ในเดือน ตุลาคม 2567 ท้องฟ้ายามค่ำคืนจะมีปรากฏการณ์ทาง "ดาราศาสตร์" ที่น่าสนใจเกิดขึ้นบ้าง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้อัปเดตไว้ ดังนี้
เริ่มต้นที่ ดาวหางจื่อจินซาน -แอตลัส หรือ C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เป็นต้นไป สำหรับดาวหาง C/2023 A3 ยังคงเหลือรอดออกมา หลังโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อ 28 ก.ย. และจะโคจรเข้าใกล้โลก 13 ต.ค.นี้ มาลุ้นกันว่าช่วงโคจรมาใกล้โลกจะมีความสว่างปรากฏจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือไม่
ดาวหางดังกล่าวค้นพบครั้งแรกช่วงต้นปี พ.ศ.2566 โดยนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวจื่อจินซาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และระบบเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS ประเทศแอฟริกาใต้
ภาพวันที่จะเห็น ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส ตั้งแต่เดือน ต.ค.นี้ จะโคจรใกล้โลก
อ่านข่าว : ดาวหาง "จื่อจินซาน-แอตลัส " ใกล้โลก
- 6 ตุลาคม 2567 : ดาวเคียงเดือน ดาวศุกร์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เวลา 18.17 น. จนถึงเวลาประมาณ 19.05 น.
- 14 ตุลาคม 2567 : ดาวเคียงเดือน ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 15 ต.ค.
- 17 ตุลาคม 2567 : ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก ที่สุดในรอบปี (Super Full Moon) ระยะห่างประมาณ 357,358 กิโลเมตร
- 23 ตุลาคม 2567 : ดาวเคียงเดือน ดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 23.30 น. จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 24 ต.ค.
- 25 ตุลาคม 2567 : ดาวเคียงเดือน กระจุกดาวรวงผึ้งเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 01.00 น. จนถึงรุ่งเช้า
อ่านข่าว : รถถูกขโมย "ประกัน" จ่ายหรือไม่ ? คำตอบที่เจ้าของต้องรู้
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสาร "ไฟไหม้รถบัส" เรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้บ้าง