ความไม่สงบในเมียนมา เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศเมียนมา และประเทศใกล้เคียงอย่างหลีกเลี่ยงมาอย่างยาวนาน และตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2564 สถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมาก็ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ กระทบเป็นวงกว้างทั้งในด้านมนุษยธรรม เศรษฐกิจ และภูมิศาสตร์การเมือง และท่าทีของความรุนเเรงก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเเต่อย่างใด
ล่าสุดกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์โกกั้ง MNDAA เข้ายึดเมืองล่าเสี้ยวได้แบบเบ็ดเสร็จ และกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ว้า UWSA ได้ส่งทหารกว่า 300 นาย เข้าพื้นที่เมืองหนานปั่ง จังหวัดล่าเสี้ยว โดยให้เหตุผลว่าจะเข้าไปดูแลทรัพย์สิน อาคารสำนักงานของกองกำลังว้า UWSAที่อยู่ในเมืองล่าเสี้ยว พร้อมประกาศว่าจะไม่แทรกแซงการสู้รบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ปฏิบัติการ 1027 Part 2 ที่แผ่ขยายไปทั่วรัฐฉานเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ติดกับชายแดนจีน และมีโครงการลงทุนของจีนจำนวนมาก
พื้นที่สำคัญ ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ คือ เมืองล่าเสี้ยว: เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในรัฐฉานเหนือ และเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ การยึดครองเมืองล่าเสี้ยวได้ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของกลุ่มพันธมิตร
เมืองหมู่เจ้: เป็นเมืองชายแดนที่ติดกับจีน มีด่านชายแดนที่สำคัญสำหรับการค้าระหว่างสองประเทศ
เมืองน้ำคำ: เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเมืองต่างๆ ในรัฐฉานเหนือ
เมืองน้ำผักกา: เป็นเมืองที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮั่น และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เมืองก๊ตขาย: เป็นเมืองที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะแร่ธาตุต่างๆ
สถานการณ์เช่นนี้นักวิชาการ และผู้ที่ติดตามเกี่ยวกับเรื่องสงครามในประเทศเมียนมาหลายคน เริ่มตั้งสมมุติฐานกับประเทศจีน
ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีฝ่ายบริการสังคม และวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC)
ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีฝ่ายบริการสังคม และวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC) ระบุว่า ในบริเวณรัฐฉานเหนือ จะมีเส้นยุทธศาสตร์อยู่สองเส้น ที่เป็นเส้นทางสายไหมของจีน เส้นทางดังกล่าวมีความต้องการในการเชื่อมไปยังเอเชียใต้ ไม่ว่าจะเป็นที่อินเดีย หรือบังกลาเทศ และปากีสถาน ซึ่งหนึ่งในสองเส้นนี้ จะมีอาณาเขตที่เข้าพม่าเป็นหลัก ก็คือเส้นทางรุ่ยลี่ และมูเจ
และมีอีกหนึ่งเส้นที่มุ่งไปยังรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ทั้งสองเส้นทางนี้ อยู่ในพื้นที่รัฐฉานเหนือ เพราะฉะนั้น เส้นทางสายไหมของจีนในรัฐฉานเหนือ จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะสงครามในประเทศเมียนมา
สมมุติฐานเริ่มชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ ที่เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ผลกระทบที่สำคัญมีดังนี้
การหยุดชะงักของการขนส่ง: เส้นทางคมนาคมที่ใช้ในการขนส่งสินค้าตามโครงการเส้นทางสายไหม จะถูกทำลายหรือปิดกั้นเนื่องจากความขัดแย้ง ทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างจีนและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคหยุดชะงักลง
ความไม่มั่นคงและความเสี่ยง: บริษัทขนส่งและนักลงทุนจะไม่กล้าที่จะใช้เส้นทางที่ผ่านพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีหรือปล้นสะดม ทำให้ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มสูงขึ้น
ความล่าช้าในการส่งมอบสินค้า: การขนส่งสินค้าจะล่าช้าลงอย่างมาก เนื่องจากต้องหาเส้นทางอื่นที่ปลอดภัยกว่า แต่ก็อาจจะใช้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
การเพิ่มขึ้นของค่าขนส่ง: ค่าขนส่งสินค้าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นและปริมาณสินค้าที่ลดลง
ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน: การหยุดชะงักของการขนส่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่พึ่งพาวัตถุดิบจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การสูญเสียการลงทุน: นักลงทุนจะลังเลที่จะลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางสายไหมในเมียนมา เนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมืองและความเสี่ยงทางธุรกิจ
ปัจจัยทั้งหมดนี้ อาจจะทำให้จีนเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในพื้นที่บริเวณรัฐฉานเหนือ เพราะหากเกิดการหยุดชะงักของโครงการเส้นทางสายไหมจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง และยังไม่นับรวมกับท่อแก๊สธรรมชาติที่ถูกวางจาก ท่าเรือจิตตะกอง ในประเทศบังกลาเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่หลักด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศจีน นี่จึงเป็นเหตุผลที่จีนเข้ามามีอิทธิพล และดูแลพื้นที่ที่เปรียบเสมือนความมั่นคงทางด้านพลังงาน
และในการปฏิบัติการ 1027 ภาค 2 ในรัฐฉานเหนือ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การลงทุนของจีนอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน
ความไม่มั่นคงและความเสี่ยง: การสู้รบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่การลงทุนของจีนกลายเป็นเขตสงคราม ทำให้นักลงทุนจีนและบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนในรัฐฉานเหนือต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงในการสูญเสียทรัพย์สินและบุคลากร
การหยุดชะงักของโครงการ: โครงการลงทุนต่างๆ ที่จีนดำเนินการอยู่ในรัฐฉานเหนือ ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน โครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการพัฒนาอื่นๆ ต่างต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว หรือถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน
การเพิ่มขึ้นของต้นทุน: แม้ว่าโครงการจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ แต่ก็ต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากต้องเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย และค่าจ้างแรงงานก็สูงขึ้นตามสภาวะที่เสี่ยง
ความเสียหายต่อทรัพย์สิน: โรงงานและโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้นอาจถูกทำลายจากการสู้รบ ทำให้เกิดความเสียหายทางวัตถุจำนวนมาก และต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มเติมในการซ่อมแซมหรือสร้างใหม่
ความไม่ไว้วางใจจากนักลงทุน: เหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้นักลงทุนรายใหม่ลังเลที่จะเข้ามาลงทุนในรัฐฉานเหนือ เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน: การหยุดชะงักของโครงการลงทุนในรัฐฉานเหนือ ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของสินค้าต่างๆ ที่ผลิตในพื้นที่ และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีนในภาพรวม
เเละจากภาวะสงครามในประเทศเมียนมาที่มีความรุนเเรงตั้งเเต่ปลายปี 2566 เริ่มมีสัญญานว่าจีนเริ่มหาเส้นทางใหม่ในการขนย้ายสินค้า ทนแทนเส้นทางเก่าในบริเวณเมืองรุ่ยลี่ ด้านตรงข้ามกับด่านมูเซทางประเทศเมียนมา เนื่องจากเส้นทางนั้นมีการเชื่อมไปยังเมืองมัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ซึ่งเมื่อเส้นทางดังกล่าวมีปัญหาจากการสู้รบในประเทศ ทำให้ทางรัฐบาลจีน ได้มีการส่งนักวิจัยมาสำรวจความเป็นไปได้ ในการพลักดันให้เส้นทางในบริเวณเเม่น้ำโขงเป็นเส้นทางใหม่ในการขนส่ง ทนแทนด่านพรมแดนในบริเวณเมืองรุ่ยลี่ เเละมูเซ พร้อมกับพลักดันให้ด่านท่าเรือกวนเหล่ย เป็นด่านนำเข้าผลไม้สดจากไทย ผ่านท่าเรือเชียงแสนทั้งหมดนี้ เป็นโครงการที่ทางประเทศจีน เข้ามาสำรวจความเป็นไปได้ในโครงการพลักดันระบบ Logistic ผ่านทางเส้นทางเเม่น้ำโขง เนื่องจากจีน ไม่สามารใช้เส้นทางในบริเวณรัฐฉานได้เหมือนเดิม
รายงาน:ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ