ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มรสุมรุมเศรษฐกิจไทย สรท. ชี้ส่งออกครึ่งปีหลังหดตัว โตเพียง 2%

เศรษฐกิจ
4 ก.ค. 67
11:30
262
Logo Thai PBS
มรสุมรุมเศรษฐกิจไทย สรท. ชี้ส่งออกครึ่งปีหลังหดตัว โตเพียง 2%
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สรท. ชี้ส่งออกไทยครึ่งปีหลังหดตัว หลายมรสุมรุมเร้า “สงครามการค้า กำแพงภาษี ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ เลือกตั้งสหรัฐฯ ” คาดตลอดปีโต 1-2% จี้รัฐ เร่งแก้ปัญหาต้นทุนขนส่งพุ่ง ฉุดความสามารถแข่งขัน

วันนี้ (2 ก.ค.2567) นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า สรท.ได้คาดการณ์การส่งออกปี 2567 เติบโตที่ร้อยละ 1-2 โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังในครึ่งปีหลังที่สำคัญ คือ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ยืดเยื้อ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน การตั้งกำแพงภาษีระหว่างกันและชาติพันธมิตร อาจส่งผลกระทบต่อระบบการค้าโลกรวมถึงการค้าระหว่างของไทย จับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

ต้นทุนภาคการผลิต ทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เช่น ต้นทุนพลังงาน น้ำมันและไฟฟ้า ค่าแรงขั้นต่ำที่อยู่ระหว่างพิจารณาปรับขึ้น และต้นทุนค่าระวางเรือ ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม (Surcharge) และค่าใช้จ่ายภายในประเทศ (Local Charge) ปรับตัวสูงขึ้นทุกเส้นทาง

ส่วนปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จากการเร่งผลิตและส่งออกของจีนส่งผลให้ค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้นกว่าร้อยละ 300 นอกจากนี้ การเข้าถึงสินเชื่อของภาคการผลิตมีปัญหาต่อเนื่อง ทำให้ขาดสภาพคล่อง และภาคการผลิตรายสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวค่อนข้างจำกัด

อย่างไรตาม สรท. มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐในการดูแลต้นทุนการผลิตเพื่อให้การส่งออกของไทยยังคงขีดความสามารถในการแข่งขันได้ ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนพลังงาน ค่าไฟฟ้า ค่าแรงขั้นต่ำ และค่าขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเฉพาะค่าระวางเรือ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม รวมถึง การเจรจากับคู่ค้าเพื่อปรับอัตราค่าขนส่งให้สอดคล้องกับค่าระวางในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกเส้นทาง รวมถึงต้องบริหารจัดการสต็อกสินค้าให้เหมาะสม

นายชัยชาญ กล่าวอีกว่า ภาครัฐควรสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้า และสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับภาคธุรกิจ ให้เพียงพอต่อการหมุนเวียนกระแสเงินสดและการผลิตเพื่อการส่งออก รวมถึงเร่งปรับโครงการสร้างการส่งออกของไทย เพื่อรองรับการแข่งขันในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Trading Nation

สำหรับ การส่งออกเดือนพ.ค.เทียบเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่า มีมูลค่า 26,219.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.2 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 960,220 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.1

ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 25,563.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 1.7 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 947,007 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.5 ส่งผลให้ดุลการค้าของไทยในเดือนพ.ค. 2567 เกินดุลเท่ากับ 656.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 13,214 ล้านบาท

ส่วนภาพรวมการค้า 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า มีมูลค่า 120,493.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.6 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 4,298,248 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.1

ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 125,954.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.5 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 4,542,224 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.8 ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 5,460.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 243,976 ล้านบาท

อ่านข่าว:

ข้าวไทยแพง ถูกเวียดนามแย่งตลาด "ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย"

"ลาบูบู้เที่ยวไทย" ททท.ไม่ตกเทรนด์ เจาะตลาดกลุ่มนักเที่ยวจีน

"ราคาทองคำ" เช้านี้ พลิกบวก 100 บาท นักลงทุนจับตาเฟดแถลง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง