ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปลัดกลาโหม ยันงบลับใช้เท่าเดิม เออร์ลี่รีไทร์ปีละ 200 ล้าน

การเมือง
10 ก.ค. 67
15:30
313
Logo Thai PBS
ปลัดกลาโหม ยันงบลับใช้เท่าเดิม เออร์ลี่รีไทร์ปีละ 200 ล้าน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปลัดกลาโหม ยัน งบลับใช้เท่าเดิม ตั้งแต่ปี 2564 ยัน​สามารถตรวจสอบได้ ส่วนโครงการเออลี่รีไทร์ใช้งบบุคลากรเหล่าทัพ ปีละ 200 ล้านบาท​ พร้อมเดินหน้าปรับโครงสร้าง โอนย้าย แพทย์-พยาบาล เป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม มอง​ หากรับอัตราทดแทนใหม่​ใช้เวลานาน​

วันนี้ (10 ก.ค.2567) พล.อ.สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวชี้แจงกรรมาธิการงบประมาณรายจ่ายประจำปี​ 2568​ โดยยืนยันถึงการใช้งบลับมีเท่าเดิมทุกปี ไม่มีการขอเพิ่มขึ้น และต้องผ่านสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพราะใช้หลักเกณฑ์ตรวจสอบการใช้เงิน ตั้งแต่ปี 2564

ส่วนการปรับลดกำลังพลเป็นนโยบายของกระทรวงกลาโหม จะครอบคลุมไปถึง โรงเรียนที่ผลิตทหาร ต้องปรับลดลงตามลำดับและนำใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทน และเรื่องการปรับลดกำลังพล ร้อยละ 5 สำหรับนายพลตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ต้องลด 50% ซึ่งเคยชี้แจงไปแล้ว อยู่ในแผนการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพปี 2561- 2571 ที่จะต้องลด มาครึ่งหนึ่ง ซึ่งทุกอย่างดำเนินการไปตามแผน โดยมีการปรับลดทุกปีและหลังปี 2571 ก็จะไปเข้าสู่สมุดปกขาวจะดำการต่อไปอีกในภาพรวม

ส่วนการเออลี่รีไทร์ จัดไว้ 3 ปี ปีละ 200 ล้านบาทซึ่ง ครม.อนุมัติไปแล้ว เป็นโครงการที่จะลดกำลังพล เนื่องจากเมื่อเออลี่ฯไปแล้ว ในตำแหน่งที่ไม่สำคัญหรือตำแหน่งประจำจะปิดอัตรา ส่วนเงิน 200 ล้าน อยู่ในงบบุคลากร ของกองทัพเอง

อ่านข่าว : ครม.ไฟเขียว ทหารยศสูงเออร์ลี่ ตอบแทน 7-10 เท่าของเงินเดือน

ส่วนปรับข้าราชทหารเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม มาจาก แพทย์ พยาบาล บัญชีเภสัชกร เป็นต้น จะแยกออกมา เพื่อลดข้าราชการทหาร โดยจะดำเนินการ 2 แบบคือบรรจุใหม่โดยสำนักงานปลัดกลาโหม พึ่งบรรจุไป 8 ราย ซึ่งต้องใช้เวลา เนื่องจากต้องมาปรับโครงสร้างใหม่ ที่จะมีข้าราชการพลเรือนกลาโหม เช่น โรงพยาบาลทหารจะต้องทำโครงสร้างแยกออกมาจะเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหม สำหรับหมอพยาบาล ส่วนการบรรจุเข้าไปเพื่อความรวดเร็วสามารถโอนย้ายได้จากทหารเป็นข้าราชการพลเรือนกลาโหมเมื่อโครงสร้างเสร็จ ซึ่งหากรับทดแทนใหม่อย่างเดียวใช้เวลานาน จึงจะดำเนินการอย่างเร็วที่สุด

พล.อ.สนิธชนก ยังชี้แจงถึงการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แบบรวมศูนย์ว่า รมว.กลาโหมแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้วเพื่อศึกษาในเรื่องนี้ ถือเป็นยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหม อาวุธที่มีราคาแพงไม่สามารถผลิตหรือหาชิ้นส่วนภายในประเทศได้ และเป็นภูมิยุทธศาสตร์ภัยคุกคาม จะคำนึงภัยคุกคามอำนาจกำลังรบของเพื่อนบ้าน แนวโน้มการเกิดสงครามเพื่อกำหนดออกมาให้เป็นยุทธศาสตร์ หากทำสำเร็จสัดส่วนงบประมาณจะไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนกำลังพล แต่จะขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ที่ถูกกำหนดผ่านคณะกรรมการของกระทรวงกลาโหม ในการที่จะชี้ว่า จะซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อะไร ในระยะ 3-5 ปี

ส่วนบ่อน้ำมันฝางตั้งมา 70 ปี ประเมินมีน้ำมันใต้ดิน 50 ล้านบาร์เรล แต่ใน 70 ปีที่ผ่านมาดูดไป 16 ล้านบาร์เรล ปัจจุบันเก็บไว้เป็นน้ำมันดิบ 16 ล้านลิตร ซึ่งส่วนใหญ่ได้เป็นดีเซล มีมาตรฐานที่ไม่เทียบเท่าเอกชนใช้กับรถทหารและจำหน่าย สนับสนุนกองทัพบกในพื้นที่ภาคเหนือ

ส่วนเงินอุดหนุน 600 ล้านบาท 90% เป็นค่าจ้างเงินเดือน และมีลูกจ้างพนักงาน ถ้าเออรี่ฯ ต้องใช้เงินก้อนนี้ทั้งหมด จึงจำเป็นต้องมีเสริมเอาไว้ หลักการคือลูกจ้างพนักงานต้องมีเงินอุดหนุน ส่วนกลางวิจัยและพัฒนาทางคณะกรรมการ โอนถ่ายธุรกิจกองทัพ หลายท่านเคยไปดูไม่ได้ปกปิด

อ่านข่าว :

ศาล รธน.ยังไม่ตัดสินคดีนายกฯ นัดพิจารณาต่อ 24 ก.ค.

ป.ป.ช.เปิดบัญชีทรัพย์สิน "สิทธิโชติ" กกต.คนใหม่ ทรัพย์สิน 51 ล้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง