ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"น้ำท่วม" เศรษฐกิจเสียหาย 4 หมื่นล้าน กระทบพื้นที่เกษตร 9 ล้านไร่

เศรษฐกิจ
13 ก.ย. 67
17:01
2,203
Logo Thai PBS
"น้ำท่วม" เศรษฐกิจเสียหาย 4 หมื่นล้าน กระทบพื้นที่เกษตร 9 ล้านไร่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศูนย์วิจัยกรุงศรี ชี้ น้ำท่วม 67 พื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 8.6 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหายรวม 4.65 หมื่นล้านบาท มั่นใจไม่รุนแรงเท่าปี54 เหตุปริมาณฝนน้อย-พื้นที่รับน้ำมาก รัฐ-เอกชนเตรียมพร้อมรับมือ

วันนี้ (13 ก.ย.2567) น.ส.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (จำกัด) มหาชน กล่าวว่า ความเสี่ยงน้ำท่วมในปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้น แต่คาดว่าจะไม่รุนแรงเท่าปี 2554 เนื่องจากในปี 2567 มีปริมาณน้ำฝนที่น้อยกว่า มีพื้นที่รองรับน้ำมากกว่า รวมถึงความพร้อมด้านการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐและการเตรียมความพร้อมของภาคเอกชนที่พัฒนาขึ้น

นางสาวพิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (จำกัด) มหาชน

นางสาวพิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (จำกัด) มหาชน

นางสาวพิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (จำกัด) มหาชน

ศูนย์วิจัยกรุงศรีฯ วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ดัชนีสมุทรศาสตร์ ทั้งดัชนี ONI ที่บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ภาวะลานีญาอย่างรวดเร็วหลังจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงต้นปี และดัชนี PDO และ IOD ที่แสดงแนวโน้มพายุในภูมิภาคที่มีผลอย่างมากต่อปริมาณฝนในไทย

ตลอดจนอิทธิพลจากพายุประจำปี ทั้งพายุที่จะเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรงและเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านแต่ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อประเทศไทย ทำให้คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ปริมาณฝนในไทยจะมีแนวโน้มสูงกว่าค่าเฉลี่ยราว 15-16 %

และคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่ภาวะลานีญาอย่างเต็มตัวในเดือน ต.ค. ทำให้ในเดือนก.ย.-ต.ค.เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงอุทกภัยในทุกภูมิภาค พื้นที่เสี่ยงสูงได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของภาคใต้

โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างซึ่งเป็นทางน้ำผ่าน และภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำและเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ตลอดจนทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็น ครัวเรือน โรงงาน เครื่องจักร สินค้าเกษตร ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคได้

ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีฯ ได้จำลองสถานการณ์ไว้ 3 กรณี คือ กรณีดีที่สุด พื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย 6.2 ล้านไร  มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย  2,200 ล้านบาท ผลผลิตทางเกษตรเสียหาย 31,200 ล้านบาท  มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ 33,400 ล้านบาท หรือประมาณ 0.19 % ของ GDP

กรณีความเสียหายระดับกลาง คาดว่าจะมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 8.6 ล้านไร่  มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 3,100 ล้านบาท ผลผลิตทางเกษตรเสียหาย 43,400 ล้านบาท มูลค่าความเสียหายรวม 46,600 ล้านบาท หรือประมาณ 0.27 % ของ GDP

และกรณีที่เสียหายมากที่สุด พื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย 11 ล้านไร มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 4,000 ล้านบาท ผลผลิตทางเกษตเสียหาย 55,500 ล้านบาท มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ 59,500 ล้านบาท หรือประมาณ 0.34 % ของGDP  

อย่างไรก็ตาม ความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐที่ดีขึ้น และการพัฒนาระบบป้องกันของภาคเอกชนโดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรม จะช่วยลดทอนผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2554

อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงเดือนก.ย.-ต.ค.ที่มีความเสี่ยงสูงสุด เนื่องจากยังมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อีกหลายประการ โดยเฉพาะจำนวนพายุที่เคลื่อนที่เข้าสู่ไทยที่จะส่งผลต่อปริมาณฝนและพื้นที่ที่เกิดฝนตกหนัก อันเนื่องมาจากภาวะโลกรวนในปัจจุบันที่ทำให้สภาพอากาศรุนแรงสุดขั้วเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้น

อ่านข่าว:

น้ำท่วม 5 แยกพ่อขุนฯ เชียงรายเริ่มลด ปชช.สำรวจความเสียหาย

ทล.แจ้ง จ.เชียงราย การจราจรผ่านไม่ได้ 10 แห่ง

"แพทองธาร" จ่อของบกลางเยียวยาน้ำท่วมเชียงราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง