- 8 เรื่องควรรู้ ก่อนร่วมขบวน “Bangkok Pride Festival 2024” ครั้งที่ 3 ของไทย
- "DRAG" ผู้สร้างศิลปะผ่านโชว์แห่งความภาคภูมิใจของ LGBTQIA+
เริ่มเตรียมความพร้อมแล้วสำหรับงาน "บางกอก ไพรด์ 2024" ซึ่งขบวนพาเหรดของปีนี้ มาในธีม "Celebration of Love เฉลิมฉลองสมรสเท่าเทียม" ซึ่งจะมีขบวนพาเหรดทั้งหมด 5 ขบวนประกอบด้วย
- ขบวนที่ 1 สมรสเท่าเทียม
- ขบวนที่ 2 ตัวตน เพศกำหนดเอง
- ขบวนที่ 3 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- ขบวนที่ 4 สันติภาพ
- ขบวนที่ 5 เสรีภาพ
ชมถ่ายทอดสด BANGKOK PRIDE FESTIVAL 2024
ซึ่งขบวนพาเหรด จะเริ่มปล่อยในเวลา 15.00 น. เริ่มจากสนามกีฬาแห่งชาติศุภชลาศัย ไปจบที่บริเวณลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ขณะที่อีกหนึ่งสาระสำคัญของงานบางกอกไพรด์ในปีนี้ คือเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ของไทย มีกำหนดประชุมพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในวาระ 2-3 ในวันที่ 18 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายก่อนที่จะประกาศใช้กฎหมาย ซึ่งคาดว่าภายในปลายปีนี้
ต้อนรับเทศกาล Pride Month สภาการพยาบาล ประกาศให้พยาบาลแต่งกายตามเพศสภาพได้แล้ว เพื่อเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษย์ชน เริ่มเห็นทั้งความก้าวหน้า กฎหมายสมรสเท่าเทียม คาดมีผลบังคับใช้สิ้นปีนี้
อ่านข่าว : ร่วมโบกธงสีรุ้ง "Bangkok Pride 2024" เช็กกำหนดการ - พาเหรด
ความหวังสมรสเท่าเทียม
ส.ต.อ.พิสิษฐ์ หรือ คิว อาชีพตำรวจ และ ชนาธิป หรือ เจน อาชีพพนักงานบริษัท ทั้งคู่เปลี่ยนมาใช้นามสกุลเดียวกันแล้ว เพื่อตอกย้ำว่าคือ "คู่ชีวิต" และทั้งคู่ยังเป็น 1 ในคู่รักเพศหลากหลาย ที่กำลังวางแผนแจกการ์ดแต่งงาน และจะจัดพิธีสมรสทันที หลังจาก พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมมีผลบังคับใช้ หากเป็นไปได้อยากจะขอเป็นคู่แรกในประเทศไทย
สำหรับทั้งคู่คบหาดูใจกันมา 6 ปี จดแจ้งคู่ชีวิตมาแล้ว 3 ครั้ง ความฝันต่อไปของทั้งคู่ คือ การจดทะเบียนสมรส-แต่งงาน เหมือนหญิง-ชาย เพื่อสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย พวกเขาบอกกับไทยพีบีเอสว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็น
อ่านข่าว : "Pride Month 2567" อัปเดต "สมรสเท่าเทียม" กฎหมายถึงขั้นไหน
สว.คาด พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้สิ้นปีนี้
สำหรับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาสมาชิกวุฒิสภา จะแล้วเสร็จในกลางเดือนมิถุนายน ตรงกับเทศกาลเฉลิมฉลองความเท่าเทียม คาดว่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้ได้เฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ เป็นของขวัญให้กลุ่มเพศหลากหลาย
ขณะเดียวกันนาย ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.พรรคก้าวไกล ในฐานะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ เตรียมที่จะยื่นร่างกฎหมาย "คำนำหน้า" อีกครั้งในเดือนกรกฎาคมนี้ หลังจากถูกตกปัดตกไป
เชื่อว่าเมื่อกลุ่มเพศหลากหลายสามารถกำหนดเพศตัวเองได้ ก็ควรจะมีคำนำหน้าตามเพศที่กำหนดเอง นั่นหมายความว่าหากเปลี่ยนคำนำหน้าไม่ได้ สิทธิมนุษย์ชน ก็ยังไม่เกิดขึ้น 100% ในสังคมไทย
สภาการพยาบาลไฟเขียว"แต่งชุดพยาบาล"ตามเพศสภาพ
ตามประกาศสภาการพยาบาล เรื่องการแต่งกายของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2562 ลงวันที่ 23 ก.ค.2562 เพื่อให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ขณะปฏิบัติงานกับผู้ป่วยโดยตรง ให้สอดคล้องกับลักษณะของวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เกิดความชัดเจน จึงออกประกาศการแต่งกาย ของบุคลากรด้านการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ที่ไม่ตรงตามเพศกำเนิด สามารถเลือกชุดปฏิบัติงานได้ตามเพศสภาพ
อ่านข่าวเพิ่ม : ตร.จัดกำลัง 100 นาย ดูแลงาน Bangkok Pride 2024