วันนี้ (18 ส.ค.2567) ในวันที่ 19 ส.ค.ศาลอาญา นัดตรวจพยานหลักฐานในคดีที่ พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญายื่นฟ้อง นายทักษิณ ชินวัตร ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กรณีให้สัมภาษณ์กับเดอะโชซอนมีเดีย (The ChosunMedia) ของเกาหลีใต้เมื่อปี2558 มีเนื้อหาพาดพิงสถาบันเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา
ซึ่งนายทักษิณได้รับการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยตีราคาประกัน 500,000 บาทกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
โดยในวันพรุ่งนี้ (19 ส.ค.) จำเลยจะต้องเดินทางมาศาลด้วยตนเอง เพื่อตรวจหลักฐานคู่ความ
อ่านข่าว “ทวี” ยัน “ทักษิณ” พ้นโทษแล้ว หลังมีชื่อได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ทักษิณ ชินวัตร ตรวจความเรียบร้อยให้ลูกสาว
สำหรับการรักษาความปลอดภัยของศาลอาญาจะเป็นไปตามปกติ แต่ได้มีการกำชับเรื่องอัตรากำลังในวันดังกล่าว โดยมีการขอกำลังเสริมจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล 2 และเจ้าพนักงานตำรวจศาลมาเพื่ออำนวยความสะดวกในกรณีที่มีมวลชนเข้าในพื้นที่
ในเบื้องต้นศาลอาญาจะไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าฟังการพิจารณาคดี เเต่จะจัดพื้นที่ไว้ตรงบริเวณบันไดหน้าอาคารจุดเดิม ส่วนรายละเอียดข่าวอาจจะมีการทำเอกสารข่าวเเจก
อ่านข่าว ราชกิจจาฯ ประกาศแต่งตั้ง "แพทองธาร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 31
แจง "ทักษิณ" รับอภัยโทษพร้อม 8,000 คน
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร ได้รับพระราชทานอภัยโทษว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณฯ พระราชทานอภัยโทษกับผู้ต้องขังในกรมราชทัณฑ์ตามหลักเกณฑ์ เช่น บุคคลที่อยู่ในเรือนจำเป็นระยะเวลา 1 ใน 3 หรือหากมีโทษมากอย่างน้อยต้อง จำคุกมาแล้ว 8 ปี เพื่อรักษาสมดุลความรู้สึกทั้งภายนอกและภายในเรือนจำ รวมถึงหลักเกณฑ์อื่น
เนื่องจากเป็นปีมหามงคล ตั้งแต่นักโทษชั้นกลางขึ้นไปที่จะได้รับการพระราชทานอภัยโทษ ที่เป็นนักโทษเด็ดขาด และนักโทษกักขังแทนค่าปรับ ที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ รวมเกือบ 31,000 คน
อ่านข่าว โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รักษาการ รมว.ยุติธรรม
พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ทุกคนที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ จะต้องมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วย อัยการ ศาล มาดูรายละเอียดรายบุคคล ส่วนผู้ที่ได้รับการพักโทษ ก็จะได้รับการอภัยโทษทั้งหมด ซึ่งมีประมาณ 8,000 คน ส่วนผู้ที่ไม่ได้อยู่ ในกลุ่ม 1 ใน 3 ทั้งคดียาเสพติดและคดีทุจริต ก็จะได้รับการลดโทษแต่ไม่ได้รับการปล่อยตัว
ส่วนกระบวนการตรวจสอบ กรณีการพักรักษาตัวของนายทักษิณที่โรงพยาบาลตำรวจชั้น 14 หากพ้นโทษแล้วถือว่าจบเลยหรือไม่ว่า อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งเรื่องต่างๆเป็นกระบวนการตรวจสอบที่มีความเป็นอิสระ ทั้งนี้หาก ป.ป.ช.สอบถามมายังตนเองก็พร้อมให้ข้อมูลทุกอย่าง
ส่วนจะรวมถึงกล้องวงจรปิดด้วยหรือไม่นั้น หากอยู่ในการครอบครองของกระทรวงยุติธรรม ก็สามารถให้ข้อมูลได้ แต่หากอยู่ในการครอบครองของหน่วยงานอื่น ก็จะต้องดูข้อกฎหมายว่าอนุญาตได้หรือไม่
เมื่อถามว่าจะส่วนกังวลหรือไม่ว่าจะมีการกตรวจสอบย้อนหลัง พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ก็ทำตามกฎหมาย หากทำนอกเหนือกว่านั้นก็จะผิด อย่างที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเคยบอกไว้ ว่ากฎกระทรวงอาจจะไปละเมิดสิทธิ
ดังนั้นเมื่อกฎกระทรวงออกมาก่อนแล้วได้รับข้อมูลมาแล้ว ก็จะรับฟังความคิดเห็นได้หลายฝ่าย พอในรัฐธรรมนูญใหม่ ให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
เมื่อถามย้ำว่าในขณะนี้นายทักษิณพ้นโทษแล้วใช่หรือไม่ พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่าได้รับอภัยโทษ
อ่านข่าว :