ข่าวล่าสุดจากพรรคเพื่อไทย ระบุว่า โครงการดิจิทัลวอลเล็ต จะปรับไปสู่การจ่ายเงินสด ให้แก่กลุ่มเปราะบาง ก่อน โดยกลุ่มอื่นจะได้รับการพิจารณาในลำดับถัดไป แบบนี้ มันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่ได้ประกาศนโยบายรัฐบาลออกมาก็ยัง อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปได้ทุกขณะ แต่หากเป็นการจ่ายเงินสดจริง ๆ แก่กลุ่มเปราะบาง ก็ถือว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว เพราะเสียงคัดค้านจากนักเศรษฐศาสตร์ และฝ่ายค้าน จะลดลง ขณะที่เสียงชื่นชมจากฐานรากจะมากขึ้น
ชาวจังหวัดนราธิวาส
ชาวจังหวัดนราธิวาส ระบุ ว่า เงินสดจะทำให้เศรษฐกิจกระจายการจับจ่าย ไม่กระจุกแต่ผมคิดว่า เงินดิจิตอล ก็นายทุน เป็นเจ้าสัว ธุรกิจที่ใหญ่ๆ เพราะบางทีร้านเล็กโชว์ห่วยในหมู่บ้าน ไม่มีที่สแกน ไม่มีเทคโนโลยี ไม่ตอบโจทย์ชาวบ้านรากหญ้า
ชาวจังหวัดเชียงใหม่
ขณะที่ ชาวอำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า จำกัดให้ใช้แค่เฉพาะภายในอำเภอ แต่ว่าของที่มันจำเป็นต้องใช้ต้องกินต้องใช้บางอย่างอยู่นอกอำเภอ อย่างไปตลาดเมืองใหม่ ไม่สามารถไปซื้อได้ เพราะว่ามันจำกัดแค่ในอำเภอในตัวอำเภอก็มีไม่เท่าไหร่ มีแต่ว่ามีอย่างละเล็กละน้อยเลือกไม่ได้
หากฟังเสียงประชาชนหนีไม่พ้นคนส่วนใหญ่จะชอบเงินสดมากกว่า แบบนี้แล้วทำไมรัฐบาลไม่เลือกที่แจกเป็นเงินสดตั้งแต่แรกไปเสียเลย
แตาหากเปรียบเทียบมาตรการแจกเงินในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ และผลของเศรษฐกิจก็จะเห็นได้ว่าแต่ละมาตรการต่างมีผลดีผลเสียที่แตกต่างกันออกไป เข้าใจว่าแต่ละพรรคการเมืองก็จะมองเห็นต่างกัน
ย้อนกลับไปเมื่อครั้ง "วิกฤตต้มยำกุ้ง" เคยมีโครงการ "มิยาซาวาแพลน" วงเงิน 53,000 ล้านบาท โดยทำให้เกิดการจ้างงานประชาชนในท้องถิ่น เช่น ขุดลอกคูคลอง ดายหญ้า ผลที่ได้ คือ ประชาชนชนำเงินไปใช้ได้ไม่มีเงื่อนไข เม็ดเงินลงสู่เศรษฐกิจฐานราก เกิดประโยชน์ต่อชุมชน แต่ผลเสีย คือ การได้เงินสดใช้จ่ายหมดไปรวดเร็ว โดยไม่ได้เกิดการพัฒนาต่อยอด ใด ๆ
ต่อมาเมื่อเกิด "วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์" รัฐบาลเคยใช้โครงการ "เช็คช่วยชาติ" วงเงิน 20,000 ลบ. แจกเช็คผู้มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท จำนวน 2,000 บาท/คน จำนวน 9.7 ล้านคน นำไปใช้อะไรก็ได้ ผลที่ได้คือ บรรเทาภาระค่าใช้จ่าย แต่ผลเสียการใช้จ่ายหมดไปรวดเร็ว ไม่ก่อให้เกิดกิจกรรมเศรษฐกิจต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การจ่ายเงินสดในแบบเดิม มีข้อเสียตรงที่ในภาวะหนี้ครัวเรือนสูงคนก็อาจจะเอาไปใช้หนี้หมด หรือ เงินไหลออกไปจากระบบไปสู่เศรษฐกิจนอกระบบ เป็นต้น
จนเข้าสู่ยุค "วิกฤตโควิด-19" รัฐบาลมีโครงการ คนละครึ่ง 192,500 ล้านบาท ภาครัฐร่วมจ่ายร้อยละ 50 ไม่เกิน 150 บาท/คน/วัน
ผลดีคือ บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายรายวัน เม็ดเงินกระจายสู่ร้านค้ารายย่อย เกิดกิจกรรมเศรษฐกิจต่อเนื่อง วิธีนี้มีงานวิจัยบอกว่า สร้างตัวทวีคูณในระบบเศรษฐกิจที่สูงกว่าโครงการอื่น ๆ
ต่อมาถึงยุค รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน ได้เคาะหลักการดิจิทัลวอลเล็ต วงเงิน 450,000 ล้านบาท รัฐเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เพื่อใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคตามเงื่อนไข แม้เงินกระจายสู่ร้านค้าแต่มีเงื่อนไขค่อนข้างมากทั้งจำกัดพื้นที่ และจ่ายเงินร้านค้าตามวงรอบ
ข้อดี คือ เกิดกิจกรรมหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ประชาชนมีโอกาสเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและทักษะด้านดิจิทัล แต่ก็สร้างยุ่งยากให้ผู้ที่ไม่สะดวกพอสมควร
หากมาถึงจุดเปลี่ยน "รัฐบาลแพทองธาร" รัฐบาลเติมเงินสด 10,000 บาทผ่านบัตรสวัสดิการรัฐ 14 ล้านคน เพื่อใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคตามเงื่อนไข ข้อดีเงินกระจายสู่เศรษฐกิจฐานราก ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางตรงจุด และไม่สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย
แต่ผลในแง่ของพายุหมุนเศรษฐกิจก็อาจจไม่ได้เป็นดั่งที่หวังไว้ในยามแรก ที่สำคัญอาจจะต้องตอบคำถามกับฐานเสียง ที่เลือกมาในคราวแรกว่าที่เคยสัญญาไว้จะลดสเกลลงเรื่อย ๆ แบบนี้
ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ฝ่ายค้าน ที่เคยออกมาแสดงความเป็นห่วงโครงการนี้ เขามีสุ่มเสี่ยงต่างออกไปอย่างไรบ้าง
อ่านข่าว : "ภูมิธรรม"ยันแจกต่อ "ดิจิทัลวอลเล็ต" เล็งปรับแผนจ่ายเงินหมื่น
พายุหมุนเศรษฐกิจ ? เกมชิงส่วนแบ่งเม็ดเงิน "ดิจิทัลวอลเล็ต"
"เพื่อไทย" มั่นใจเงินดิจิทัล 1 หมื่นช่วย ปชช.-ฟื้นเศรษฐกิจ