- เปิดตัวชุดทัพนักกีฬาไทยในพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024
- เรื่องน่ารู้ "ปารีสเกมส์ 2024" ฝรั่งเศสเจ้าภาพโอลิมปิก ครั้งที่ 3 ในรอบ 100 ปี
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 จัดขึ้นที่กรุงปารีสตั้งแต่วันศุกร์ที่ 26 ก.ค. ถึงวันอาทิตย์ที่ 11 ส.ค. ถือเป็นโอลิมปิกครั้งที่ 3 ของประเทศฝรั่งเศส ครั้งแรกจัดขึ้นในปี 1900 โลกได้เห็นผู้หญิงเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ต่อมาในการจัดการแข่งขันครั้งที่ 2 ในปี 1924 ฝรั่งเศสได้โชว์ศักยภาพสร้างหมู่บ้านโอลิมปิกแห่งแรก
หอไอเฟล (Eiffel Tower Stadium)
ครั้งนี้ในปี 2024 เมื่อการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกกลับมาจัดในประเทศแห่งศิลปะ วัฒนธรรม ความอาร์ตติส "Paris 2024" ตั้งเป้าสร้างชื่ออีกครั้งในรอบ 100 ปีบนประวัติศาสตร์โอลิมปิก ในแบบฉบับการแข่งขันที่ผสมผสานเอาทั้งวัฒนธรรมและกีฬาเข้าด้วยกัน เจ้าภาพจัดให้มีกิจกรรมมากมายที่จัดขึ้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย คอนเซปต์งานที่เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ความงาม การมีส่วนร่วมของชุมชน ดึงอดีตเข้าสู่ปัจจุบันและส่งต่อความยั่งยืนสู่อนาคต ผ่านการแสดงออกทางศิลปะและกีฬา
"ความยั่งยืน" สำหรับทุกคน
"ความยั่งยืน" ถือเป็นหัวใจหลักของการบริหารการจัดการแข่งขันโอลิมปิกปีนี้ คณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฝรั่งเศสได้วางแผนเรื่องอาหารการกินของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน คาดว่าจะมีการเสิร์ฟมื้ออาหารมากกว่า 13 ล้านจานในช่วงการแข่งขัน ซึ่งจะใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติตามฤดูกาลในท้องถิ่นทั่วประเทศฝรั่งเศส นำมาปรุงเป็นอาหารตามสไตล์ฝรั่งเศสอีกด้วย
นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังปรับปรุงสถานที่เดิมที่เคยใช้ในการจัดโอลิมปิกเมื่อ 100 ปีก่อนรวมถึงสร้างสนามแข่งขันชั่วคราวในสถานที่สำคัญ ๆ ของประเทศมากถึงร้อยละ 95 ของการจัดการแข่งขันโอลิมปิกปีนี้ จุดประสงค์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างสถานที่มากที่สุดเท่าที่ทำได้ สำหรับสนามแข่งขันที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ ก็จะใช้นวัตกรรมการก่อสร้างที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจะถูกนำไปใช้งานต่อในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
สนามกีฬาหอไอเฟล (Eiffel Tower Stadium)
หลายสถานที่ที่เคยถูกใช้ในอดีต โอลิมปิกเมื่อปี 1924 ถูกนำมาปรับปรุงเพื่อเตรียมจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2024 ที่มีพิธีเปิดในวันที่ 26 ก.ค.นี้ เช่น
- สนามกีฬา Stade Olympique de Colombes ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสนามกีฬา Yves-du-Manoir สถานที่หลักในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1924 หนึ่งศตวรรษต่อมา สนามกีฬาแห่งนี้จะถูกใช้งานอีกครั้ง โดยเป็นสถานที่จัดการแข่งขันฮอกกี้สนาม
- Stade Nautique des Tourelles ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสระว่ายน้ำ Georges-Vallerey เคยถูกใช้ในการแข่งขันว่ายน้ำ ดำน้ำ และโปโลน้ำในปี 1924 ก็จะถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมของนักว่ายน้ำ ว่ายน้ำมาราธอน และไตรกีฬาในการแข่งขันปารีสในปี 2024
- หมู่บ้านนักกีฬาในอดีต ถูกปรับปรุงเป็นที่พักรองรับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่สนับสนุนรวม 23,500 คนในระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 และพาราลิมปิก 2024 และฝรั่งเศสยังวางแผนว่า หลังจบการแข่งขันแล้ว จะเปิดให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัย โดยมีอพาร์ตเมนต์ 2,800 ยูนิตสำหรับผู้คนประมาณ 6,000 คน ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
- นอกจากนี้ ปารีสยังได้ปรับปรุงเส้นทางรถไฟ 3 สายและสร้างสถานี Gare du Stade ที่ไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกให้กับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์ระยะยาวแก่ระบบขนส่งมวลชนในอนาคตอีกด้วย
สนามแข่งโอลิมปิก 2024
สนามแข่งขันกีฬาต่าง ๆ จะถูกจัดขึ้นใจกลางกรุงปารีส และส่วนใหญ่จะเป็นสนามที่สร้างขึ้นชั่วคราว รอบบริเวณสถานที่อันเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส เช่น หอไอเฟล, จัตุรัสคองคอร์ด (Place de la Concorde) และ อนุสรณ์สถาน อูแตล เด แซ็งวาลีด Esplanade des Invalides พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทหารของฝรั่งเศสและอนุสรณ์สถาน มีหลุมฝังศพของนโปเลียน โบนาปาร์ต ที่จะเป็นเวทีสำหรับการยิงธนูทั้งของโอลิมปิกและพาราลิมปิก
จัตุรัสคองคอร์ด Place de la Concorde
ไม่ใช่แค่กรุงปารีสเท่านั้นที่จะรองรับการแข่งขัน แต่เมืองต่าง ๆ ทั่วฝรั่งเศสก็เป็นเจ้าภาพร่วมใช้จัดการแข่งขันยิงปืน แล่นเรือใบ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล และ แฮนด์บอล ความพิเศษของมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่ของโลกครั้งนี้ คือ เป็นครั้งแรกที่ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศสเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน
หาด Teahupo’o บนเกาะตาฮิติ เฟรนช์โปลินีเซีย เกาะที่เรียกกันว่าเป็นเมืองโพ้นทะเล เกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะวินด์เวิร์ดของเฟรนช์โปลินีเซีย ที่อยู่ภายใต้การดูแลของประเทศฝรั่งเศส ก็จะถูกใช้สำหรับการแข่งขันโต้คลื่นอีกด้วย
หาด Teahupo’o บนเกาะตาฮิติ เฟรนช์โปลินีเซีย
ตราสัญลักษณ์ Paris 2024
ประกอบด้วยองค์ประกอบเชิงสัญลักษณ์ 3 อย่าง ได้แก่ เหรียญทอง เปลวไฟโอลิมปิก และ Marianne เป็นหญิงสาวที่สื่อถึงตัวตนความเป็นฝรั่งเศส ที่สื่อถึงคำขวัญประจำชาติฝรั่งเศส "Liberté, Égalité, Fraternité" หรือ "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ" ซึ่งจะใช้ทั้งการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิก
- เหรียญทอง สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ จุดมุ่งหมายอันสูงสุดของเหล่านักกีฬาที่เข้าแข่งขันทั้งโอลิมปิกและพาราลิมปิก ในการแข่งขันครั้งนี้ เหรียญรางวัลใจะซ้อนด้วยโลหะอีก 4 ชั้น ให้นักกีฬาได้นำไปแบ่งให้กับทีมและครุผู้ฝึกซ้อน เข้ากับคอนเซปต์ "Made of sharing" ของผู้ออกแบบ Philippe Starck
- เปลวไฟ สัญลักษณ์แห่งพลังของโอลิมปิกและพาราลิมปิก ที่ร่วมกันสื่อความหมายอันเป็นเอกลักษณ์ที่ขับเคลื่อนกิจกรรมยิ่งใหญ่ครั้งนี้
- มารีแอนน์ สัญลักษณ์ฝรั่งเศส คือตัวแทนของจิตวิญญาณแห่งความคิดสร้างสรรค์อันกล้าหาญที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับการจัดการแข่งขันครั้งนี้ Marianne เป็นตัวแทนของค่านิยมเดียวกันกับที่พบในกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก นั่นคือ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ
โลโก้โอลิมปิก ปารีส 2024
การจัดวางองค์ประกอบให้ออกมาเป็นภาพของผู้หญิงคนหนึ่ง ก็สื่อถึงในโอลิมปิก 1900 เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ของโลกที่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้าร่วม นี่ยังเป็นการอ้างอิงถึงความเท่าเทียมกันของเหล่านักกีฬาชายและหญิงรวมกัน 10,500 คนที่เข้าร่วม
"ไฟรเจส" มาสคอตโอลิมปิก-พาราลิมปิก
"Phryges" ได้รับแรงบันดาลใจจากหมวก Phrygian ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อิสรภาพในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ถูกสวมใส่โดยทาสในสมัยนั้น มาสคอตสีแดงสด ดวงตาโตสีฟ้า ขนตาเป็นรูปธงชาติฝรั่งเศส มีความหมายสื่อถึง การส่งเสริมด้านกีฬาและครอบคลุมจริยธรรม ในการแข่งขันโอลิมปิก ไฟรเจสจะใส่ถุงเท้ายาวสีน้ำเงินทั้ง 2 ข้าง แต่ในกีฬาพาราลิมปิก ไฟรเจสจะใส่ขาเทียม
ไฟรเจส มาสคอตโอลิมปิก-พาราลิมปิก
คบเพลิงโอลิมปิก
มีลักษณะเป็นผิวเรียบนูนเป็นคลื่นเลียนแบบผิวน้ำแม่น้ำแซนที่เป็นศูนย์กลางของโอลิมปิก เส้นโค้งที่นุ่มนวลดูอ่อนโยนของคบเพลิงสะท้อนถึงความสงบ วัสดุที่ใช้เป็นเหล็กรีไซเคิลที่ผลิตในโรงงานฝรั่งเศส เปลวไฟโอลิมปิกถูกจุดและส่งต่อในเดือน เม.ย.ที่เมืองโอลิมเปีย ประเทศกรีซ จุดกำเนิดของการแข่งขันโอลิมปิกสมัยโบราณ จากนั้นจะเดินทางข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วยเรือเบแลม เรือใบ 3 เสากระโดงแบบโบราณ ที่มีอายุการใช้งานกว่า 120 ปี
เรือเบแลม เรือใบ 3 เสากระโดงแบบโบราณ ที่มีอายุการใช้งานกว่า 120 ปี
อ่านข่าว : จุดไฟคบเพลิงโอลิมปิก นับถอยหลังปารีสเกมส์ 2024
โดยมีกำหนดขึ้นฝั่งที่เมืองมาร์กเซย วันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นขบวนวิ่งคบเพลิงจะออกเดินทางไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ รวมถึงชาติต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และถูกนำมาจุดในพิธีเปิดการแข่งขันวันที่ 26 ก.ค. ที่กรุงปารีส ก่อนจะถูกดับลงในพิธีปิดการแข่งขันในวันที่ 11 ส.ค. จากนั้นเปลวไฟพาราลิมปิกก็จะถูกจุดขึ้นอีกครั้ง เริ่มจากบ้านเกิดของกีฬาพาราลิมปิก "สโต๊ค แมนเดวิลล์" ในสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะเดินทางสู่ปารีส เพื่อเป็นสัญญาณของพิธีเปิดการแข่งขันพาราลิมปิกที่ฝรั่งเศส
คบเพลิงพาราลิมปิก ปารีส 2024
คบเพลิงโอลิมปิก ครั้งที่ 33 นี้ มีสีแชมเปญ ความยาว 70 ซม. น้ำหนัก 1.5 กก. ทำมาจากเหล็กรีไซเคิล ใช้เชื้อเพลิงไบโอโพรเพน และผู้ออกแบบ คือ Mathieu Lehanneur
คบเพลิงโอลิมปิก ปารีส 2024
อ่านข่าวอื่น :