เร่งสร้างงาน สร้างรายได้ เสียงสะท้อนชาวเชียงราย

ภูมิภาค
29 ก.ย. 67
17:00
2
Logo Thai PBS
เร่งสร้างงาน สร้างรายได้ เสียงสะท้อนชาวเชียงราย
ใกล้ถึงเวลาเข้ามาทุกทีกับการเลือกตั้งนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)เชียงราย ที่ชุดบริหารชุดเก่าภายใต้การนำของนางอธิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายก อบจ.เชียงราย จะหมดวาระลงในช่วงปลายปี 2567 ที่จะถึงนี้

แน่นอนว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นถูกจับตามองจากหลายฝ่ายและพรรคการเมืองหรือผู้สนใจทางการเมืองหลากหลายสนใจที่จะเข้ามาชิงชัยในครั้งนี้ แม้จะเป็นการเลือกตั้งภายในจังหวัด แต่มีงบประมาณจำนวนมาก และมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการหลากหลาย ตั้งแต่ด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบลอจิสติกส์ ระบบชลประทาน รวมไปถึงการส่งเสริมด้านวัฒนธรรม สังคม ความเป็นอยู่ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ

หลายฝ่ายจึงความคาดหวังที่จะเห็นชุดบริหารใหม่มุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่ให้เจริญเติบโต ภายใต้ความสงบสุขของพื้นที่ และการอยู่ดีกินดีของสังคมชาวเชียงราย เนื่องจากเชียงรายมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม จารีตประเพณี อีกทั้งยังเป็นเมืองรองด้านการท่องเที่ยวและฮับของการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง เพราะด้วยมีอาณาเขตติดกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 2 ประเทศคือประเทศลาวและเมียนมา อีกทั้งยังมีเส้นทางแม่น้ำโขงที่สามารถโยงไปถึงเมืองเชียงรุ้งหรือสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน เมืองทางตอนใต้ของประเทศจีนได้อีกด้วย

นายภาคภูมิ พลพิสิษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่าที่ผ่านมา อบจ.เชียงราย ถือเป็นหน่วยงานมีส่วนช่วยสร้างความเจริญต่อการค้าและด้านเศรษฐกิจของ จ.เชียงราย ค่อนข้างมา โดยมีโครงการพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนในหลายด้าน แต่ด้วยบทบาทของอบจ. ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ มีระเบียบแบบแผนว่าสามารถพัฒนาสามารถได้แค่ไหนต่างจากภาคเอกชน ที่ผ่านมาแม้จะมีความร่วมมือกันแต่ก็เป็นแผนการพัฒนาและการส่งเสริมทั่วไปด้านการท่องเที่ยวและการค้าเท่านั้น

ภาคภูมิ พลพิสิษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย

ภาคภูมิ พลพิสิษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย

ภาคภูมิ พลพิสิษฐ์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย

นายภาคภูมิ กล่าวอีกว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะถึงนี้ทางภาคผู้ประกอบการและภาคธุรกิจ อยากได้ชุดบริหารที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านการค้าและด้านเศรษฐกิจเข้ามาบริหารโดยอยากให้มีโครงการส่งเสริมขีดความสามารถแก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีหรือผู้ประกอบการรายย่อยให้มากขึ้น เนื่องจากกลุ่มธุรกิจเหล่าถือเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น หากกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้มีความมั่นคงมีรายได้ก็จะทำใพื้นที่มีความเจริญไปด้วย รวมไปถึงการพัฒนาส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเพราะเป็นที่เกื้อหนุนกันมีผลต่อการลงทุนต่างๆในอนาคต

ทางภาคธุรกิจไม่มองว่ากลุ่มคนที่จะเข้ามาบริหารจะเป็นคนที่มาจากพรรคการเมือง หรือไม่มาจากพรรคการเมืองหรือไม่ จะมีเป็นคนรุ่นใหม่หรือคนสูงอายุที่มีประสบการณ์ หากมีนโยบายที่ชัดเจนและมีแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมทางผู้ประกอบการก็พร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือในการพัฒนาจังหวัดร่วมกัน

นายวิโรจน์ ชายา นายกสมาคมโรงแรมจังหวัดเชียงราย กล่าวยอมรับว่า ที่ผ่านมา อบจ.แม้จะเป็นหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่โดยตรง แต่ภาครัฐเป็นผู้นำ โครงการต่างๆ คิดจากภาครัฐเอง บางครั้งอาจไม่สอดคล้องกับพื้นที่ หรือมาจากต้องการของภาคประชาชนต่อการพัฒนาพื้นที่ ดังนั้นการเลือกตั้งครั้งหน้า ทางภาคธุรกิจท่องเที่ยวอยากเห็นกลุ่มคนที่จะเข้ามาพัฒนาท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนและเอกชนให้มากขึ้น และโครงการพัฒนาต่างๆอยากให้เป็นแนวคิดของภาคเอกชนโดยภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่ตรงเป้าและได้ประโยชน์ ประสิทธิภาพประสิทธิผลสูงสุด

นายกสมาคมโรงแรมจังหวัดเชียงราย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้อยากให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ให้มากยิ่งขึ้น แม้ปัจจุบันทาง อบจ.จะมีโครงการที่ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอยู่หลายด้านแต่เป็นกิจกรรมที่ยังไม่ค่อยมีผลต่อการท่องเที่ยวมากนัก สิ่งที่จะทำให้การท่องเที่ยวยั่งยืนคือไม่มีการนำเงินไปใช้จ่ายด้านนอกพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ควรมีโครงการที่ดึงเม็ดเงินจากนอกพื้นที่เข้าพื้นที่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

วิโรจน์ ชายา นายกสมาคมโรงแรมจังหวัดเชียงราย

วิโรจน์ ชายา นายกสมาคมโรงแรมจังหวัดเชียงราย

วิโรจน์ ชายา นายกสมาคมโรงแรมจังหวัดเชียงราย

ที่ผ่านมาส่วนงานท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็น อบจ.หรือเทศบาล ยังจัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นสกายวอล์ค หรือลานท่องเที่ยว ถนนคนเดินหรืออะไรเหล่า ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพียงระยะเวลาสั้น อยากให้มีการพัฒนาส่งเสริมให้ยั่งยืน จัดแผนและโครงการผลักดันเชียงรายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักเหมือนภูเก็ตหรือเชียงใหม่ ที่เป็นจุดหมายหลักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ไม่ไช่เป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับเชียงใหม่เท่านั้น ก็หวังว่าชุดบริหารใหม่จะเห็นความสำคัญในสิ่งเหล่านี้

ด้านนายวรวุฒิ คำขอด ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ฮัก ณ เชียงราย กล่าวว่าทางกลุ่มมีแบรนด์สินค้าที่สำคัญคือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสับปะรดภูแลและนางแล ซึ่งที่ผ่านมาก็มีความร่วมมือกับทาง อบจ.เชียงรายบ้าง แต่เป็นความร่วมือแบบภาพร่วมที่มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและสถานศึกษา มาส่งเสริมเรื่องการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ยังไม่มีโครงการที่เข้ามาส่งเสริมจากทาง อบจ.เชียงราย โดยตรง

นายวราวุฒิ กล่าวว่าการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ก็คาดหวังที่จะอยากได้ชุดบริหารชุดใหม่ให้กับสำคัญกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุกกลุ่มให้มากขึ้น เพราะถือเป็นธุรกิจฐานรากที่จะทำให้การพัฒนาอื่นๆดีขึ้นตามไปด้วย โดยอยากให้มีการส่งเสริมและพัฒนาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าจากผลผลิตสับปะรดนางแลหรือภูแล ให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือ GI (Geographical Indication) เช่นสับปะรดกวน เป็นต้น หากพูกถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็รู้ทันทีว่าเป็นสินค้าของชาวเชียงราย ที่ผ่านมายังไม่มีการส่งเสริมทำให้ทั้งกระบวนการผลิตหรือการแปรรูปจำหน่ายต่างคนต่างทำไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

นายวราวุฒิกล่าวด้วยว่ายังอยากให้มีการดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาด้านอื่นทั้งการส่งเสริมระบบการผลิต การแปรรูปสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น มีการจัดนักวิชาการมาให้ความรู้ แนะแนวทางการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาส่งเสริมแต่อยู่ภายใต้การเพาะปลูกแบบอินทรีย์เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อผู้บริโภค ไม่เพียงแค่การพัฒนาระบบโครงการหรือระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานเท่านั้น

ส่วนนายภาณุวัฒน์ โพธิวันดี นายกสโมสรนักศึกษาสำนักวิชานิติศาสตร์และสมาชิกในสโมสรนักศึกษาสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย กล่าวว่า ปกติการเลือกตั้งท้องถิ่น อาทิ การเลือกตั้ง อบต. เทศบาลและการเลือกตั้งอบจ. กลุ่มเยาวชนมักจะไม่ค่อยให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญมากนัก ส่วนมากจะให้ความสนใจในการเลือกตั้งระดับประเทศเช่นการเลือกตั้ง ส.ส.หรือสว.มากกว่า เพราะมีนโยบายที่เข้าถึงเยาวชน ทั้งที่องค์กรท้องถิ่นเหล่านี้ใกล้ชิดกับกลุ่มเยาวชนมากๆ คงอาจจะด้วยนโยบายการบริหารงานอาจไม่ค่อยเข้าถึงเยาวชนเท่าที่ควร โดยโครงการที่จัดทำส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถนนหนทางหรือการส่งเสริมอาชีพด้านต่างๆ และโครงการที่เกี่ยวข้องกับด้านการศึกษาหรือเกี่ยวกับเยาวชนยังมีน้อย

นายภาณุวัฒน์ กล่าวว่าการเลือกตั้ง อบจ.ที่จะมาถึงนี้ทางกลุ่มเยาวชนก็มีความคาดหวังว่าชุดบริหารที่จะเข้ามาให้ความสำคัญแก่เยาวชนและเด็กๆมากขึ้นที่กว่าอดีต โดยการบริหารงานท้องถิ่นปัจจุบันค่อนข้างกว้างขวางขึ้น ไม่เหมือนอดีต มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นดูแลและพัฒนาในหลากหลายมิติขึ้น หลายแห่งมีการจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นมาเอง มีโรงเรียนในสังกัดและมีกิจกรรมด้านการศึกษามากขึ้น

สิ่งที่กลุ่มเยาวชนต้องการคือส่งเสริมสวัสดิการและเพิ่มบริการสาธารณะ คุณภาพชีวิตตามที่รัฐต้องทำ เช่น การจัดหางานเมื่อเยาวชนเรียนจบหรือไม่มีการศึกษาเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในครอบครัว การทำให้เยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์สัญชาติไทย การเข้าถึง สร้างสิทธิเสรีภาพและการสนับสนุน LGBTQ+ เช่น การสนับสนุนตั้งองค์กรหรือแบ่งฝ่ายในการคุ้มครองสิทธิของเยาวชน การกระจายความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นLGBTQ+ และการจัดกิจกรรมที่เป็นการให้LGBTQ+ได้แสดงออกหรือประกวดความสามารถ อาจเป็นการจัดประกวดหรือคอนเสิร์ตเป็นต้น นายภาณุวัฒน์กล่าว

นายกสโมสรนักศึกษาสำนักวิชานิติศาสตร์และสมาชิกในสโมสรนักศึกษาสำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า นอกจากนี้ยังอยากให้มีการส่งเสริมด้านอนามัย เช่น การแจกถุงยาง และ ผ้าอนามัยให้แก่เยาวชน การให้ความเกี่ยวกับเพศแก่ชุมชน การบริการด้านสุขภาพเมื่อผู้เยาว์มีบุตรส่งเสริมด้านการศึกษาและสนับสนุนให้เข้าถึงการศึกษามากที่สุด เช่น การจัดตั้งหน่วยงานให้ความรู้หรือเป็นการไปสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานในชุมชนแก่ผู้เยาว์ที่ไม่ได้ศึกษา การสนับสนุนห้องสมุด การสนับสนุนด้านอิเล็กทรอนิกส์ การสนับสนุนอุปกรณ์ด้านการศึกษา ได้แก่ การแบ่งงบซื้อชุดนักเรียน การให้ทุนการศึกษา

แต่สิ่งที่เยาวชนอยากเห็นที่สุดคือการบริหารงานที่โปร่งใส เข้าถึงภาคประชาชนในระดับรากหญ้า การพัฒนาก็อยากให้มีการพัฒนาเต็มร้อย และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง เช่นการทำถนนก็ทำถนนให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนสามารถใช้สัญจรหรือขนส่งด้านต่างๆได้ และมีความคงทน มีการใช้งบแบบเต็ม ไม่ใช่ว่าได้งบมา 100 บาท ทำเพียง 40-50 บาท และทำเพื่อให้งบประมาณโดยไม่รู้ว่าสิ่งที่สร้างจะมีประโยชน์หรือไม่ และที่สำคัญหากเป็นไปได้ก็ไม่อยากให้ผู้บริหารท้องถิ่นที่อิงกับการเมืองระดับประเทศ ควรจะแยกออกจากกัน เพราะที่ผ่านมาเห็นหลายพื้นที่เป็นคนของนักการเมือง การบริหารก็ทำเพื่อสร้างฐานเสียงหรือสร้างคะแนนแก่การเลือกระดับสูง ไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์ของคนในท้องถิ่นเท่าที่ควรจะเป็น

ด้านนายพิพราว กาลทะทิด เกษตรกรชาว จ.เชียงราย กล่าวว่าชาวเชียงรายอาชีพหลักคือการทำเกษตรเสียเป็นส่วนใหญ่ แม้พื้นที่จะเป็นเมืองชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 2 ประเทศ คือลาวและเมียนมา แต่การค้าก็ยังเป็นผู้ประกอบการจากนอกพื้นที่ มีเพียงผู้ค้าท้องถิ่นไม่กี่ราย รายได้หลักของคนในพื้นที่จึงเป็นเรื่องของการทำนา ทำไร่และทำสวน เช่นมันสำปะหลัง ข้าวโพด และยางพาราเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับตนที่มีรายได้จากการทำนาปลูกข้าวเพื่อจำหน่าย

นายพิพราวกล่าวว่าการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะการเลือกตั้ง อบจ. ชาวบ้านจะให้ความสำคัญมาก และเลือกที่จะเข้าไปลงคะแนนเลือกตั้งกันแทบจะทุกคน เพราะเป็นสิ่งใกล้ตัว หากเลือกคนที่ดีก็จะได้มีการพัฒนาพื้นที่ให้พวกตนได้ประโยชน์ ที่ผ่านมาก็โครงการหลายอย่างที่ทาง อบจ.เข้ามาสนับสนุน ทั้งในด้านการส่งเสริมระบบน้ำเพื่อการเกษตร เช่นการสร้างฝายกักเก็บน้ำ การทำถนนเข้าพื้นที่การเกษตร

นายพิพราวกล่าวว่าอย่างไรก็ตามการดำเนินการก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่มากนัก อาจด้วยงบประมาณที่กัดหรือพื้นที่บริหารกว้าง ซึ่งก็อยากให้มีการส่งเสริมระบบการคมนาคมเพื่อขนส่งการเกษตรแบบครอบคลุม การส่งเสริมพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีกำลังการผลิตที่มากขึ้น ตลอดจนการส่งเสริมด้านการตลาดให้มีการจุดจำหน่ายที่เพียงและได้ราคาที่สอดคล้องกันต้นทุนการผลิต หากเป็นไปได้อยากให้มีการส่งเสริมด้านเครื่องจักรสำหรับการผลิตแก่เกษตรแต่ละหมู่บ้านให้ได้ใช้ นำระบบเทคโนโลยีใหม่มาช่วยเกษตรกร ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มพูนผลผลิต

สิ่งที่อยากให้ดำเนินการคือการป้องกันและแก้ไข ปัญหาภัยแล้งน้ำท่วม หลายพื้นที่ช่วงฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำและช่วงฤดูฝนน้ำก็ท่วม ซึ่งปีนี้ก็เป็นสิ่งสะท้อนเป็นอย่างดี เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เกือบทุกพื้นที่ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย โดยเฉพาะน้ำข้าวจมน้ำตายไปจำนวนหลายหมื่นไร่ บางคนแทบหมดตัวเพราะกู้ยืมเงินมาลงทุนขณะที่กำลังจะถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตกลับน้ำน้ำท่วมตายหมด อยากให้มีการจัดทำโครงการป้องกันตลิ่งในทุกสายแม่น้ำและทำเส้นทางป้องกันน้ำเข้าพื้นที่ทางการเกษตรหรือชุมชนเป็นต้น นายพิพราวกล่าว


นี่เป็นเพียงเสียงสะท้อนหนึ่งของชาวเชียงราย ที่ทางผู้ที่จะอาสาเข้ามาบริหาร อบจ.เชียงรายชุดใหม่ ควรพิจารณาเพื่อประกอบนโยบายการหาเสียงหรือวางแนวทางการ

รายงาน:ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง