้ำโข งและน้ำมูลในการดำรงชีวิต โดยมองว่าการสร้างเขื่อนถือเป็นหายนะของคนลุ่มน้ำ

สมปอง เวียงจันทร์ ประธานชีวิตชุมชนลุ่มน้ำมูล สมัชชาคนจน

สมปอง เวียงจันทร์ ประธานชีวิตชุมชนลุ่มน้ำมูล สมัชชาคนจน

สมปอง เวียงจันทร์ ประธานชีวิตชุมชนลุ่มน้ำมูล สมัชชาคนจน

“เราอยากเห็นรัฐ ให้ความสำคัญ เพราะรัฐถือเป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานระหว่างประเทศ รัฐต้องให้ความสำคัญ เรื่องความเดือดร้อนของประชาชน ในประเทศของตัวเอง เราก็เป็นคนไทยที่ใช้สายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำโขง แม่น้ำมูลและทะเลสาบเขมร พวกนี้เป็นแม่น้ำสาธารณะ ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ถ้าหากเราไปกั้นที่ใดที่หนึ่ง ก็เป็นการกั้นเส้นทางของปลา ซึ่งรัฐก็ต้องเห็นถึงความเดือดร้อนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนในประเทศของตัวเอง”

เช่นเดียวกับเครือข่ายประชาชนจับตาน้ำท่วมอุบลฯ-เขื่อนแม่น้ำโขง ที่ออกมาเคลื่อนไหวและต้องการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เปิดเผยข้อมูลผลกระทบข้ามพรมแดน ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะ จ.อุบลราชธานี ที่เป็นจุดรวมน้ำมูลและชีก่อนจะระบายลงแม่น้ำโขง และเป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัยในช่วงฤดูน้ำหลาก

ซึ่งมีบทเรียนน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ.2562 และ พ.ศ.2565 ซึ่งขณะนี้เครือข่ายอยู่ระหว่างการสร้างกระบวนการรับรู้ พร้อมเรียกร้องให้มีการลงชื่อ เพื่อคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนพูงอย ให้ครบ 5 หมื่นรายชื่อ

เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย พิจารณาข้อมูลผลกระทบอย่างรอบด้านก่อนจะนำโครงการก่อสร้างเขื่อนพูงอย เข้าสู่กระบวนการหารือล่วงหน้า ซึ่งเป็นกระบวนการปรึกษาหารือ ระหว่างประเทศสมาชิกในลุ่มน้ำโขง เพราะหากเข้าสู่กระบวนการหารือล่วงหน้า (PNPCA) ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 6 เดือน ก็จะสามารถเดินหน้าดำเนินโครงการได้

รายงาน : พจนีย์ ใสกระจ่าง ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคอีสาน

อ่านข่าว : ชาวบ้านกังวล “เขื่อนพูงอย” ทำน้ำมูลเท้อ-แก่งตะนะจม-เมืองอุบลฯ ท่วม

วันแรก! ปิดเมืองจับลิงลพบุรีได้ 30 ตัว เปิดอาวุธคู่กายปราบจ๋อ

คนเข้าชม "Golden Boy" คึกคัก ชาวบุรีรัมย์เล็งทำรูปหล่อจำลอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง