ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผู้เชี่ยวชาญเตือน "ไทย" เตรียมรับมือ "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ใหม่

สังคม
19 ส.ค. 67
06:49
6,894
Logo Thai PBS
ผู้เชี่ยวชาญเตือน "ไทย" เตรียมรับมือ "ฝีดาษลิง" สายพันธุ์ใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้เชี่ยวชาญหลายคน เริ่มออกมาเตือนประเทศไทยเตรียมรับมือกับโรคเอ็มพอกซ์ (Mpox) หรือ ฝีดาษลิงสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเริ่มพบผู้ติดเชื้อนอกทวีปแอฟริกาแล้ว หลัง WHO ยกระดับเป็น "ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข"

เมื่อวันที่18 ส.ค.2567 เพจเฟซบุ๊กของศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุใจความถึงสถานการณ์การระบาดของ โรค "ฝีดาษวานร" หลังองค์การอนามัยโลก ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ

พร้อมระบุว่าปีนี้ ได้เกิดการระบาดใหญ่ ในทวีปแอฟริกา ผู้ป่วยเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 3.4 โดยพบว่าเป็นไวรัสในกลุ่ม Clade 1b ซึ่งต่างกับการระบาดก่อนหน้านี้ จึงทำให้เกิดความกังวลว่าจะระบาดไปทั่วโลก นพ.ยง มองว่า การเฝ้าระวังตรวจสายพันธุ์ ฝีดาษวานร ในประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าเป็น Clade 1b  หรือสายพันธุ์ที่มาจากแอฟริกา จะเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลและต้องเฝ้าระวังติดตามไม่ให้แพร่กระจายได้

ถ้ามีการพบสายพันธุ์ดังกล่าว จะมีความสำคัญในการป้องกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางเช่นเด็ก ขณะนี้วัคซีนยังมีราคาแพงมาก การลดขนาดของวัคซีนเช่นการให้ในผิวหนัง อาจจะต้องศึกษาอย่างเร่งด่วน

ที่มา : เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ

ที่มา : เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ

ที่มา : เฟซบุ๊ก นพ.ยง ภู่วรวรรณ

ด้านนายอนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. โพสต์ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสในเฟซบุ๊ก โดยใจความระบุว่า

ไวรัส Clade 1b ที่พบในผู้ป่วยจะเกิดจากการเชื้อจากสัตว์สู่คนโดยตรง ทำให้เกิดความหลากหลายพันธุกรรมของไวรัสสูงมาก เพราะมีการติดเชื้อจากสัตว์หลายชนิด หลายเวลา ส่วนเคลดวันบี จะมีความแตกต่างทางพันธุกรรมน้อยกว่ามาก ซึ่งเชื่อมโยงกับการแพร่เชื้อจากคนสู่คนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในระบาดวิทยา

นอกจากนี้ยังระบุว่า ข้อมูลที่มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าผู้ติดเชื้อในแอฟริกาเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 10 อาจสูงเกินข้อเท็จจริง โดยได้อ้างอิงการวิเคราะห์ข้อมูลทางการ จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถืออย่าง Africa CDC พร้อมระบุว่าว่า การประกาศภาวะฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก เพราะไวรัสแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ใช่ไวรัสมีความรุนแรงสูง

ที่มา : เฟซบุ๊ก นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา

ที่มา : เฟซบุ๊ก นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา

ที่มา : เฟซบุ๊ก นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา

อ่านข่าวเพิ่ม :

แมนฯ ซิตี้ บุกชนะ เชลซี 2-0 ประเดิม 3 แต้ม ศึกพรีเมียร์ลีก

ไฟไหม้ชิงช้าสวรรค์เทศกาลดนตรีเยอรมนี เจ็บกว่า 20 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง