ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“พาณิชย์” จี้แบงก์ชาติแก้ปัญหาบาทแข็ง เร่งลดดอกเบี้ยช่วย SMEs

เศรษฐกิจ
16 ก.ย. 67
15:41
964
Logo Thai PBS
“พาณิชย์” จี้แบงก์ชาติแก้ปัญหาบาทแข็ง เร่งลดดอกเบี้ยช่วย SMEs
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“พิชัย”จี้แบงก์ชาติ ลดดอกเบี้ย ชี้อย่าแค่กำกับนโยบายการเงิน ต้องหนุนเศรษฐกิจให้โต ด้านศูนย์วิจัยกรุงศรี เผยค่าเงินบาทแข็งค่าในรอบ 19 เดือน แนวโน้มเคลื่อนไหวกรอบ 33.00-33.70 บาท

วันนี้ ( 16 ก.ย.2567) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการแก้ปัญหาค่าเงินบาทที่แข็งค่าในขณะนี้ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ ต้องเร่งแก้ปัญหา เพราะหากบาทยังคงแข็งค่าจะทำให้การส่งออกของไทยมีปัญหา ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบ ซึ่งในขณะที่ค่าเงินของประเทศเพื่อนบ้านกลับอ่อนค่าลงแต่ของไทยกับแข็งค่าขึ้น ซึ่งไม่ถูกต้อง

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ผมไม่ได้เป็นคู่แค้นกับแบงก์ชาติ แต่ที่ผ่านมาค่าเงินประเทศคู่แข่งอ่อนแต่ของไทยไม่อ่อน ผมว่ามันไม่ถูกต้อง ผมยังงงว่าผู้ว่าแบงก์ชาติออกมาพูดในเชิงว่าประเทศไทยไม่ต้องไปมุ่งเน้นจีดีพีมาก ผมไม่รู้ท่านเรียนจบจากที่ไหนมา เพราะเป็นความคิดที่ผิด

นายพิชัย กล่าวอีกว่า จีดีพี คือ รายได้ของประเทศหากไม่มีรายได้จะเอาเงินที่ไหนมากระจายให้ประชาชน ผู้ว่าแบงก์ชาติพูดเหมือนคนไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร มันเป็นวิธีคิดที่ผิดปกติ จะทำนโยบายแค่ให้คนมีความสุขมันไม่ได้ เพราะถ้าคน ไม่มีเงิน ไม่มีรายได้เพิ่มคนจะมีความสุขได้อย่างไรยิ่งมีภาระหนี้เยอะยิ่งต้องแก้ปัญหาหนี้

รมว. พาณิชย์ กล่าวว่า มีข้อเสนอที่แบงก์ชาติต้องไปดำเนิน คือ ควรลดดอกเบี้ยลง เพราะเงินเฟ้อสหรัฐ ค่อนข้างอ่อนตัวลงมา และการที่ค่าบาทแข็ง 33.32 บาท/ดอลลาร์ เพียงเดือนเดียว แข็งค่าขึ้นมา5-6 % ผู้ส่งออกเองไม่สามารถทำการค้าได้ ผมเคยทำธุรกิจมาก่อนรู้ดีว่าหากค่าเงินแข็งค่าการค้าขายจะทำได้ยากและการซื้อขายล่วงหน้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตรยิ่งทำได้ยากอาจเกิดการขาดทุนได้ ซึ่งต้องฝากไปถึงแบงก์ชาติว่าต้องเร่งแก้ไข รวมไปกถึงการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถแข่งขันได้

แบงก์ชาติ ควรพิจารณาตัวเอง ด้วยว่าไม่ใช่มีหน้าที่กำกับดูแลการเงินเพียงอย่างเดียว เพราะนโยบายการเงินสำคัญกว่านโยบายการคลังด้วยซ้ำ แต่ต้องมีหน้าที่สนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้ดีด้วยซึ่งในต่างประเทศทำหน้าที่สนับสนุนด้วย แบงก์ชาติต้องไปคิดโปรแกรมออกมาให้ให้ได้ว่าจะทำอย่างไร ไม่ควรกับกับดูแลนโยบายการเงินเพียงอย่างเดียว โดยหลังจากกลับจากอังกฤษ มีแผนจะนัดหารือกับแบงก์เร็วๆนี้

ขณะที่ ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประเมินเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.70 บาท/ดอลลาร์ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 33.32 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในช่วง 33.25-33.97 บาท/ดอลลาร์

โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง หรือ 19 เดือน ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยนแต่แข็งค่าเล็กน้อยเทียบกับยูโรในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเงินเยนได้แรงหนุนหลังกรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ)กล่าวว่า ต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นสู่ระดับ 1% เป็นอย่างน้อยในอนาคตแต่เสริมว่าการปรับดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงสู่ระดับ 3.5% ตามคาด ซึ่งประธานอีซีบีแสดงท่าทีระมัดระวังในการปรับลดดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมรอบถัดไป โดยระบุว่าอีซีบีจะให้ข้อมูลเศรษฐกิจกำหนดการดำเนินนโยบาย ทางด้านข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯออกมาไร้ทิศทางแต่ในภาพรวมบ่งชี้ถึงแนวโน้มใหญ่ที่ภาวะเงินเฟ้อลดความร้อนแรงลง

ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งน้อยที่สุดในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่ดัชนี CPI พื้นฐานเพิ่มขึ้น 3.2% ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อหุ้นและพันธบัตรไทยสุทธิ 9,474 ล้านบาท และ 3,692 ล้านบาท ตามลำดับ

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ กรุงศรี ให้ความเห็นถึงสถานการณ์ตลาดในสัปดาห์นี้ว่า เหตุการณ์สำคัญของตลาดการเงินโลกอยู่ที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ซึ่งคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 25 ของประมาณการดอกเบี้ย (dot plot)จากระดับสูงสุดในรอบ 23 ปีที่ 5.25-5.50%

อย่างไรก็ตาม กรุงศรีคาดว่ากรณีเฟดลด 25 ของประมาณการดอกเบี้ย (dot plot) ในรอบนี้ ค่าเงินดอลลาร์อาจฟื้นตัวเพียงชั่วคราว โดยตลาดจะมองไปถึงโอกาสที่เฟดต้องลดดอกเบี้ยในขนาดที่มากขึ้นในระยะข้างหน้าหากภาคแรงงานบ่งชี้การชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ นักลงทุนจะติดตามข้อมูลยอดค้าปลีกเดือนส.ค.ของสหรัฐฯ ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)และบีโอเจซึ่งคาดว่าจะคงนโยบายในสัปดาห์นี้

สำหรับประเด็นในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นว่าเงินบาทผันผวนสูงจากปัจจัยภายนอก โดยทางการจะดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้กระทบต่อภาคธุรกิจ

อ่านข่าว:

อึ้ง! คนไทยมีหนี้ท่วมครัวเรือนละ 6 แสนบาท "บัตรเครดิต"สูงสุด

“คลัง” เลื่อนแจ้งรับสิทธิ์ แจกเงิน “10,000 บาท”

ลดต้นทุน! พีระพันธุ์เล็งยกเลิกราคาน้ำมันไทยอิงตลาดสิงคโปร์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง