สงครามชายแดนกระทบ "ระบบสาธารณสุข" แรงงาน-ผู้ลี้ภัย

ภูมิภาค
27 ก.ค. 67
17:58
161
Logo Thai PBS
สงครามชายแดนกระทบ "ระบบสาธารณสุข" แรงงาน-ผู้ลี้ภัย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตั้งเเต่เกิดการรัฐประหารในประเทศเมียนมา ส่งผลต่อการย้ายถิ่นฐาน รวมถึงการลี้ภัยของชาวเมียนมา ซึ่งปัจจัยนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ในค่ายอพยพผู้ลี้ภัย หรือตามชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานของเเรงงานชาวเมียนมา

ปัญหาความรุนเเรง เเละสงครามในประเทศเมียนมา นับเป็นปัจจัยหลัก ที่ส่งผลต่อการย้ายถิ่นฐาน รวมถึงการลี้ภัยของชาวเมียนมา ซึ่งเเน่นอนว่าปัจจัยนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขในบริเวณค่ายอพยพผู้ลี้ภัย หรือตามชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานของเเรงงานชาวเมียนมา ซึ่งประเทศไทย มีแนวชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ ประเทศลาว, เมียนมา, กัมพูชา และมาเลเซีย โดยเฉพาะชายแดนไทยกับเมียนมาที่มีความยาวกว่า 2,401 กิโลเมตร และมีสถิติของแรงงานชาวเมียนมาสูงที่สุด

ในช่วงที่ผ่านมา ตั้งเเต่เกิดการรัฐประหารในประเทศเมียนมา รวมไปถึงสถานการณ์การเเพร่ระบาดของโรค Covid-19 ทำให้เห็นถึงความสำคัญของระบบสาธารณสุข เเละช่องโหว่ในการเข้าถึงการบริการสุขภาพของแรงงาน และผู้ลี้ภัยชาวเมียนมา จนกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ปัญหาการเข้าถึงระบบสาธารณสุขของแรงงานข้ามชาติ

ในช่วงหลังจากการเกิดรัฐประหารในประเทศเมียนมา รวมไปจนถึงการบังคับเกณฑ์ทหารในประเทศเมียนมา ต่างส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยความไม่สงบ เเละผู้ที่หนีการเกณฑ์ทหารเข้ามาที่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ปัจจัยเหล่านี้ ต่างส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพในบริเวณค่ายผู้อพยพ หรือค่ายผู้ลี้ภัย

1.สถานะทางกฏหมาย

ผู้ลี้ภัยชาวเมียนมา เเละแรงงานที่ลักลอบเข้มาในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีปัญหาเอกสารที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย ทำให้มีข้อจพกัดในการเข้าถึงการบริการสาธารณสุข ทำให้ชาวเมียนมาทั้งสองกลุ่มนี้ ต้องพึ่งพาการบริการทางการเเพทย์จากหน่วยงานเอกชน หรือองค์กรพัฒนาต่าง ๆ รวมไปถึงการช่วยเหลือของรัฐบาลไทยในบางครั้ง เเต่ก็ติดปัญหาทางด้านข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร ที่มีไม่เพียงพอทั้งด้าน ยา เวชภัณฑ์ และบุคลากรทางการเเพทย์ตามแนวตะเข็บชายเเดน

2. การขาดเเคลนทรัพยากร

ถึงแม้ว่าค่ายผู้ลี้ภัยจะได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานเอกชน เเละรัฐหลายภาคส่วน เเต่ก็ยังคงพบกับข้อจำกัดในด้านการขาดแคลนทรัพยากรทางด้านสาธารณสุข เช่นการขาดเเคลนยาเวชภัณฑ์ รวมไปจนถึงบุคาลากรที่มีความเชียงชาญในการควบคุมโรคติดต่อในบริเวณค่ายผู้อพยพ

นพ. สุรพันธ์ เเสงสว่าง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบและแรงงานข้ามชาติ

นพ. สุรพันธ์ เเสงสว่าง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบและแรงงานข้ามชาติ

นพ. สุรพันธ์ เเสงสว่าง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบและแรงงานข้ามชาติ

นพ.สุรพันธ์ เเสงสว่าง ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธ์ุ ชายขอบและแรงงานข้ามชาติระบุว่า ปัจจุบันสถานการณ์การเข้ามาของชาวเมียนมามีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เเละด้วยปัญหาในการเข้ามาอย่างผิดกฏหมาย ทำให้กลุ่มผู้ที่เข้ามามักจะไปอยู่ตามชุมชนผู้ใช้แรงงานชาวเมียนมา ที่มีความแออัดเป็นอย่างมาก และลักษณะของที่อยู่อาศัยไม่ถูกสุขลักษณะเท่าที่ควร

รวมถึงด้วยปัจจัยของการเข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุข เเละขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเองการโรคติดต่อ ทำให้ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อ ในบริเวณชุมชนผู้ใช้แรงงานชาวเมียนมา เริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคติดต่อ และปัจจุบัน อยู่ในช่วงฤดูฝน ปัญหาโรคติดต่อที่พบได้มากในช่วงนี้คือ โรคไข้เลือดออก เเละมาราเรีย

โรคระบาดในค่ายผู้อพยพ-ชุมชนแรงงานชาวเมียนมา

1.วัณโรค (Tuberculosis)

วัณโรคเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้ง่ายในสภาพแวดล้อมที่มีความหนาแน่นสูงในค่ายผู้อพยพ หรือกลุ่มชุมชนแรงงานข้ามชาติ โดยมีช่องโหว่ทางด้านการขาดการตรวจคัดกรองและการรักษาที่เหมาะสม ทำให้โรคนี้สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ชาวเมียนมาส่วนมากขาดความรู้เกี่ยวกับโรคและวิธีการป้องกันในชุมชนยังเป็นปัจจัยที่ทำให้การควบคุมโรคนี้เป็นไปอย่างยากลำบาก

2.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลัน (Acute Respiratory Infections)

โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในค่ายอพยพ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งโรคนี้สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

3.โรคอุจจาระร่วง (Diarrheal Diseases)

การขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาดและการสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โรคอุจจาระร่วงแพร่ระบาดในค่ายอพยพ การที่หลายคนต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดและการขาดสุขอนามัยที่ดีทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหารและน้ำดื่ม

ที่ผ่านมาจึงมักมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐเเละเอกชน เข้ามาร่วมสร้างระบบน้ำดื่มที่ถูกสุขลักาณะ รวมไปถึงระบบห้องน้ำ ที่จะลดความเสี่ยงด้านการเกิดโรคดังกล่าว

4.มาลาเรีย (Malaria)

มาลาเรียเป็นโรคที่พบได้บ่อยในพื้นที่ที่มีแมลงนำโรค เช่น ยุง ในค่าผู้อพยพลี้ภัย มักจะขาดมุ้งกันยุงและการไม่สามารถเข้าถึงยาป้องกันและรักษามาลาเรีย ทำให้โรคนี้เป็นปัญหาใหญ่ในค่ายอพยพ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศชื้นในแนวตะเข็บชายแดนที่เป็นที่ตั้งของค่ายผู้อพยพ

5.โควิด-19 (COVID-19)

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ยังเป็นโรคที่ยังต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และโรคนี้ยิ่งทำให้สถานการณ์ในค่ายอพยพซับซ้อนยิ่งขึ้น บวกกับปัจจัยด้านการขาดแคลนทรัพยากรในการตรวจคัดกรองและการรักษา รวมถึงการขาดการเข้าถึงวัคซีน ทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคนี้เป็นไปอย่างยากลำบาก

ถึงแม้ว่าเราจะเห็นภาพของการเสริมสร้างความรู้และการป้องกันในการเกิดโรคระบาดในบริเวณค่ายผู้ลี้ภัย เเต่เราก็ยังคงเห็นจุดอ่อนในด้านการขาดเเคลนบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงเวชภัณฑืยาที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ลี้ภัยที่ทะลักเข้ามาอย่างมหาศาล ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้งด้านระบบสุขาภิบาล เเละการเข้าถึงเเหล่งน้ำที่สะอาด เพื่อช่วยเหลือ เเละลดการเกิดโรคในค่ายผู้ลี้ภัยในบางส่วน

รายงาน : ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ

อ่านข่าว :

สำรวจกองกำลังชาติพันธุ์ในเมียนมา ตอนที่ 1

“สำรวจกองกำลังชาติพันธุ์ ในเมียนมา” ตอน 2

เร่งขยายพื้นที่ปกครอง แนวเขตทับซ้อน รอยร้าวที่รอวันปะทุ ชาติพันธุ์เมียนมา

สงครามแยกแผ่นดินเมียนมาสะเทือนไทย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง