“ส้มสายน้ำผึ้งฝาง” สินค้า GI เชียงใหม่ หวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม

เศรษฐกิจ
11 มิ.ย. 67
17:02
216
Logo Thai PBS
“ส้มสายน้ำผึ้งฝาง” สินค้า GI เชียงใหม่ หวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศขึ้นทะเบียน GI ใหม่ “ส้มสายน้ำผึ้งฝาง” สินค้าขึ้นชื่อเชียงใหม่ สีผลเหลืองอมส้ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว และมีอัตลักษณ์ชัดเจน ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง สร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 270 ล้านบาทต่อปี

วันนี้ (11 มิ.ย.2567) น.ส.กนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า กรมได้ประกาศขึ้นทะเบียน “ส้มสายน้ำผึ้งฝาง” สินค้า GI ลำดับที่ 5 ของ จ.เชียงใหม่ ต่อจากผ้าตีนจกแม่แจ่ม ร่มบ่อสร้าง ศิลาดลเชียงใหม่ และกาแฟเทพเสด็จ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้านี้

นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

นางสาวกนิษฐา กังสวนิช รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ส้มสายน้ำผึ้งฝาง มีแหล่งกำเนิดเดิมอยู่ที่ จ.ยะลา เรียกว่า ส้มพันธุ์โชกุน ได้ถูกนำมาเพาะปลูกในพื้นที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ หลายสาย ได้แก่ แม่น้ำฝาง ลำห้วยแม่ใจ ลำน้ำแม่มาว ลำน้ำแม่เผอะ เขื่อนแม่มาว เขื่อนบ้านห้วยบอน ห้วยแม่งอน เป็นต้น

สิ่งสำคัญคือมีแหล่งน้ำที่เป็นน้ำพุร้อนซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำอุณหภูมิสูงไหลพุ่งจากใต้ดินขึ้นสู่อากาศ ทำให้สภาพดินอุดมไปด้วยแร่ธาตุเหมาะสมต่อการเพาะปลูกส้มสายน้ำผึ้ง

ด้วยแหล่งภูมิศาสตร์นี้ ทำให้ส้มสายน้ำผึ้งฝางสามารถเติบโตได้ดี มีผิวสีเขียวอมเหลือง เขียวอมส้ม มันวาว เนื้อกุ้งฉ่ำแน่น ชานและใยนุ่ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอม มีอัตลักษณ์ชัดเจนแตกต่างจากส้มสายน้ำผึ้งจากแหล่งปลูกอื่น หากเก็บเกี่ยว

โดยช่วงฤดูหนาว ส้มสายน้ำผึ้งฝางจะมีผิวสีเหลืองอมส้ม มีความโดดเด่น จึงได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการ ของตลาดอย่างมากในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน อีกทั้งหน่วยงานในพื้นที่ยังให้การสนับสนุน ยกให้ส้มสายน้ำผึ้งฝางเป็นของดีจังหวัดเชียงใหม่ สร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับชุมชนให้พื้นที่กว่า270 ล้านบาทต่อปี

ปี 2566 มี 191 รายการ มูลค่าการตลาด 54,000 ล้านบาท ปัจจุบัน (พ.ค.2567) มีสินค้า GI ไทยที่ขึ้นทะเบียน 203 รายการ สร้างมูลค่าการตลาดรวม 70,000 ล้านบาท ในปี 2567 ตั้งเป้าขึ้นทะเบียนสินค้า GI 211 สินค้า คาดว่าจะสร้างมูลค่ากว่า 76,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้น จากปี 2566 เพิ่มขึ้นกว่า 20,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังได้ผลักดันสินค้า GI สู่ร้าน Thai Select ในต่างประเทศ โดยมีแผนที่จะขยายเครือข่ายสู่ร้านอาหารไทยที่เป็นร้าน Thai Select ที่มีกว่า 1,500 แห่งทั่วโลก ซึ่งเป็นการสร้างกระแสในการใช้วัตถุดิบสินค้า GI มารังสรรค์เมนู สร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภค

ผลักดันให้สินค้า GI ไทย ที่เป็นสุดยอดวัตถุดิบอาหารและเป็นสินค้าที่มี Story Telling อันจะช่วยยกระดับอาหารไทยให้ได้รับความนิยมและกระตุ้นการบริโภคสินค้า GI ไทย และส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ไทยในตลาดต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบัน กรมทรัพย์สินทางปัญญา ขึ้นทะเบียนสินค้า GI ไทย ในต่างประเทศแล้ว 8 รายการ

อ่านข่าว : เช็ก! รายชื่อผู้ได้รับเลือก สว.ระดับอำเภอ

มูลนิธิสัตว์ ตั้งคำถามสวัสดิภาพ "สัตว์ในกรง" ไฟไหม้ตลาดจตุจักร

เศรษฐกิจไทยเผาจริง รง.ปิดตัว 1.7 พันแห่ง KKP ชี้แนวโน้มรุนแรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง