ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อนาคตเศรษฐกิจเมียนมา ท่ามกลางสงครามและความไม่สงบ

ภูมิภาค
11 ส.ค. 67
17:45
296
Logo Thai PBS
อนาคตเศรษฐกิจเมียนมา ท่ามกลางสงครามและความไม่สงบ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เมียนมา หนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง แต่กลับต้องเผชิญปัญหาจากความขัดแย้งภายในประเทศที่ยืดเยื้อ สงครามกลางเมืองความไม่สงบทางชาติพันธุ์ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเมียนมาอย่างรุนแรง ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัว การลงทุนลดลงและความยากจนเพิ่มสูงขึน

แหล่งรายได้หลักของเมียนมา ส่วนใหญ่มาจากการจัดเก็บภาษี และในส่วนของค่าใช้จ่ายของภาครัฐเอง ก็มีส่วนที่จะต้องใช้จ่ายหลายสัดส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคการศึกษา สาธารณูปโภค เศรษฐกิจ การรักษาพยาบาล ซึ่งจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน

ประกอบกับการไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเงินที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศเมียนมา สู่โลกภายนอกนั้นจะตกลงมาตามหลักเศรษฐศาสตร์

หากลองย้อนกลับไปในปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศเมียนมาในสมัยนั้น มีเสถียรภาพทางการเมืองเป็นอย่างมาก ระบบเศรษฐกิจถูกพัฒนาไปในทิศทางที่เติบโต ค่าเงินพุ่งสูงขึ้นเเละอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้จากนานาชาติ พร้อมกับมีการลงทุนจากต่างประเทศ

รศ.ดร.นิสิต พันธมิตร หัวหน้าศูนย์อาเซียนศึกษา และนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เเสดงความคิดเห็นต่ออนาคตระบบเศรษฐกิจในประเทศเมียนมา ระบุว่า หากเร่งให้ประเทศเมียนมามีเสถียรภาพทางการเมืองเร็วขึ้นมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลดีต่อภาพรวมของประเทศเมียนมาเอง

เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศเมียนมาต้องพบกับสถานการณ์เงินเฟ้อจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศ และผลเสียที่ตามมาคือ ประเทศเมียนมาไม่สามารถผลิตสินค้า เพื่อตอบสถนองความต้องการในประเทศตัวเองได้ทั้งหมด จึงมักพึ่งการนำจากประเทศเพื่อนบ้าน

รวมถึงประเทศต่าง ๆ เข้ามาเป็นส่วนมาก และเมื่อค่าเงินของประเทศเมียนมาไม่เป็นที่ยอมรับ เเละไม่สามารถที่จะใช้อัตราเเลกเปลี่ยนเงินที่เป็นเงินสกุลตัวเองได้ และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ประเทศเมียนมาถึงต้องพบกับสถาการณ์ค่าเงินลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยตัวแปรที่สำคัญที่จะแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศเมียนมาคือความมีเสถียรภาพทางการเมือง และความขัดเเย้งระหว่างกองกำลังติดอาวุธเเละรัฐบาลเมียนมาลดน้อยลง

รศ.ดร.นิสิต พันธมิตร หัวหน้าศูนย์อาเซียนศึกษา และนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.ดร.นิสิต พันธมิตร หัวหน้าศูนย์อาเซียนศึกษา และนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รศ.ดร.นิสิต พันธมิตร หัวหน้าศูนย์อาเซียนศึกษา และนักวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สาเหตุของเงินจ๊าดอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง

ความขัดแย้งภายในประเทศ : สงครามกลางเมืองและความไม่สงบทางชาติพันธุ์ที่ยืดเยื้อ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐาน การผลิต และการค้า ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมหดตัวลงเป็นอย่างมาก

การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ : เกิดจากการคว่ำบาตรจากนานาชาติเพื่อกดดันให้รัฐบาลยุติความรุนแรง พร้อมกับเเก้ไขปัญหายาเสพติดภายในประเทศที่มีความรุนเเรงเป็นอย่างมาก จึงทำให้การลงทุนและการค้าของเมียนมาถูกจำกัด

ความไม่มั่นคงทางการเมือง : การเปลี่ยนแปลงอำนาจบ่อยครั้ง รวมถึงความไม่สงบในประเทศจากการสู้รบ ส่งผลต่อเชื่อมั่นจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก

ผลกระทบที่จะตามมาจากค่าเงินอ่อนค่า

ราคาสินค้าสูงขึ้น : ค่าเงินจ๊าดที่อ่อนค่าลง ทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
กำลังซื้อลดลง : ประชาชนมีกำลังซื้อลดลง เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น

หนี้สินเพิ่มขึ้น : ผู้ที่กู้เงินต่างประเทศจะต้องแบกรับภาระหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องนำเงินมาชำระหนี้ในจำนวนที่มากขึ้น
การลงทุนลดลง: นักลงทุนต่างชาติมีความระมัดระวังในการลงทุนในเมียนมา เนื่องจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สูงขึ้น

อนาคตของเศรษฐกิจเมียนมายังคงมีความไม่แน่นอนสูง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รศ.ดร.นิสิต พันธมิตร กล่าวเพิ่มว่า หากเมียนมาสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศได้เร็ว พร้อมกับการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง และมีการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ก็มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของเมียนมาจะฟื้นตัวได้ในระยะยาว

รายงาน:ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง