ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ฟูมิโอะ "ขอโทษ" ผู้ถูกบังคับทำหมันผลจาก กม.ควบคุมประชากร

ต่างประเทศ
18 ก.ค. 67
16:07
700
Logo Thai PBS
ฟูมิโอะ "ขอโทษ" ผู้ถูกบังคับทำหมันผลจาก กม.ควบคุมประชากร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นายกฯ ญี่ปุ่น ขอโทษอย่างเป็นทางการต่อกลุ่มโจทก์ที่ถูกทำหมันจาก กม.ยูจินิสก์ ที่เคยบังคับใช้มานานหลายสิบปีในญี่ปุ่น หลังจากที่พวกเขาได้เรียกร้องความยุติธรรมมาอย่างยาวนาน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค.2567 สำนักข่าว CNN รายงานว่า นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกฯ ญี่ปุ่น ได้ออกมากล่าวคำขอโทษกับโจทก์ที่เป็นผู้สูงอายุและเคยถูกบังคับทำหมันภายใต้การบังคับใช้กฎหมายยูจินิสก์ หลังจากที่พวกเขาได้รณรงค์เรียกร้องความยุติธรรมมาอย่างยาวนาน

นายกฯ ญี่ปุ่นกล่าวต่อหน้าผู้ร่วมประชุมว่า เขาตัดสินใจมาแสดงความสำนึกผิดและขอโทษ สำหรับความทุกข์ทรมานด้านร่างกายและจิตใจ ที่ผู้คนจำนวนมากต้องทนทุกข์ทรมานจากกฎหมายยูจินิกส์ฉบับก่อน และเห็นพ้องว่ากฎหมายดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของบุคคล ขณะนี้ได้สั่งให้ทางการจัดเตรียม การเยียวยาให้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่แล้ว

กฎหมายยูจินิสก์ คืออะไร ?

กฎหมายยูจินิสก์ (Eugenics Protection Law) คือ กฎหมายที่ประกาศใช้ในปี 2491-2539 บังคับให้ผู้ป่วยทางจิต ผู้พิการ ต้องถูกบังคับทำหมัน เพราะรัฐบาลในขณะนั้นมีความเชื่อไม่ต้องการให้ยีนด้อยส่งต่อสู่ลูกหลาน นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถทำหมันอย่างถูกกฎหมายได้ หากแม่ที่ตั้งครรภ์มีความผิดปกติด้านจิตใจ หรือ พิการ

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงทั่วประเทศและเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม รัฐบาลจึงใช้มาตรการควบคุมจำนวนประชากร เพื่อลดความต้องการใช้ทรัพยากรประเทศที่ขาดแคลนในขณะนั้น ตามกฎหมายระบุว่า

กฎหมายนี้ถือว่าเป็นการปรับปรุงพันธุ์ ป้องกันการเกิดของลูกหลานจากยีนด้อย และเพื่อปกป้องชีวิต สุขภาพของแม่ หากพบว่ามีอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติทางจิตใจอย่างเด่นชัด 

ทำให้มีประชากรกว่า 25,000 คนถูกบังคับทำหมันตามกฎหมาย และขณะนี้ผู้ได้รับความเดือดร้อนเหลืออยู่ราว 130 คนทั่วประเทศ ต่อมาพวกเขาได้รวมตัวกันฟ้องรัฐบาลเรียกร้องเงินเยียวยา และรัฐบาลได้มีคำสั่งชดเชยให้คนละ 3.2 ล้านเยนหรือประมาณ 735,000 บาท แต่โจทก์เห็นว่าราคาที่ให้มานั้นไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงฟ้องร้องต่อศาล จนในที่สุดศาลฎีกาญี่ปุ่น มีคำสั่งให้จ่ายเงินเพิ่มเป็น 16.5 ล้านเยน หรือ 3,800,000 บาท และคู่สมรสจำนวน 2.2 ล้านเยน หรือ 505,000 บาท 

โจทก์รายหนึ่งเล่าว่า เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเมื่ออายุได้ 19 ปี เพื่อทำหมัน เพียงเพราะถูกตั้งฉายาว่า "โรคจิตเภท" จากบุคคลอื่น ขณะที่โจทก์อีกหลายคนกล่าวว่า พวกเขาต้องเผชิญกับการถูกเลือกปฏิบัติ ไม่สามารถกลับไปทำงานที่เดิม ๆ ในสภาพแวดล้อมแบบเดิม ๆ ได้ นอกจากคำขอโทษอย่างเป็นทางการจากนายกรัฐมนตรีแล้ว โจทก์ยังเรียกร้องให้มีการชดเชยต่อผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ รวมถึงผู้ที่ถูกบังคับทำหมันแต่ไม่ได้ยื่นฟ้อง

อ่านข่าวอื่น :

 ยังวุ่น "ตัดป่าทับลาน" รอมติบอร์ดอุทยาน โจทย์หินคัดกรองคน

ด่วน! บุกเดี่ยวชิงทอง 40 บาทกลางห้าง แกะรอยเส้นทางหนี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง