ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รอน้ำเหนือ เตรียมผันน้ำเข้าทุ่งเจ้าพระยา 4 แสนไร่หลัง 15 ก.ย.

ภัยพิบัติ
29 ส.ค. 67
18:22
1,114
Logo Thai PBS
รอน้ำเหนือ เตรียมผันน้ำเข้าทุ่งเจ้าพระยา 4 แสนไร่หลัง 15 ก.ย.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชลประทานพระนครศรีอยุธยา คาดมวลเหนือจะไหลเข้าเติมเขื่อนเจ้าพระยาหลัง 2 ก.ย.นี้ คาดระบายน้ำไม่เกิน 1,500 ลบม.ต่อวินาที เตรียมทุ่งเจ้าพระยา 400,000 ไร่รองรับน้ำหลัง 15 ก.ย.นี้รอชาวบ้านเกี่ยวข้าว

วันนี้ (29 ส.ค.2567) นายวันชัย ปังพูนทรัพย์ ผอ.โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา ระบุว่า สถานการณ์น้ำใน จ.พระนครศรีอยุธยา ยังไม่น่ากังวลมากนัก เนื่องจากน้ำที่ถูกปล่อยออกมา เป็นน้ำเก่า หรือการพร่องน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา ยังไม่ใช่น้ำเหนือ

โดยน้ำเหนือคาดว่าจะไหลเข้ามาในพื้นที่วันที่ 2 ก.ย.นี้ โดยการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา คาดว่าระบายน้ำ ไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยมวลน้ำจะถูกระบายไปยังคลองอื่นๆ ประมาณ 200-300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ในพื้นที่พระนครศรีอยุธยา ไม่ได้รับมวลน้ำทั้งหมดที่ระบายออกมา และมั่นใจว่ายังรับมือได้

อ่านข่าว ทางเดินริมเขื่อนหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติ ทรุดตัว-หวั่นอันตราย

แต่จะมีบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำน้อยได้รับผลกระทบคือ อ.เสนา ผักไห่ และบางบาล ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น 50 เซนติเมตร

นายวันชัย ปังพูนทรัพย์ ผอ.โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา

นายวันชัย ปังพูนทรัพย์ ผอ.โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา

นายวันชัย ปังพูนทรัพย์ ผอ.โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา

เตรียมทุ่งรับน้ำ 4 แสนไร่หลัง 15 ก.ย.นี้ 

ผอ.โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ส่วนทุ่งรับน้ำ 400,000 ไร่ ในพื้นที่ยังไม่ผันน้ำเข้าทุ่งรับน้ำ หรือทุ่งนาของชาวบ้านในขณะนี้ เนื่องจากได้ตกลงกับเกษตรกรว่าจะเริ่มมีการผันน้ำเข้าทุ่ง หลังวันที่ 15 ก.ย.นี้เป็นต้นไป จึงยังมีเวลาให้ชาวนาได้เก็บเกี่ยวข้าวที่ปลูกไว้ เบื้องต้นพบว่าได้เก็บเกี่ยวไปแล้ว ร้อยละ 50 หรือประมาณ 200,000 ไร่

อ่านข่าว "แม่น้ำยม" จ.สุโขทัย ลดระดับ แต่ยังต้องเฝ้าระวัง

ส่วนสถานการณ์น้ำที่ จ.สุโขทัย รวมไปถึงตัวเมืองสุโขทัย ปริมาณน้ำในแม่น้ำยม เริ่มลดระดับลงบ้างแล้ว แต่คนในพื้นที่ที่อยู่ท้ายน้ำ ซึ่งรับน้ำต่อจากพื้นที่อ.เมืองสุโขทัย อย่างชาวบ้านในต.ยางซ้าย ยังต้องเผชิญกับมวลน้ำที่ไหลทะลักจากแม่น้ำยม มาแล้วกว่า 4 วัน

บ้านเรือนของชาวบ้าน ยังเต็มไปด้วยน้ำที่ไหลทะลักมาจากแม่น้ำยม ก่อนจะไหลผ่านลงพื้นที่ทุ่ง ชาวบ้านบอกว่าต้องเผชิญกับมวลน้ำแบบนี้มาตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา หลังคันดินของแม่น้ำยม แตกและน้ำทะลักเข้าพื้นที่ชุมชน

แม้ก่อนหน้านี้พวกเขาจะเตรียมรับมือ กับสถานการณ์หลังทราบข่าวเรื่องน้ำจากพื้นที่ภาคเหนือ จะไหลลงสู่แม่น้ำยม แต่ก็ไม่สามารถป้องกันได้เพราะมวลน้ำไหลมาปริมาณมาก

เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำ 1,300 ลบ.ม.ต่อวินาทีท้ายน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิม 75 ซม.

เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำ 1,300 ลบ.ม.ต่อวินาทีท้ายน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิม 75 ซม.

เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำ 1,300 ลบ.ม.ต่อวินาทีท้ายน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิม 75 ซม.

เขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำ 1,300 ลบ.ม.ต่อวินาที

ทั้งนี้กรมชลประทาน รายงานสถานการ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ทยอยปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดอยู่ในอัตรา 900-1,400 ลบ.ม.ต่อวินาที สอดคล้องกับปริมาณน้ำทางตอนบนและฝนที่ตกในระยะนี้

สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,273 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 4.85 เมตร ส่วนสถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,300 ลบ.ม.วินาที ระดับน้ำท้ายเขื่อน เพิ่มขึ้นจากเดิม 75 ซม.ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 4.24 เมตร

ส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย)

เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 50 ซม.ถึง 1.50 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด หากระดับน้ำทางตอนบนเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น กรมชลประทานจะแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ

ชาวบ้านเสนาโอดน้ำท่วมก่อน แต่แห้งช้า

นานบุญสม อายุ 72 ปี ชาวบ้านหมู่ 9 ต.กระทุ่ม อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมภรรยากำลังช่วยกันขนของหนีน้ำ หลังจากเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ระดับน้ำท่วมขึ้นสูงกว่า 70-80 เซนติเมตร เนื่องจากเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำเพิ่มขึ้น

แม้ตัวบ้าน เสาจะยกสูง 3-4 เมตร แต่เนื่องจากพื้นเป็นลักษณะที่ลุ่ม ริมแม่น้ำน้อย น้ำจึงท่วมทุกปี ปีละ 3-4 เดือน แต่นายบุญสม ระบุว่า ไม่เคยชินกับน้ำท่วม เพราะน้ำท่วมแต่ละครั้ง สร้างความเสียหาย และต้องใช้เวลาในการขนของหนีน้ำ ทำความสะอาด โดยเฉพาะบ้านของตัวเองที่อาศัยอยู่กับภรรยา ซึ่งอายุ 72 ปี เท่ากัน จะทำอะไรก็ลำบาก เพราะแก่แล้ว

นายบุญสม เล่าว่า ปีก่อนน้ำท่วมหนัก ภรรยาป่วยกลางดึก ต้องพายเรือฝ่ากระแสน้ำไปโรงพยาบาล ปีนี้หากน้ำท่วมอีก อยากให้หน่วยงานภาครัฐคอยมาตรวจตรา ดูแลประชาชน หากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่อยากให้มองว่าตรงนี้เป็นพื้นที่รับน้ำ เพราะไม่มีใครอยากอยู่กับน้ำท่วม จังหวัดอื่นน้ำท่วมไม่กี่วันก็คลี่คลาย แต่ที่นี่ท่วมครั้งละหลายเดือน

น.ส.ฐณิชชา สุริวงษ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 บ้านกระทุ่ม ระบุว่า อยากให้กรมชลประทาน ชี้แจงการระบายน้ำให้ประชาชนเข้าใจ ถึงแนวทางการบริหารน้ำ เพื่อให้ชาวบ้านเตรียมตัวรับมือ เพราะน้ำได้เข้าท่วมพื้นที่ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

พร้อมตั้งคำถามกับกรมชลประทานว่า แม้พื้นที่จะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ติดแม่น้ำน้อย แต่น้ำไม่ควรท่วมนาน 3-4 เดือน เพราะชาวบ้านจะได้รับผลกระทบ ทั้งการเดินทาง และอาชีพ รวมถึงน้ำประปา น้ำดื่มน้ำกิน หากน้ำท่วมนาน ชาวบ้านต้องไปหาซื้อน้ำจากพื้นที่อื่นมาใช้ดื่มกิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง