ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ลมหนาวมาแล้ว! อากาศแปรปรวนทุกภาค 29 ก.ย.-3 ต.ค.นี้

ภัยพิบัติ
29 ก.ย. 67
07:38
2,220
Logo Thai PBS
ลมหนาวมาแล้ว! อากาศแปรปรวนทุกภาค 29 ก.ย.-3 ต.ค.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 3 ลมหนาวมาแล้ว เจอร่องมรสุมส่งผลทุกภาคทั่วไทยมีอากาศแปรปรวน รวมทั้งกทม.-ปริมณฑลช่วง 29 ก.ย.-3 ต.ค.นี้ ส่งผลฝนตกหนัก ลมแรง จากนั้นอีสานอุณหภูมิจะลดลง 1–3 องศาฯ จับตาพายุโซนร้อน “กระท้อน” เสี่ยงเป็นพายุไต้ฝุ่น

วันนี้ (29 ก.ย.2567) น.ส.กรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่องอากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนฉบับที่ 3 มีผลกระทบในช่วงวันที่ 29 ก.ย.-3 ต.ค.นี้ 

เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ประกอบกับร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีลักษณะอากาศแปรปรวนเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฝนตกหนักบางแห่งและมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกทม.และปริมณฑล และภาคตะวันออก

หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1–3 องศาเซล เซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วยจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

น้ำท่วมในพื้นที่จ.พิษณุโลก

น้ำท่วมในพื้นที่จ.พิษณุโลก

น้ำท่วมในพื้นที่จ.พิษณุโลก

29 ก.ย.2567

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร และนครพนมในวันที่ 30 ก.ย.-1 ต.ค.นี้

ภาคเหนือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรีพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

2–3 ต.ค. 2567

ภาคเหนือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรีพระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร

อัปเดตพายุกระท้อน ตั้งชื่อโดยไทย เป็นพายุลูกที่ 18 (RSMC โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) ศูนย์กลางยังอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะลูซอล ฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นได้

อัปเดตพายุกระท้อน ตั้งชื่อโดยไทย เป็นพายุลูกที่ 18 (RSMC โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) ศูนย์กลางยังอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะลูซอล ฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นได้

อัปเดตพายุกระท้อน ตั้งชื่อโดยไทย เป็นพายุลูกที่ 18 (RSMC โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) ศูนย์กลางยังอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะลูซอล ฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นได้

จับตาพายุโซนร้อน “กระท้อน” เสี่ยงเป็นพายุไต้ฝุ่น

นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อน เมื่อเวลา 04.00 น.บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก มีพายุอยู่ 2 ลูกที่ 1พายุโซนร้อนกำลังแรง "กระท้อน” (KRATHON) หมายถึงชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง ตั้งชื่อโดยประเทศไทย เป็นพายุลูกที่ 18 (RSMC โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น) ศูนย์กลางยังอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นได้ เนื่องจากยังอยู่ในทะเลที่อุ่น แต่ทิศทางการเคลื่อนตัวจะไปทางเกาะไต้หวัน และโค้งกลับไปทางประเทศญี่ปุ่น

ส่วนพายุอีกลูกในมหาสมุทรแปซิฟิก (อยู่ห่างมาก)พายุโซนร้อน "เชบี (JEBI)"(พายุลูกที่ 17) ทิศทางการเคลื่อนตัวยังอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก พายุทั้ง 2 ลูก ไม่มีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยและไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด แต่ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปเกาะไต้หวัน ช่วงวันที่ 30 ก.ย. -2 ต.ค. 67 ตรวจสอบสภาพอากาศและวางแผนก่อนออกเดินทาง 

 #

ข่าวที่เกี่ยวข้อง