ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โมเดลแก้จน เติมความรู้-สร้างอาชีพ ลดรุนแรงชายแดนใต้

สังคม
12 ก.ค. 67
15:58
1,584
Logo Thai PBS
โมเดลแก้จน เติมความรู้-สร้างอาชีพ ลดรุนแรงชายแดนใต้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การขจัดความยากจน เป็นวาระแห่งชาติที่รัฐบาลทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ให้ความสำคัญและ กำหนดให้เป็น 1 ใน 17 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัญหาความยากจน เกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาความรุนแรงและเหตุการณ์ความไม่สงบ การพัฒนาคนและโอกาสทางการศึกษา การประกอบอาชีพ โอกาสในการจ้างงานที่ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดินทางข้ามฝั่งไปทำงานประเทศมาเลเซีย รวมทั้งภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบเชิงนิเวศ

การแก้ไขปัญหาความยากจน โดยนำเสนอผ่านการคัดเลือกผลงาน ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีพร้อมใช้ที่มีความโดดเด่น จำนวน 104 นวัตกรรม จากการดำเนินงานของสถาบันการศึกษา 6 แห่ง ในภาคใต้ตอนล่าง และในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อการเปิดพื้นที่ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ การแลกเปลี่ยน แสดงผลงาน และจับคู่ความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ (Appropriate Technologies) กับชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้ประโยชน์ และขยายผลผลิต ผลลัพธ์ และผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีพร้อมใช้ในวงกว้าง

ในงานสัมมนาพหุภาคีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้แก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ภายใต้หัวข้อ “โหม๋ภาคีพร้อมพรั่ง เพิ่มพลังแก้จน ... ปรับปรนผลงาน ความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ โยงใยสู่ชุมชนนักปฏิบัติ” ที่จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 8 ก.ค.2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี 

บพท. ร่วมกับ 7 หน่วยงาน MOU ประสานพลังความรู้ พลังภาคี แก้ปัญหาความยากจน

บพท. ร่วมกับ 7 หน่วยงาน MOU ประสานพลังความรู้ พลังภาคี แก้ปัญหาความยากจน

บพท. ร่วมกับ 7 หน่วยงาน MOU ประสานพลังความรู้ พลังภาคี แก้ปัญหาความยากจน

โดย บพท. ร่วมกับ 7 หน่วยงาน คือ ศอ.บต. จ.ปัตตานี จ.ยะลา จ.นราธิวาส มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ประสานพลังความรู้ พลังภาคี แก้ปัญหาความยากจน เปิดมิติใหม่ ใช้ความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ สู้เอาชนะความรุนแรงจังหวัดชายแดนใต้ ตามแนวทางสันติวิธี”

ซึ่งคำว่า “โหม๋” เป็นภาษาใต้ แปลว่า พวกหรือหมู่ เป็นการเป็นพี่น้องในการเสริมงานระหว่างกัน ซึ่งสอดคล้องจากการสัมมนาที่เกิดจากข้อตกลงร่วม กันของมหาวิทยาลัย ที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก บพท. ผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคใต้ และภาคใต้ตอนล่าง เพื่อการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นกลไกในการขับเคลื่อน

อ่านข่าว : มหกรรมเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน 4 ภาค ตั้งเป้าปี 70 สร้างนวัตกร 5 คน/ตำบล

จำนวนประชากรพื้นที่ 2 จังหวัดชายแดนใต้

จำนวนประชากรพื้นที่ 2 จังหวัดชายแดนใต้

จำนวนประชากรพื้นที่ 2 จังหวัดชายแดนใต้

3 จังหวัดชายแดนใต้ ยากจน 48,119 ครัวเรือน

จากรายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีครัวเรือนยากจนในปี 2565 ทั้งสิ้น 1.12 ล้านครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.14 ของครัวเรือนทั้งหมด เทียบเคียงเป็นจำนวนประชากร กว่า 3.79 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนคนจนร้อยละ 5.43 โดยในส่วนของความยากจนเชิงพื้นที่นั้น พบว่า จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 อันดับแรกในปี 2565 ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ปัตตานี ตาก นราธิวาส กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู ยะลา ศรีสะเกษ ชัยนาท และระนอง ตามลำดับ

3 จังหวัดชายแดนใต้อยู่ใน 10 อันดับแรก โดยปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจน สูงที่สุด รองลงมาเป็นนราธิวาส และ ยะลา

ทั้งนี้ข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน ส.ค.2566 ประชากรในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีจำนวนทั้งหมด 2,516,735 คน แบ่งเป็น

  • จ.ยะลา มีจำนวนประชากร 617,146 คน
  • จ.ปัตตานี มีจำนวนประชากร 842,939 คน
  • จ.นราธิวาส มีจำนวนประชากร 1,056,650 คน
สัดส่วนประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตามช่วงอายุ

สัดส่วนประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตามช่วงอายุ

สัดส่วนประชากรใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตามช่วงอายุ

จ.ปัตตานี ชาวบ้านยากจนที่สุด

สำหรับในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีครัวเรือนยากจนรวมทั้งสิ้น 48,119 ครัวเรือน มีคนจนทั้งหมด 249,300 คน คิดเทียบเป็นร้อยละ 9.91 ของประชากรรวมทั้งหมดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจำแนกเป็น

สถานการณ์ความยากจน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

สถานการณ์ความยากจน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

สถานการณ์ความยากจน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

- ปัตตานี มีคนจน 22,084.00 ครัวเรือน หรือ 126,961.00 คน คิดเป็นร้อยละ 15.06 ของประชากรจังหวัด
- ยะลา มีคนจน 12,676.00 ครัวเรือน หรือ 49,748.00 คน คิดเป็นร้อยละ 8.06 ของประชากรจังหวัด
- นราธิวาส มีคนจน 13,359.00 ครัวเรือน หรือ 72,591.00 คน คิดเป็นร้อยละ 6.87 ของประชากรในจังหวัด

อ่านข่าว : “ปลาใส่อวน” เมืองคอน อัพเกรดสู่ผลิตภัณฑ์ Zero Waste ยกระดับเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้

พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

สร้าง “สันติภาพที่กินได้” ใช้ความรู้ของงานวิจัยตอบโจทย์พื้นที่

“20 ปีความรุนแรงทุกคนที่อยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากให้ภาคใต้สงบ สันติภาพเกิดขึ้น ซึ่งโมเดลแก้จนเกี่ยวข้องอย่างไร จากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่หลายคนอยากลดความรุนแรง ไม่อยากให้มีระเบิด ไม่อยากให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการ”

พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า แต่ขณะเดียวกันสันติภาพเชิงบวก การสร้างสันติภาพที่กินได้ การดูแลประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ การแก้ไขปัญหาการใช้ความรู้ของงานวิจัยในการตอบโจทย์ของพื้นที่

คำว่า “ไว้วางใจ” เป็นเรื่องสำคัญในพื้นที่ภาคใต้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น strategic trust ความไว้วางใจผ่านยุทธศาสตร์ต่างๆ ซึ่งผลงานที่เป็นรูปธรรมนับร้อยนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนเป็นรูปธรรม บ่งบอกได้ถึงความไว้วางใจ

นอกจากนี้ยังมีภาคีที่สำคัญ อย่าง ศอ.บต.และภาคีเครือข่ายหน่วยราชการในพื้นที่ รวมทั้งภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคมและภาคประชาชนที่มาช่วยกันหนุนเสริม และบูรณาการตอบโจทย์ความต้องการในพื้นที่ที่มีบริบทเฉพาะทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อัตลักษณ์ และวัฒนธรรมให้ได้มากที่สุด

“ภายในกี่ปีไม่ทราบ เพราะจนมีหลายจน อยู่ได้ อยู่ลำบาก อยู่ดี ทั้งจน อยากจน จนจริง จนไม่จริง แต่ข้อมูลครั้งนี้ทำให้เรามั่นใจว่าได้ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการมากมายกว่าจะได้ข้อมูล และขับเคลื่อนต่อไป” พญ.เพชรดาว กล่าวทิ้งท้าย

พาติเมาะ สะดิยามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

พาติเมาะ สะดิยามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

พาติเมาะ สะดิยามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

แก้จนบนฐานความเชื่อมั่นและไว้วางใจ

มีประชากรที่ยากจนเป็นพลวัต และส่งต่อระหว่างคน และรุ่นต่อ ๆ ไป

ความยากจนเคลื่อนไหวด้วยทรัพยากร ปัจจัยของคน และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป อีกทั้งความยากจนมีความเคลื่อนไหวตลอด โจทย์หลักต้องทำอย่างไรต้องแก้ความยากจนข้ามรุ่น ควบคู่ทุกมิติไปพร้อมกัน ทั้งคุณภาพชีวิต การศึกษา ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัย

เชื่อว่าบนโลกนี้ไม่มีการแก้ไขปัญหาความยากจนได้เสร็จสมบูรณ์ 100% แต่ทำอย่างไรความเหลื่อมล้ำความยากจนไม่ถ่างกว้างเกินไปจนเห็นถึงความไร้ ไร้การกิน ไร้อาหาร

แนวทางการแก้ปัญหาความยากจนเป็นฐานที่สำคัญ นางพาติเมาะ สะดิยามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ฐานแรกคือฐานเชื่อมั่นและไว้ใจในข้อมูลที่เกิดขึ้นเพราะท้ายที่สุดแล้วต่อให้ทำให้ดีแล้วแต่ถ้าฐานข้อมูลไม่เป็นที่ยอมรับก็ไม่ง่ายที่จะแก้ไข

โครงสร้างฐานข้อมูลในอดีตเป็นระบบ manual แต่ทุกวันนี้ด้วยความร่วมมือ เริ่มต้นร่วมมือกันตั้งแต่ฐานการสร้างแผนพัฒนาร่วมกัน และความเปลี่ยนแปลง สภาวะอากาศ ความเปลี่ยนแปลงกายภาพ ซึ่งจะส่งผลกับ data ท้ายที่สุดต่อให้มีเครื่องมือมากมาย แต่สิ่งที่สะท้อนความยากจน เป็นเรื่องที่เห็นและสัมผัสได้

ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ยังกล่าวว่าการแก้ไขปัญหาความยากจนมีมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ก่อนความไม่สงบในพื้นที่ แต่ทำอย่างไรให้การบริหารจัดการนำพาความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น และความหวัง

“ความร่วมมือจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อยังไม่เกิดความไว้วางใจต่อกัน ทำอย่างไรให้ข้อมูลนำพาซึ่งความไว้วางใจ และความไว้วางใจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าไม่ทำระบบให้ตรงไปตรงมา สัมผัสได้ในเวลานั้น ไม่ใช่สัมผัสได้หลังจากนั้นอีก 6 เดือน” นางพาติเมาะ กล่าว 

นันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.

นันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.

นันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศอ.บต.

ศอ.บต.นำองค์ความรู้ลงสู่พื้นที่แบบไร้รอยต่อ

นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ระบุว่า การขับเคลื่อนงานโดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม โดยมีงานวิจัยเป็นพื้นฐาน ทาง ศอ.บต. มีส่วนที่ทำให้เกิดความไว้วางใจ รูปธรรมคือมหาวิทยาลัยทำงานในพื้นที่ มีเจ้าหน้าที่ชุดเก็บข้อมูลจากชาวบ้านมาวิเคราะห์

ข้อสรุปที่ได้จากดำเนินงานวิจัยจากองค์ความรู้นำไปสู่การปฏิบัติ บทบาทของ ศอ.บต.ดำเนินการให้เกิดความร่วมมือหลายภาคส่วน สิ่งที่มหาวิทยาลัยค้นพบเป็นตัวแบบของการทำงานเป็นความสำเร็จที่ผ่านการทดลอง ผ่านการยอมรับ ผ่านความสำเร็จ และความล้มเหลวมาแล้ว

แต่ในอีกมุมหนึ่ง การต่อยอดให้กิจกรรมครัวเรือนยากจน เชื่อมโยงไประดับที่สูงขึ้นๆ เช่นระดับครัวเรือนที่เชื่อมโยงกับการตลาด ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจประเภทหนึ่งที่ทำให้เกิดการต่อยอด การเรียนรู้ และสิ่งที่คาดหวังคือความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้

ในทางตีบตัน การทำงานขับเคลื่อนนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ สิ่งที่ได้รับ บทเรียนได้เรียนรู้และปรับตัว คือการจัดการข้อมูล ทุกโครงการและการร่วมมือของทุกโครงการที่จะได้ข้อสรุปอย่างลงตัว คือการทำข้อมูลที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย

นอกจากนี้ นายนันทพงศ์ ยังกล่าวถึงนวัตกรรมองค์ความรู้ที่ได้เมื่อจะนำไปปฏิบัติ ต้องมีการศึกษาให้เกิดความเข้าใจ และเมื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้ในทุกระดับในหน่วยแล้ว ต้องสื่อสารความเข้าใจไปสู่หน่วยปฏิบัติ และนำไปลงมือปฏิบัติให้เกิดรูปธรรม

สิ่งที่ ศอ.บต.จะทำในบริบทที่รับผิดชอบ เป็นความท้าทายกับงบประมาณ 200 ล้านบาท ที่อยู่ในมือ ศอ.บต. 

ท้าทายว่าสิ่งที่คิด ที่จัดระบบมาแล้ว เลือกที่มีความพร้อมตอบโจทย์ความต้องการครัวเรือน มีแผนรองรับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ เราให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกของการสนับสนุน 
ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

104 เทคโนโลยีพร้อมใช้ ยกระดับ ยั่งยืน ตรงเป้า

ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2563 ข้อมูลที่ได้ในการใช้เครื่องมือที่แม่นยำ ใช้ฐานข้อมูลเดียวกับประเทศ และมีการตรวจสอบข้อมูลโดยการใช้บัณฑิตกว่า 300 คน

ในส่วนของ จ.ปัตตานี ได้มีการตรวจทาน 3 ครั้ง ท้ายที่สุดโจทย์สำคัญคือทำอย่างไรให้ฐานข้อมูลนี้มีความเคลื่อนไหวลงไปสู่ระดับพื้นที่ ทำอย่างไรให้หน่วยสำคัญที่สุดระดับพื้นที่ ต้องอัปเดตข้อมูลของตัวเองได้ หรือหน่วยงานระดับพื้นที่ที่จะใส่ข้อมูลพื้นที่ที่รับผิดชอบได้ในระบบ

ภายในปี 2570 วางเป้าหมายให้แต่ละครัวเรือนจัดการข้อมูลได้ด้วยตนเอง โดยมีตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็น อสม. หรือบัณฑิต

การขับเคลื่อนงานต่าง ๆ เพื่อให้ยกระดับ ยั่งยืน และตรงเป้า มีการร่วมมือกัน และใช้ข้อมูลที่ซ้อนทับ (Overlay) ในการทำงานระหว่างกัน การทำงานในแนวคิด Poor to Power ทำให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงกับประชาชนในพื้นที่

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.

บพท.ปลุกพลังชุมชนนักปฏิบัติ กับนวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้งาน

ปัญหาความยากจน มี 2 มิติใหญ่ คือ พลวัตที่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็น Climate Change น้ำท่วม การโยกย้ายถิ่นฐาน การพัฒนาที่ต้องโยกย้ายทรัพยากร และมิติที่ 2 ที่เกิดจากพฤติกรรม พฤติกรรมทั้งของส่วนตัวและครัวเรือน

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ระบุว่า การแก้ไขปัญหาความยากจนมีความยากและความซับซ้อน การบูรณาการที่ดีที่สุดคือการสร้างศรัทธาในกลไกระดับพื้นที่

กลไกความร่วมมือ และเป้าหมายรวม ระบบข้อมูลกลางที่ไม่ได้ถูกถ่ายโอนไปสู่ข้อมูลที่มีความร่วมมือ เป็นที่มาของการประยุกต์ TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) หรือระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า เป็น TPMAP ระดับจังหวัด โดยใช้หน่วยงานจังหวัดเข้าไปประสานกับ ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนฯ (ศจพ.) ซึ่งเป็นหลักการของการบูรณาการด้วยข้อมูลและได้รับการยอมรับร่วมกัน

ซึ่งข้อมูลที่นำไปสู่ทางออก ที่สำคัญเป็นทางเลือกและทางออกที่ชาวบ้านเลือกด้วยตัวเอง และต้องทำด้วยตัวเอง และที่สำคัญต้องเป็นทางเลือกที่ตรงกับบริบท ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ทางกายภาพ ภูมิศาสตร์ทางการเมือง ของแต่ละพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน และต้องลงไปถึงระดับครัวเรือนด้วยปัญญา ด้วยเทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการ ซึ่งเรียกว่าเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสม

“นอกเหนือจากการช่วยเหลือเรื่องสวัสดิการ ความเป็นอยู่ ต้องช่วยเหลือด้านอาชีพที่มีรายได้สม่ำเสมอด้วยกลไกตลาดเสรี ด้วย Value Chain ของสินค้า รวมถึงส่วนราชการ ต้องร่วมกันบูรณาการอย่างจริงจัง เพื่อช่วยกันยก ไม่ได้ช่วยกันซ้ำ”

ส่วนภาคการตลาด ต้องช่วยดึงโมเดลแก้จนระดับครัวเรือน ระดับกลุ่ม ไปสู่ภาคการตลาดที่แท้จริง ทำให้กลไกตลาดเสรีทำงาน และภาคแห่งความรู้ ซึ่งมีกว่าร้อยนวัตกรรมที่มีผลงานเป็นรูปธรรม พร้อมขยายผลด้วยข้อมูลความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรมสู่การปฏิบัติจริง

และที่สำคัญที่สุด ภาคชุมชน ภาคชาวบ้าน ปลุกพลังหน่วยที่เล็กที่สุด ให้กล้าที่จะพูดด้วยตัวเอง กล้าที่จะส่งเสียง เนื่องจากอยู่ในระดับล่างที่สุด จนไม่กล้าที่จะทำอะไรรอคอยความช่วยเหลือ เมื่อภาคส่วนต่างๆ เข้าไป ชาวบ้านลุกขึ้นมาปฏิบัติและพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ

ดร.กิตติ ยังกล่าวว่าภายในปี 2570 วางเป้าอยากเห็นตัวอย่างจังหวัดเชิงยุทธศาสตร์ และกล้าที่จะนำ 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นจังหวัดเชิงยุทธศาสตร์ เพราะความท้าทาย เพราะความซับซ้อนของบริบท อยากให้พี่น้องทุกคนที่อยู่ในระบบข้อมูล เข้าถึงสวัสดิการ อย่างน้อยปัจจัย 4 ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการของรัฐ สวัสดิการของพื้นที่ สวัสดิการของศาสนา สวัสดิการของชุมชน

อยากให้ทุกคนเข้าถึงโอกาสการประกอบอาชีพ โอกาสในการเลื่อนฐานะทางสังคม แต่ผลสำเร็จจะอยู่ที่ตัวชาวบ้านเอง ไม่กล้าบอกว่าทุกคนจะหายจน แต่ทุกคนจะเข้าถึงโอกาสได้รับความรู้ ได้รับอาชีพ

ดร.กิตติ ยืนยันว่านโยบายทุกยุคของรัฐบาลมีเรื่องความยากจน เพียงแต่กลไกแต่ละพื้นที่มีความแข็งแรงพอที่จะบอกว่านโยบายเมื่อลงมาแล้ว ลงมาอย่างไร โดยมีเป้าหมายร่วม พร้อมทั้งมีการนำดีมานด์มาออกแบบ เพื่อนำครัวเรือนเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่มูลค่าสินค้า ที่จะทำให้ภาคครัวเรือนมีรายได้ที่สม่ำเสมอ รวมทั้งมีการอัพสกิล มีโค้ช มีระบบ เข้าไปหนุนเสริมให้เกิดการเรียนรู้

อ่านข่าว : 

น้ำผึ้งชันโรงเสม็ดขาว สุดยอด Superfood ต้านโรคอัลไซเมอร์-มะเร็ง

ฟ้าใหม่ "บ้านมูโนะ" ครบรอบ 1 ปี "โกดังเก็บพลุ ดอกไม้ไฟระเบิด"

“เวียงแก้ว” พระราชวังล้านนา คุณค่าทางประวัติศาสตร์ สู่พื้นที่สาธารณะเมืองเชียงใหม่ (ตอน 1)

เผย “เวียงแก้ว” สู่ พื้นที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (ตอน 2)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง