ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รวมไฮไลต์น่ารู้ "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024" และจุดเริ่มต้นมหกรรมกีฬาคนพิการ สุดยิ่งใหญ่

กีฬา
20 ส.ค. 67
17:05
2,669
Logo Thai PBS
รวมไฮไลต์น่ารู้ "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024" และจุดเริ่มต้นมหกรรมกีฬาคนพิการ สุดยิ่งใหญ่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ถึงเวลาของมหกรรมกีฬา "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024" ปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 17 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม ถึง 8 กันยายน 2567 มีนักกีฬาพาราลิมปิก 4,400 คน จาก 184 ประเทศทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขันใน 22 ชนิดกีฬา ชิงชัยกันทั้งหมด 529 เหรียญทอง

การแข่งขันกีฬา "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024" จัดหลังจากการแข่งขันมหกรรม "โอลิมปิก" สิ้นสุดลง ประมาณ 2 สัปดาห์ โดย "โอลิมปิก 2024" เพิ่งจบไป เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา 

ในพาราลิมปิกเกมส์ 2024 ครั้งนี้ ทัพนักกีฬาพาราลิมปิกทีมชาติไทย คว้าโควตาไปพิสูจน์ความแข่งแกร่ง ทั้งหมด 79 คน จาก 15 ชนิดกีฬา ยิงธนู, กรีฑาและวีลแชร์เรซซิ่ง, แบดมินตัน, บอคเซีย, จักรยาน, เรือแคนนู, เรือพาย, วีลแชร์ฟันดาบ, ยกน้ำหนัก, ยิงปืน, ว่ายน้ำ, เทเบิลเทนนิส, เทควันโด, ยูโด, วีลแชร์เทนนิส

ภาพจาก : Paralympic Thailand (Thai Para Athletes)

ภาพจาก : Paralympic Thailand (Thai Para Athletes)

ภาพจาก : Paralympic Thailand (Thai Para Athletes)

การแข่งขันกีฬาทุกประเภท ต้องใช้ความทุ่มเทในการฝึกฝนอย่างหนัก เพื่อไปสู่เป้าหมายคือเหรียญรางวัลอันทรงเกียรติ "พาราลิมปิก" ก็เช่นกัน เพราะนั้นคือความภาคภูมิใจ และการก้าวข้ามขีดจำกัดของร่างกาย อีกทั้งความสำเร็จของนักกีฬายังจะกลายเป็นแรงบรรดาลใจให้กับทุกคนได้เห็นถึงความพยายามอันน่ายกย่อง

ไทยพีบีเอสออนไลน์จะพาไปทำความรู้จัก "พาราลิมปิกเกมส์" ให้มากขึ้น รวมทั้งมหกรรมกีฬาคนพิการสุดยิ่งใหญ่นี้เริ่มต้นมาได้อย่างไร และในปีนี้ "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024" จะมีไฮไลต์อะไรให้ได้ติดตามกันบ้าง  

กีฬาพาราลิมปิกเกมส์ 

พาราลิมปิก (Paralympic) คำนำหน้า "para" ในคำว่า Paralympic (พาราลิมปิก) หมายถึง "ข้าง" หรือ "ติดกัน" ในภาษากรีก ส่วนคำว่า "Olympic" คือ การแข่งขัน ซึ่งเป็นการสื่อสารว่า การแข่งขันพาราลิมปิก จะจัดคู่กับ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก

"พาราลิมปิกเกมส์" เป็นการแข่งขันกีฬาสำหรับคนพิการจากหลายประเทศทั่วโลก จัดขึ้นทุก 4 ปี หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสิ้นสุดลงแล้ว ประเทศเจ้าภาพก็จะจัดแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกด้วย ผู้รับผิดชอบการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก คือ "คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล"

สัญลักษณ์ของ "พาราลิมปิก" เป็นแถบโค้ง มีสีแดง น้ำเงิน และเขียว ส่วน "มาสคอต" ประจำกีฬา "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024" ครั้งนี้คือ "Phryges" หรือ ฟรีจีส ที่ใช้ต้นแบบจากหมวกของชาว "ฟรีเจีย" เป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพ "Phryges" เป็นมาสคอตของทั้ง "โอลิมปิก 2024" และ "พาราลิมปิก 2024" 

มาสคอต Phryges สำหรับการแข่งขัน "พาราลิมปิกเกมส์ ปารีส 2024" มีขาข้างหนึ่งสวมใส่ขาเทียม เพื่อเป็นการสื่อถึงการแข่งขันกีฬาสำหรับคนพิการ ซึ่ง Phryges เป็นมาสคอตทรงสามเหลี่ยมสีแดง มีดวงตายิ้มแย้ม มีโลโก้สัญลักษณ์โอลิมปิก 2024 ไว้ตรงกลาง

Phryges มีคำขวัญประจำตัว ว่า "Alone we go faster, but together we go further" หรือ "ไปคนเดียวไปได้ไว  แต่ไปด้วยกันไปได้ไกลกว่า"

พาราลิมปิกเกมส์ เริ่มขึ้นได้อย่างไร 

พาย้อนไปจุดเริ่มต้นของ "พาราลิมปิกเกมส์" อยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย ลุดวิก กูมมัน ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลสโตก แมนเดวิลล์ มีแนวคิดจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น เพื่อเป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและจิตใจของทหารผ่านศึกชาวอังกฤษ โดยการแข่งครั้งแรกมีขึ้นในปี ค.ศ.1948 ตั้งชื่อการแข่งขันว่า "สโต๊ก แมนเดวิลล์ เกมส์" ครั้งนั้นเป็นการจัดการแข่งขันสำหรับนักกีฬาวีลแชร์

และในปี ค.ศ.1952 มีการจัดการแข่งขันที่ประเทศอังกฤษเช่นกัน ครั้งนั้นมีทหารผ่านศึกชาวดัตซ์ เข้าร่วมแข่งขันด้วย และอาจกล่าวได้ว่า เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการ ในระดับนานาชาติครั้งแรกของโลก   

จาก "สโต๊กแมนเดวิลล์เกมส์" สู่ "พาราลิมปิกเกมส์"

นับแต่นั้นเป็นต้นมา จึงมีการจัดการแข่งขันเรื่อยมา กระทั่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ปี ค.ศ.1960 ได้ปรับระบบ "การจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการนานาชาติ" เข้าสู่ "กีฬาโอลิมปิกคนพิการ" ด้วยการจัดการแข่งขัน "โอลิมปิกคนพิการ" ต่อจาก "โอลิมปิก" ในปีเดียวกันเป็นครั้งแรก แต่แนวคิดดังกล่าวก็ประสบปัญหา โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่บานปลายของเมืองเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กีฬาคนพิการนานาชาติต้องแยกไปแข่งขันเองต่างหาก ตามหัวเมืองอื่น ๆ (อ้างอิง : การกีฬาแห่งประเทศไทย)

จนในปี ค.ศ.1988 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสหพันธ์กีฬาคนพิการนานาชาติ ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล International Paralympic Committee (IPC) ร่วมกันขอความร่วมมือ ให้เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกเกมส์ รับหน้าที่ เป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิก ควบคู่ไปในปีเดียวกัน จึงกล่าวได้ว่า พาราลิมปิก ครั้งที่ 8 ที่ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1988 เป็นการเริ่มต้น กีฬาพาราลิมปิก อย่างเป็นทางการ แต่นั้นมานักกีฬาคนพิการทั่วโลกจึงมีเวทีในการแข่งขันมาตลอด  

ส่วน "ประเทศไทย" เข้าร่วม พาราลิมปิกเกมส์ครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ.1988 (พ.ศ.2231) ที่กรุงโซล เกาหลีใต้ และได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมตลอดทุกการแข่งขัน โดย เหรียญรางวัลพาราลิมปิกเหรียญแรกของไทยคว้ามาได้ ครั้งนั้น เป็นเหรียญเงินจาก "สกุล คำตัน" ในการแข่งขัน "พุ่งแหลนชาย"

หลังจากนั้นทีมนักกีฬาไทย ก็สามารถคว้าเหรียญพาราลิมปิกได้สำเร็จทุกครั้งที่เข้าร่วมแข่งขัน โดยตั้งแต่เริ่มเข้าร่วมแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ ตั้งแต่ พาราลิมปิกเกมส์ 1988 ครั้งที่ 8 (ที่ กรุงโซล เกาหลีใต้) ถึง พาราลิมปิกเกมส์ 2016 ครั้งที่ 15 (ที่ รีโอเดจาเนโร บราซิล) ประเทศไทยได้เหรียญรวมทั้งหมด 69 เหรียญ แบ่งเป็น 19 เหรียญทอง 24 เหรียญเงิน และ 26 เหรียญทองแดง 

เฉลิมพงศ์ พันธุ์ภู่  การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์โตเกียว 2020 ที่สนามกีฬาโตเกียวเมโทรโพลิแทนในโตเกียว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564

เฉลิมพงศ์ พันธุ์ภู่ การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์โตเกียว 2020 ที่สนามกีฬาโตเกียวเมโทรโพลิแทนในโตเกียว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564

เฉลิมพงศ์ พันธุ์ภู่ การแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์โตเกียว 2020 ที่สนามกีฬาโตเกียวเมโทรโพลิแทนในโตเกียว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564

พาราลิมปิกเกมส์ จัดการแข่งขันมาแล้วกี่ครั้ง ที่ไหนบ้าง

ครั้งที่ 1 : ปี ค.ศ.1960 : เมืองเจ้าภาพ โรม อิตาลี

ครั้งที่ 2 : ปี ค.ศ.1964 : เมืองเจ้าภาพ โตเกียว ญี่ปุ่น

ครั้งที่ 3 : ปี ค.ศ.1968 : เมืองเจ้าภาพ เทลอาวีฟ อิสราเอล

ครั้งที่ 4 : ปี ค.ศ.1972 : เมืองเจ้าภาพ ไฮเดลแบร์ก เยอรมนีตะวันตก

ครั้งที่ 5 : ปี ค.ศ.1976 : เมืองเจ้าภาพ โทรอนโต แคนาดา

ครั้งที่ 6 : ปี ค.ศ.1980 : เมืองเจ้าภาพ อาร์นเฮม เนเธอร์แลนด์

ครั้งที่ 7 : ปี ค.ศ.1984 : เมืองเจ้าภาพ สโตกแมนเดวิลล์ สหราชอาณาจักร, นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ครั้งที่ 8 : ปี ค.ศ.1988 : เมืองเจ้าภาพ โซล เกาหลี

Hans Lubbering จากเยอรมนีตะวันตกยกแขนขึ้นหลังจากคว้าเหรียญทองในการแข่งขันวีลแชร์โอลิมปิกชาย 100 ม. รอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1988 ที่สนามกีฬาโอลิมปิกกรุงโซล

Hans Lubbering จากเยอรมนีตะวันตกยกแขนขึ้นหลังจากคว้าเหรียญทองในการแข่งขันวีลแชร์โอลิมปิกชาย 100 ม. รอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1988 ที่สนามกีฬาโอลิมปิกกรุงโซล

Hans Lubbering จากเยอรมนีตะวันตกยกแขนขึ้นหลังจากคว้าเหรียญทองในการแข่งขันวีลแชร์โอลิมปิกชาย 100 ม. รอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1988 ที่สนามกีฬาโอลิมปิกกรุงโซล

ครั้งที่ 9 : ปี ค.ศ.1992 : เมืองเจ้าภาพ บาร์เซโลนา สเปน

ครั้งที่ 10 : ปี ค.ศ.1996 : เมืองเจ้าภาพ แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา

ครั้งที่ 11 : ปี ค.ศ.2000 : เมืองเจ้าภาพ ซิดนีย์ ออสเตรเลีย

ครั้งที่ 12 : ปี ค.ศ.2004 : เมืองเจ้าภาพ เอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ)

ครั้งที่ 13 : ปี ค.ศ.2008 : เมืองเจ้าภาพ ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ครั้งที่ 14 : ปี ค.ศ.2012 : เมืองเจ้าภาพ ลอนดอน สหราชอาณาจักร

ครั้งที่ 15 : ปี ค.ศ.2016 : เมืองเจ้าภาพ รีโอเดจาเนโร สหพันธ์รัฐบราซิล

ครั้งที่ 16 : ปี ค.ศ.2021 : เมืองเจ้าภาพ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ภาพถ่ายเผยแพร่โดย Olympic Information Services (OIS) ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 การแข่งขันกรีฑาชาย 800 ม. T53 รอบชิงชนะเลิศ ที่สนามกีฬาโอลิมปิกระหว่างโตเกียว พาราลิมปิกเกมส์ 2020

ภาพถ่ายเผยแพร่โดย Olympic Information Services (OIS) ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 การแข่งขันกรีฑาชาย 800 ม. T53 รอบชิงชนะเลิศ ที่สนามกีฬาโอลิมปิกระหว่างโตเกียว พาราลิมปิกเกมส์ 2020

ภาพถ่ายเผยแพร่โดย Olympic Information Services (OIS) ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 การแข่งขันกรีฑาชาย 800 ม. T53 รอบชิงชนะเลิศ ที่สนามกีฬาโอลิมปิกระหว่างโตเกียว พาราลิมปิกเกมส์ 2020

หลากเรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ "พาราลิมปิกเกมส์"

  • กีฬา 2 ชนิด ในพาราลิมปิก คือ "บอคเซีย" และ "โกลบอล" ที่ไม่มีแข่งขันในโอลิมปิกเกมส์  
บอคเซีย ในการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ลอนดอน 2012 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555

บอคเซีย ในการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ลอนดอน 2012 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555

บอคเซีย ในการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ลอนดอน 2012 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2555

  • กีฬาฟุตบอล ลูกบอลจะบรรจุกระดิ่งไว้เพื่อช่วยให้นักกีฬาตาบอดจับตำแหน่งลูกได้ และผู้ชมจะไม่ส่งเสียงจนกว่านักกีฬาจะทำคะแนนได้ นักกีฬาจะถูกปิดตาเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่ยุติธรรมและเท่าเทียมกัน 
  • กีฬาฟันดาบวีลแชร์ นักกีฬาจะใช้ร่างกายส่วนบนเท่านั้น และนั่งบนวีลแชร์ที่ติดกับพื้น ระหว่างการแข่งขันนักกีฬาต้องถืออาวุธฟันดาบไว้ในมือข้างหนึ่ง ขณะที่อีกมือหนึ่งต้องถือรถเข็นไว้
Li Hao จากจีน (ซ้าย) แข่งขันกับ Artem Manko จากยูเครน ในการแข่งขันฟันดาบวีลแชร์ประเภทดาบชายประเภท A ในการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ที่โตเกียว 2020 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2021

Li Hao จากจีน (ซ้าย) แข่งขันกับ Artem Manko จากยูเครน ในการแข่งขันฟันดาบวีลแชร์ประเภทดาบชายประเภท A ในการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ที่โตเกียว 2020 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2021

Li Hao จากจีน (ซ้าย) แข่งขันกับ Artem Manko จากยูเครน ในการแข่งขันฟันดาบวีลแชร์ประเภทดาบชายประเภท A ในการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ที่โตเกียว 2020 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2021

  • ความสูงของห่วงบาสเกตบอลในพาราลิมปิกจะมีความสูงเท่ากับสนามของโอลิมปิก มีเวลา รวมถึงจำนวนผู้เล่นเท่ากัน นั่งกีฬาจะต้องนั่งบนวีลแชร์ตลอดการแข่งขัน
  • ส่วนกีฬายิงธนู นักกีฬาที่ไม่สามารถใช้แขนได้ อนุญาตให้ใช้เท้ายิงได้ 
Matt Stutzman จากสหรัฐอเมริกา แข่งขันกันระหว่างการแข่งขันยิงธนูประเภทบุคคลชายแบบโอเพ่น 1/8 กับ Marcel Pavlik จากสโลวาเกีย ที่การแข่งขันพาราลิมปิกโตเกียว 2020 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2021

Matt Stutzman จากสหรัฐอเมริกา แข่งขันกันระหว่างการแข่งขันยิงธนูประเภทบุคคลชายแบบโอเพ่น 1/8 กับ Marcel Pavlik จากสโลวาเกีย ที่การแข่งขันพาราลิมปิกโตเกียว 2020 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2021

  • การแข่งขันกีฬาขี่ม้าในพาราลิมปิก จะเป็นการแสดงการบังคับม้า ไม่มีการแสดงกระโดด
  • วีลแชร์รักบี้ จะเล่นในร่มโดยใช้ลูกบอลกลม 
  • กรีฑาคนพิการนักกีฬาที่เข้าแข่งขันในประเภท T12 (ผู้พิการทางสายตา) สามารถเลือกวิ่งโดยมีหรือไม่มีผู้นำทางได้
ภาพเผยแพร่โดย Olympic Information Services (OIS) ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) และถ่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2021 การแข่งขันกรีฑา T11 100 ม. ชาย รอบชิงชนะเลิศในโอลิมปิกเกมส์โตเกียว 2020 ที่กรุงโตเกียว

ภาพเผยแพร่โดย Olympic Information Services (OIS) ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) และถ่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2021 การแข่งขันกรีฑา T11 100 ม. ชาย รอบชิงชนะเลิศในโอลิมปิกเกมส์โตเกียว 2020 ที่กรุงโตเกียว

ภาพเผยแพร่โดย Olympic Information Services (OIS) ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) และถ่ายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2021 การแข่งขันกรีฑา T11 100 ม. ชาย รอบชิงชนะเลิศในโอลิมปิกเกมส์โตเกียว 2020 ที่กรุงโตเกียว

  • จีนเป็นเจ้าเหรียญทองในพาราลิมปิกทุกสมัยนับตั้งแต่ เอเธนส์ 2004 (พ.ศ.2547) ที่คว้าได้ 63 เหรียญทอง ตามด้วยในปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง คว้าได้ 89 เหรียญทอง, 95 เหรียญทอง ใน ลอนดอน 2012 และ 107 เหรียญทองใน ริโอ เกมส์ ปี 2016

สุดท้าย ชวนคนไทยร่วมส่งใจเชียร์ ทัพนักกีฬาพาราลิมปิกทีมชาติไทย ที่เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ ให้สามารถคว้าเหรียญกลับมา นักกีฬาทุกคนก็คือ ความภาคภูมิใจของคนไทย ที่ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ ฝึกฝนอย่างหนัก และเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้ใครหลายคน รวมถึงผู้พิการคนอื่น ๆ ได้มีกำลังใจในการใช้ชีวิต

อ่านข่าว : "โอซีเอ" ถอนสิทธิ์ไทย จัดเอเชียนอินดอร์แอนด์มาร์เชียลอาร์ตเกมส์

ปิดฉากโอลิมปิกปารีส "ทอม ครูซ" ปักธงอเมริกา 2028

"สหรัฐอเมริกา" คว้าเหรียญโอลิมปิกปารีสเกมส์มากสุด 126 เหรียญ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง