อะไรทำได้? ผู้สมัครสว.-ประชาชน-สื่อวันเลือก สว.67

การเมือง
8 มิ.ย. 67
16:59
1,766
Logo Thai PBS
อะไรทำได้? ผู้สมัครสว.-ประชาชน-สื่อวันเลือก สว.67
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

นับถอยหลังการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับอำเภอ ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (9 มิ.ย.) มีกติกา-ข้อห้ามทั้งของตัวผู้สมัครสว. กองเชียร์ รวมทั้งกติกาในคูหาเลือกสว.

อ่านข่าว เปิดระเบียบการแนะนำตัว สว. 2567 มีเงื่อนไข อะไรทำได้ - ห้ามทำ

อะไรทำได้? ผู้สมัครสว.-ประชาชน-สื่อ 

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประชาสัมพันธ์ให้ผู้สมัครรับเลือกเป็น สว. ในการห้ามนำเครื่องมือสื่อสารเข้าไปในสถานที่เลือก สว.ในระหว่างการดำเนินการเลือกในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ 

ตามมาตรา 38 แห่งพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 ได้กำหนดไว้ว่าห้ามไม่ให้ผู้สมัครผู้ใดนำเข้าไป หรือใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่อาจใช้เพื่อติดต่อสื่อสาร หรือเพื่อบันทึกภาพหรือเสียง หรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนดในสถานที่เลือก

รวมทั้งบริเวณโดยรอบสถานที่เลือกตามที่ผู้อำนวยการการเลือกระดับประเทศ ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัด หรือผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอ แล้วแต่กรณี กำหนด ทั้งนี้ ไม่ใช้บังคับแก่ผู้สมัคร ซึ่งเป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ และมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ในการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกหรือการลงคะแนน

โดยได้รับอนุญาตจากกรรมการ ผู้อำนวยการการเลือกระดับประเทศ ผู้อำนวยการการเลือกระดับจังหวัด หรือผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอ แล้วแต่กรณี โดยให้คำนึงถึงการอำนวยความสะดวกในการเลือกให้แก่ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือก ซึ่งเป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ หรือผู้ประสบปัญหาในการใช้สิทธิเลือกหากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประชาชนสื่อมวลชน ร่วมสังเกตการณ์การลงคะแนนเลือก สว.ทุกระดับ ได้อย่างไร 

  • สังเกตการณ์การเลือก สว. ระดับต่าง ๆ บริเวณจุดที่ผู้อำนวยการการเลือกกำหนดไว้ด้านหน้า ของสถานที่เลือก
  • สังเกตการณ์การลงคะแนนผ่านโทรทัศน์วงจรปิดที่เชื่อมสัญญาณจากระบบการบันทึกภาพ และเสียงกระบวนการเลือก ณ บริเวณที่ผู้อำนวยการการเลือกได้จัดเตรียมไว้

อ่านข่าว เช็กความพร้อมโค้งสุดท้ายเลือก สว.ระดับอำเภอ 9 มิ.ย.

ติดตามข้อมูลข่าวสารการเลือก สว.

  • เว็บไชต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง www.ect.go.th  
  • แอปพลิเคชัน “Smart Vote”
  • Facebook Fanpage “สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง”
  • Youtube “ECT Thailand”
  • Tiktok “ect.thailand” 

ทั้งนี้สามารถแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการสมัครหรือการเลือก สว.ได้ที่แอปพลิเคชัน “ตาสับปะรด” ช่องทางติดต่อ “สายด่วน กกต. 1444 และสายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567”

ลงคะแนน "เลือกสว." อย่าเผลอทำบัตรเสีย

นอกจากนี้สำนักงาน กกต.เผยแพร่การวินิจฉัยบัตรเลือก สว. ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2567 ดังนี้บัตรลงคะแนนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นบัตรเสียทั้งฉบับและไม่ให้นับเป็นคะแนน

  • บัตรปลอม
  • บัตรที่มีการทำเครื่องหมายเพื่อเป็นที่สังเกตหรือเขียนข้อความใด ลงในบัตรลงคะแนนนอกจากหมายเลขผู้สมัคร เว้นแต่เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการเลือก
  • บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายลงคะแนน
  • บัตรที่มิอาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใด
  • บัตรที่ลงคะแนนให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิได้รับเลือก
  • บัตรที่เขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินจำนวนที่กำหนด
  • บัตรที่ลงคะแนนให้บุคคลใดเกินหนึ่งคะแนน
  • บัตรที่มิใช่บัตรซึ่งกรรมการประจำสถานที่เลือกมอบให้

ส่วนบัตรลงคะแนนที่มีลักษณะในช่องเขียนหมายเลขผู้สมัครช่องหนึ่งช่องใดดังต่อไปนี้ไม่ให้นับเป็นคะแนนสำหรับช่องหมายเลขนั้น

  • บัตรที่มิได้เขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเป็นเลขอารบิก
  • บัตรที่เขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครใน "ช่องเขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร" เกินกว่าหนึ่งหมายเลขผู้สมัครในช่องเดียวกัน
  • บัตรที่มิได้เขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครใน "ช่องเขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร "และให้นับคะแนนใน "ช่องเขียนหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร " ที่สามารถนับคะแนนได้

อ่านข่าว ด่วน! 9 มิ.ย.นี้ กกต.เคาะ "ไม่เลื่อน" เลือก สว.ระดับอำเภอ

วิธีการแบ่งสายและการจับสลากเพื่อแบ่งสาย

สำหรับการวิธีการแบ่งสายและการจับสลากเพื่อแบ่งสายของการเลือกสว.ในแต่ละระดับ มีนี้

  • เมื่อได้ผู้ได้รับเลือกขั้นต้นในรอบที่ 1 ของแต่ละกลุ่มแล้ว ให้ผู้ได้รับเลือกตกลงกันว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้จับสลากการแบ่งสาย หากตกลงกันไม่ได้ ให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อหาตัวแทนกลุ่ม
  • ผู้อำนวยการการเลือกจัดให้มีการแบ่งสาย ออกเป็นสายไม่เกิน 4 สาย แต่ละสายประกอบด้วยจำนวนกลุ่มเท่ากัน หากแบ่งให้เท่ากันไม่ได้ ให้แบ่งแต่ละสายมีจำนวนกลุ่มใกล้เคียงกันมากที่สุด และในแต่ละสายต้องมีกลุ่มไม่เกิน 5 กลุ่ม แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 กลุ่ม 

 

  • ผู้อำนวยการการเลือกหรือผู้ที่ผู้อำนวยการการเลือกมอบหมาย แจ้งให้ผู้ได้รับเลือกขั้นต้นทราบถึงจำนวนกลุ่มที่มีผู้ได้รับเลือกขั้นต้นทั้งหมด จำนวนสายที่แบ่งได้ จำนวนกลุ่มที่แต่ละสายมี จัดทำสลากเท่ากับจำนวนกลุ่มที่จะต้องจับสลาก
  • ตัวแทนของแต่ละกลุ่ม จับสลากว่ากลุ่มของตนจะอยู่ในสายใดจนครบทุกกลุ่ม
  • ตัวแทนกลุ่มผู้ใดจับสลากได้สายใด ให้กลุ่มนั้นอยู่ในสายดังกล่าวและบันทึกแสดงผลการจับสลากเพื่อแบ่งสาย และผู้อำนวยการการเลือกดำเนินการประกาศผลการจับสลากแบ่งการเลือกสมาซิกวุฒิสภา

เมื่อได้จำนวนสายที่แบ่งได้และจำนวนกลุ่มที่แต่ละสายมี ผู้อำนวยการการเลือกดำเนินการให้มีการลงคะแนนเลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกันต่อไป

อ่านข่าวอื่นๆ

แจ้งข้อหาฆ่าคนตาย "ส.ต.อ." ยิงเมียนมาในรพ.-อ้างไม่รู้ตัว

ระดม 300 นาย ค้นหา "ครูเต้ย" หายตัวเขื่อนศรีนครินทร์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง