ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

น้ำท่วม "แม่สาย" ภัยพิบัติไร้พรมแดน

ภัยพิบัติ
13 ก.ย. 67
19:31
1,020
Logo Thai PBS
น้ำท่วม "แม่สาย" ภัยพิบัติไร้พรมแดน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปัญหาน้ำท่วมภาคเหนือตอนบน มีต้นทางจากพายุ และปริมาณฝนที่มากกว่าปกติ แต่ถ้ามองลึกลงไปในต้นตอของปัญหา จะมีเรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติข้ามพรมแดน การไม่มีข้อมูลปริมาณฝนจากฝั่งเมียนมา เป็นอีกสาเหตุทำให้ไทยขาดข้อมูล เพื่อนำมาแจ้งเตือน ชาวแม่สาย

แม่น้ำโขงลุ่มน้ำสำคัญของโลก ไหลข้ามพรมแดน 6 ประเทศ มีการแบ่งปันข้อมูลแจ้งเตือนภัยพิบัติร่วมกัน ต่างจากน้ำท่วมที่แม่สาย ที่ไม่มีข้อมูลน้ำร่วมกันกับเมียนมา ทำให้กลายเป็นพิบัติภัยไร้พรมแดน

การจัดการน้ำข้ามพรมแดน ไม่ใช่เรื่องง่ายในการจัดการ แต่ก็ต้องพยามทำต่อไป เพราะ 80 % ของน้ำหลากเข้าท่วม อ.แม่สาย มาจากต้นน้ำฝั่งเมียนมา

จากภาพแบบจำลองน้ำท่วมปี 2564 อ.แม่สาย ถูกน้ำหลากเข้าท่วมแทบทุกปี โดยเฉพาะตลาดสายลมจอย ทั้งที่ปกติน้ำจะไหลข้ามไม่เกินสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่ 1แต่ปีนี้หลากข้ามสะพานเข้าท่วมชุมชน

ไทยพีบีเอสได้พูดคุย นายธนพล พิมานหัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำจากสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม ทำวิจัย “การบริหารน้ำข้ามแดน” ร่วมมือกับ สทนช. มหาวิทยาลัยหิดล และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ระบุว่า ชาวอำเภอแม่สายเรียกร้องให้เมียนมา ติดตั้งสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำฝน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นกลไกระหว่างประเทศจึงสำคัญ หากการแบ่งปันข้อมูลเกิดขึ้นจริง จะช่วยทำให้การเตือนภัยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

นายธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำจากสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม

นายธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำจากสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม

นายธนพล พิมาน หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำจากสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอกโฮล์ม

ไม่ต่างจากชาว ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แม่น้ำสาละวินเอ่อล้น เข้าท่วมบ้านเรือนรุนแรงในรอบ 60 ปี ปัญหามาจากปริมาณน้ำที่ไหล มาจากฝั่งเมียนมาโดยที่ชาวบ้านไม่รู้ล่วงหน้า หากหน่วยงานภาครัฐระหว่าง 2 ฝั่ง มีการประสานความร่วมมือเรื่องข้อมูลชาวบ้านเชื่อว่า จะนำไปสู่การแจ้งเตือน ลดระดับความเสียหายลงได้

ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แม่น้ำสาละวิน เอ่อล้น เข้าท่วมบ้านเรือนรุนแรงในรอบ 60 ปี

ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แม่น้ำสาละวิน เอ่อล้น เข้าท่วมบ้านเรือนรุนแรงในรอบ 60 ปี

ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แม่น้ำสาละวิน เอ่อล้น เข้าท่วมบ้านเรือนรุนแรงในรอบ 60 ปี

ปัญหาน้ำข้ามพรมแดนเมียนมา-ไทย เกิดขึ้นทุกปี รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ระบุว่า เคยแจ้งเตือน กอ.รมน.ภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.นี้ ต้องเฝ้าระวังฝนภาคเหนือเป็นพิเศษ ไทยพยายามเข้าช่วยเหลือแต่ทำไม่ได้ เพราะเป็นพื้นที่การสู้รบและเพิ่งประสานเมียนมาติดตั้งโทรมาตรระดับน้ำ วันที่ 28 ต.ค.นี้ แต่ก็ไม่ทันกับสถานการณ์

รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.)

รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.)

รอยบุญ รัศมีเทศ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.)

คำถามใหญ่เวลานี้ ด่านต่อไปที่จะต้องถูกน้ำท่วม คือ ภาคอีสานฝั่งริมแม่น้ำโขงจะเจอปัญหาการจัดการน้ำข้ามพรมแดนซ้ำรอยหรือไม่ ? เพราะมีถึง 5 ประเทศ ดูแลร่วมกันมีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) แบ่งปันข้อมูลระหว่างประเทศ เพื่อนำมาแจ้งเตือนภัย แต่ก็ไม่ได้หมายว่าไม่มีปัญหา เพราะบนแม่น้ำโขงตอนบน ในจีนมีเขื่อนขนาดใหญ่มากถึง 12 แห่ง

นอกจากนี้ยังมีเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งที่สร้างเสร็จแล้ว กำลังสร้าง หรือกำลังจะสร้างบนแม่น้ำโขงมากถึง 209 แห่ง จีน 49 แห่ง ลาว 93 แห่ง เมียนมา 1 แห่ง ไทย 12 แห่ง กัมพูชา 6 แห่ง และเวียดนาม 48 แห่ง

แม้จะมีประกาศแจ้งเตือน แต่การเตรียมพร้อมไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีเขื่อนจำนวนมาก แต่การทำข้อตกลงเข้าถึงข้อมูลระหว่างประเทศได้ ทำให้รัฐเข้าถึงข้อมูลนำมาแปรผล วิเคราะห์การไหลของน้ำ เช่นเดียวกับการแจ้งเตือนภัยจังหวัดริมโขงภาคอีสาน

สิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มแย่ลงหมด อีกพรมแดนต้องข้ามให้ได้ในการจัดการภัยพิบัติ คือ เอาสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้งในการแก้ปัญหา และพรมแดนสุดท้ายที่ต้องข้ามให้ได้ คือการบูรณาการทำงานข้ามพรมแดนให้เกิดขึ้นจริง

 อ่านข่าว : ทวงถาม! ระบบเตือนภัยช่วยพ้นน้ำท่วม เจ้าภาพมากแต่ไร้เอกภาพ 

"น้ำท่วม" เศรษฐกิจเสียหาย 4 หมื่นล้าน กระทบพื้นที่เกษตร 9 ล้านไร่ 

ด่วน! เตือน 35 อำเภอ 16 จว.เสี่ยงดินถล่ม-น้ำป่าหลาก  

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง